อุ่นนมแม่

อุ่นนมแม่ อย่างไรไม่ให้เสียคุณค่าสารอาหาร?

Alternative Textaccount_circle
event
อุ่นนมแม่
อุ่นนมแม่

วิธีเก็บรักษานมแม่ เพื่อลูกน้อยได้กินไปนานๆ

คุณแม่ที่มีน้ำนมแม่มากจนบางครั้งลูกก็กินไม่ทัน หรือในคุณแม่ที่ต้องการทำสต็อกนมแม่ เพื่อเก็บไว้ให้ลูกกิน แนะนำว่าให้ปั๊มเก็บใส่ถุงเก็บน้ำนมแม่ที่บรรจุน้ำนมแม่ไม่ให้เสียคุณค่าสารอาหาร จากนั้นจะต้องเขียนวันเวลาที่ปั๊มนมแม่ออกมาให้ชัดเจน เพื่อให้รู้ว่าสต็อกน้ำนมแม่ถุงไหนก่อนหลัง ที่ควรเอามาให้ลูกกิน ที่นี่เรามาดูกันว่าจะเก็บรักษานมแม่ได้อย่างไรบ้าง

นมแม่ที่ปั๊มออกมา

หากตั้งไว้ข้างนอกที่อุณหภูมิ 27-32 องศา สามารถเก็บนมแม่ไว้ได้ประมาณ 3-4 ชั่วโมง ซึ่งหากเลยไปจากนี้ไม่ควรนำมาให้ลูกกิน เพราะคุณค่าสารอาหารเสียไปหมดแล้ว

นมแม่ที่ปั๊มออกมา

หากตั้งไว้ข้างนอกที่อุณหภูมิ 16-26 องศา สามารถเก็บนมแม่ไว้ได้ประมาณ 4-8 ชั่วโมง ซึ่งหากเลยไปจากนี้ไม่ควรนำมาให้ลูกกิน เพราะคุณค่าสารอาหารเสียไปหมดแล้ว

นมแม่ที่ปั๊มออกมา

หากปั๊มนมแม่ใส่กระติกน้ำแข็ง ที่มีอุณหภูมิ 15 องศา จะสามารถเก็บนมแม่ไว้ได้ประมาณ 24 ชั่วโมง ซึ่งหากเลยจากนี้ไปแล้วไม่ควรให้ลูกกิน

นมแม่ที่ปั๊มออกมา

หากปั๊มนมแม่เก็บรักษาไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา ที่มีอุณหภูมิ 0-4 องศา จะสามารถเก็บนมแม่ไว้ได้ประมาณ 3-8 วัน

นมแม่ที่ปั๊มออกมา

หากปั๊มนมแม่แล้วเก็บรักษาไว้ในช่องแช่แข็งของตู้เย็นแบบประตูเดียว(เปิด-ปิด อุณหภูมิไม่คงที่) จะสามารถเก็บนมแม่ไว้ได้ประมาณ 2 สัปดาห์

นมแม่ที่ปั๊มออกมา

หากปั๊มนมแม่แล้วเก็บรักษาไว้ในช่องแช่แข็งตู้เย็น 2 ประตู ที่มีอุณหภูมิ -4 องศา จะสามารถเก็บนมแม่ไว้ได้ประมาณ 4-6 เดือน

นมแม่ที่ปั๊มออกมา

หากปั๊มนมแม่แล้วเก็บรักษาไว้ในช่องแช่แข็งเย็นจัด ตู้เย็นที่แช่เฉพาะนมแม่ ที่มีอุณหภูมิ -19 องศา จะสามารถเก็บนมแม่ไว้ได้ประมาณ 6-12 เดือน

 

นมแม่นั้นดีและมีประโยชน์กับลูกมากๆ จึงขอเอาใจช่วยให้คุณแม่ทุกคนที่ตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยแม่ ขอห้มีประมาณน้ำนมเพียงพอให้ลูกได้ทานกันได้มากกว่า 6 เดือนนะคะ แล้วอย่างลืมทำตามคำแนะนำในการอุ่นนมแม่ ที่ยังคงคุณค่าสารอาหารต่างๆ ที่มีประโยชน์กับสุขภาพร่างกายของลูก …ด้วยความใส่ใจและห่วงใยค่ะ

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

เทคนิคเพิ่มน้ำนมแม่ ให้ลูกมีกินได้นานเป็นปี
เคล็ดไม่ลับ การปั๊มนม วิธีเพิ่มน้ำนม ฉบับคุณแม่มืออาชีพ
เลือดปนในน้ำนมแม่ ปลอดภัยสำหรับลูกน้อยหรือไม่ ?

 


ขอขอบคุณข้อมูลบทความจาก
1แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด. “ลูกชอบกินแต่นมอุ่นๆ”
2มูลนิธินมแม่แห่งประเทศไทย. น้ำนมแม่แช่เย็น เวลาจะเอามาให้ลูกกิน ทำอย่างไร. www.thaibreastfeeding.org

 

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up