น้ำคร่ำแตก

น้ำคร่ำแตก เป็นอย่างไร? แตกต่างกับกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือไม่

Alternative Textaccount_circle
event
น้ำคร่ำแตก
น้ำคร่ำแตก

เตรียมให้พร้อม! วิธีรับมือหากน้ำคร่ำแตก

สำหรับกรณที่น้ำคร่ำแตกในภาวะปกติ คือน้ำคร่ำแตก ในช่วงที่อายุครรภ์อยู่ในกำหนดคลอดแล้ว โดยปกติแล้วจะมีอาการเจ็บท้องคลอดนำมาก่อนถุงน้ำคร่ำถึงจะแตก นั่นหมายถึงภายใน 24 ชั่วโมง คุณแม่จะคลอดแล้ว ดังนั้นสิ่งที่ควรจะทำหลังน้ำคร่ำแตก (ทั้งแบบมีอาการปวดท้องคลอดก่อน และ แบบไม่มีอาการปวดท้องคลอดก่อน) มีดังนี้

  1. ตรวจดูให้แน่ใจว่าเป็นเพราะน้ำคร่ำแตก หรือ กลั้นปัสสะวะไม่อยู่ โดยใช้วิธีตรวจดังนี้
    • ปัสสาวะให้เรียบร้อย
    • ใช้ผ้าอนามัยหรือแผ่นอนามัยรองไว้
    • ตรวจดูน้ำที่อยู่บนผ้าหรือแผ่นอนามัยว่ามีกลิ่นหรือสีหรือไม่ น้ำคร่ำจะไม่มีทั้งกลิ่นและสี
    • หากยังไม่แน่ใจว่าเป็นน้ำคร่ำหรือปัสสาวะ ให้ลองขมิบช่องคลอดเพื่อกลั้นไม่ให้น้ำคร่ำไหล หากกลั้นได้นั่นคือปัสสาวะ แต่หากกลั้นไม่ได้นั่นคือน้ำคร่ำ
  2. ปกติแล้วน้ำคร่ำจะแตกก่อนคลอดจะมีมูกเลือดออกมาด้วย
  3. ในแม่ท้องบางคนอาจจะมีไข้ต่ำ ๆ หรือร่างกายจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย
  4. คอยตรวจการดิ้นของลูกในท้องว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่
  5. พยายามรักษาความสะอาดบริเวณช่องคลอด เพื่อเลี่ยงไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปได้
  6. รีบเก็บกระเป๋าแล้วไปหาคุณหมอเพื่อเตรียมคลอดได้เลยค่ะ

 

คลอดหลังน้ำคร่ำแตก
เตรียมให้พร้อม! วิธีรับมือหากน้ำคร่ำแตก

อาการน้ำคร่ำแตก (ในภาวะปกติ คือ น้ำคร่ำแตกในอายุครรภ์ที่เกิน 37 สัปดาห์แล้ว) อาจดูเหมือนจะน่ากลัว แต่นั่นหมายถึงลูกตัวน้อย ๆ ในท้อง พร้อมแล้วที่จะลืมตาดูโลก ดังนั้น คุณแม่ควรตั้งสติให้ดี จัดกระเป๋า หยิบของที่จำเป็นต้องใช้หลังคลอดให้ครบ ไม่จำเป็นต้องรีบขับรถเพื่อไปหาโรงพยาบาล ค่อย ๆ ขับ เพื่อรอเจอกับเรื่องที่น่ายินดีที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้าค่ะ

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจต่อได้ที่นี่

เตรียมตัวก่อนคลอด โค้งสุดท้ายก่อนลูกเกิดให้พร้อมแบบคุณแม่มือโปร !

วิธีเร่งคลอด มีกี่แบบ? จำเป็นหรือไม่ที่ต้องเร่ง

สาเหตุ คนท้องปวดก้นกบ พร้อมท่าบริหารสะโพกให้แข็งแรง

 

เครดิต: รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ประนอม บุพศิริ สูตินรีแพทย์, haamor.com

 

Save

Save

Save

Save

Save

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up