ทักษะในศตวรรษที่ 21

เด็กยุคใหม่กับ ทักษะในศตวรรษที่ 21 ทักษะใดบ้างที่จำเป็นต้องมี?

Alternative Textaccount_circle
event
ทักษะในศตวรรษที่ 21
ทักษะในศตวรรษที่ 21

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 – ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาเราพูดคุยกันมากมายเกี่ยวกับทักษะในศตวรรษที่ 21 และเรามั่นใจว่าคุณเคยได้ยินเกี่ยวกับทักษะเหล่านี้มามากแล้ว (วลีนี้กลายเป็นคำศัพท์ไปแล้ว) แต่ทักษะในศตวรรษที่ 21 คืออะไร และอะไรสำคัญที่สุด คำตอบสั้นๆ ก็คือ ทั้งหมดมีความสำคัญ แต่เราจะเจาะลึกเพิ่มเติมลงไปในแต่ละข้อที่นี่ ตลอดจนแนะนำวิธีการที่เหมาะสมให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการสร้างทักษะที่สำคัญให้แก่เด็กๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เด็กยุคใหม่กับ ทักษะในศตวรรษที่ 21 ทักษะใดบ้างที่จำเป็นต้องมี?

สำหรับพ่อแม่ทุกคน แน่นอนว่าต่างต้องการเตรียมลูกๆ ให้พร้อมสำหรับอนาคต ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่เนื่องจากโลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เราในฐานะพ่อแม่จะทำอย่างไรให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการ เพื่อประสบความสำเร็จในศตวรรษที่ 21 ในขณะที่เทคโนโลยียังคงพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและเร็วขึ้น มีอาชีพใหม่ๆ เกิดขึ้น และอาชีพเก่าๆ ก็เริ่มจางหายไปตามกาลเวลา ด้วยความไม่แน่นอนเกี่ยวกับรูปแบบของอาชีพในโลกอนาคต เราจึงจำเป็นต้องให้เด็กๆ ได้รับการสอนชุดทักษะต่างๆ ที่จำเป็น ซึ่งจะช่วยให้พวกเขามีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตได้ ไม่ว่าอนาคตของสังคมโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและการเชื่อมต่อทางดิจิทัลจะเป็นอย่างไรต่อไปก็ตาม

ทักษะและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คืออะไร?

ศตวรรษที่ 21 เป็นยุคของโอกาสที่ไม่สิ้นสุด นวัตกรรมต่างๆ ก้าวหน้ากว่าอดีตที่เคยเป็นมา ส่วนหนึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในระบบการศึกษาทั่วประเทศ ทักษะและความรู้เพื่อการเอาชีวิตรอดอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตในโลกอนาคตที่กำลังมาถึง ดังนั้นเด็กๆ จำเป็นต้องมีทักษะพิเศษซึ่งต้องได้รับการสอนและปลูกฝังตั้งแต่เนิ่นๆ แม้วิธีการศึกษาแบบดั้งเดิมจะช่วยให้เด็ก ๆ สามารถอยู่รอดได้ในโลก แต่ในศตวรรษที่ 21 เป็นที่รู้กันว่าทักษะพิเศษที่เพิ่มขึ้นจะช่วยให้เด็กๆ มีความเชี่ยวชาญในทุกด้านของชีวิต ตั้งแต่ทักษะชีวิตไปจนถึงทักษะดิจิทัลเพื่อให้พร้อมเผชิญกับความท้าทายของความน่าจะเป็นที่ไม่แน่นอนในอนาคต

คำว่า “ทักษะในศตวรรษที่ 21” โดยทั่วไปใช้เพื่ออ้างถึงความสามารถหลักบางอย่าง เช่น การทำงานร่วมกัน ความรู้ทางดิจิทัล การคิดเชิงวิพากษ์ และการแก้ปัญหา ซึ่งทั้งครูและผู้ปกครองจำเป็นต้องสอนเพื่อช่วยให้เด็กๆ ประสบความสำเร็จในโลกปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ในความหมายที่กว้างขึ้น แนวคิดที่ว่าการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ควรมีลักษณะอย่างไรนั้นคอ่นข้างเปิดกว้างสำหรับการตีความและการโต้เถียง

ปัจจุบันโรงเรียนมีส่วนสำคัญในการสอนเด็ก ๆ ให้มีทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองยังสามารถมีบทบาทของในการสอนทักษะที่จำเป็นเหล่านี้แก่เด็ก ๆ ได้เพื่อสนับสนุนโรงเรียน เนื่องจากพ่อแม่เปรียบเสมือนครูคนแรกๆ ที่ช่วยให้เด็ก ๆ ได้เกิดการเรียนรู้ โดยเฉพาะในเรื่องของคุณธรรมและจริยธรรมตั้งแต่ยังเล็ก

ทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่จำเป็นสำหรับเด็กยุคใหม่

  • การสื่อสาร
การสื่อสารเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญสำหรับเด็กในศตวรรษที่ 21 การรู้วิธีพูดไม่ได้หมายความว่าคนๆ นั้นจะรู้วิธีในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ วัยเด็กเป็นช่วงที่เราสามารถวางรากฐานสำหรับทักษะการสื่อสารที่ยอดเยี่ยมให้แก่เด็กได้ การสื่อสารช่วยให้เราแก้ปัญหา แสดงอารมณ์ และเชื่อมต่อกับผู้อื่น ทารกเริ่มสำรวจการสื่อสารได้อย่างไร? คำตอบคือ ท่าทาง สีหน้า และเสียง ต่อมาพวกเขาเริ่มพัฒนาคำศัพท์ซึ่งจะสะสมต่อไปตลอดวัยเด็ก ซึ่งพ่อแม่สามารถพูดคุยกับลูกน้อยเพื่อช่วยในการพัฒนานี้ได้ การสนทนาเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่คุณมีกับลูกของคุณจะปลูกฝังทักษะในการสื่อสารของพวกเขาให้พัฒนาได้อย่างรวดเร็ว
  • การทำงานร่วมกัน

การอธิบายความหมายของการทำงานร่วมกันให้เด็กๆ ฟังอาจเป็นเรื่องยากที่พวกเขาจะเข้าใจ แต่คุณสามารถสอนลูกของคุณได้ด้วยการฝึกฝน อาจเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กที่จะเข้าใจว่าทุกสิ่งบนโลกไม่ได้หมุนรอบตัวพวกเขา แต่ชีวิตของพวกเขาจะดีขึ้นด้วยการเรียนรู้ร่วมกันและแบ่งปันความสนุกด้วยกัน เด็กบางคนเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานร่วมกันเมื่อพวกเขาเริ่มเข้าโรงเรียน บางคนอาจเข้าใจความหมายของการทำงานร่วมกันตั้งแต่อยู่ที่บ้าน ตัวอย่างเช่น เราสามารถแสดงให้ลูกๆ เห็นวิธีการช่วยทำงานบ้านง่ายๆ เช่น การจัดระเบียบและเก็บของเล่นหลังจากเล่นกับพวกเขา หรือถ้าหากคุณมีลูกหลายคน เด็กๆ ทั้งหมดจะสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้ การทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งในทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยให้เราได้รู้จักเพื่อน รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น และได้คิดจากมุมมองใหม่ๆ นอกกรอบ

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
  • การคิดอย่างมีวิจารณญาณ

การคิดเชิงวิพากษ์ หรือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับเด็ก หมายถึงการถามคำถามและกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น เด็กๆ สามารถเริ่มด้วยคำถามง่ายๆ แล้วค่อยซับซ้อนขึ้น  เมื่อเด็กๆ ถามเรา เป็นความคิดที่ดีที่ผู้ใหญ่จะตอบทุกคำถามของพวกเขาด้วยใจที่เปิดกว้าง ลูกของคุณเคยถามคุณไหมว่าทำไมท้องฟ้าถึงเป็นสีฟ้า? หรือเด็กทารกมาจากไหน? นี่แหละค่ะ คือตัวอย่างของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

ว่าแต่เราจะช่วยให้เด็กๆ เกิดความอยากรู้อยากเห็นและทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ได้อย่างไร?  คำตอบคือ การแก้ปัญหาร่วมกันเล็กๆ น้อยๆ กับลูกจะมีความสำคัญเมื่อลูกของคุณถามคำถาม นอกจากนี้คุณสามารถลองถามคำถามลูกของคุณเพื่อเริ่มการสนทนาที่น่าสนใจ และเปิดโอกาสให้พวกเขาคิด เช่น ถ้าพวกเขาเป็นซุปเปอร์ฮีโร่ พวกเขาอยากได้พลังวิเศษอะไร? นี่เป็นโอกาสที่ดีในการทำความรู้จักกับลูกของคุณมากขึ้น และโดยปกติแล้วคำตอบจะสนุกและน่ารัก บทสนทนาเหล่านี้จะช่วยสร้างความทรงจำร่วมกับลูกของคุณอีกด้วยค่ะ

อ่านต่อ…เด็กยุคใหม่กับ ทักษะในศตวรรษที่ 21 ทักษะใดบ้างที่จำเป็นต้องมี? คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up