โรคแพนิค

ทำความเข้าใจ โรคแพนิค ในเด็ก ถึงลูกยังเล็กแต่มีโอกาสเป็นได้!

Alternative Textaccount_circle
event
โรคแพนิค
โรคแพนิค

โรคแพนิค – หรือโรคตื่นตระหนก (Panic Disorder) เป็นโรคที่พบได้ในเด็กและวัยรุ่น เด็กที่เป็นโรคตื่นตระหนกจะมีช่วงเวลาที่พวกเขาต้องอยู่กับห่วงเวลาแห่งความสึกกลัวอย่างรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดคิด และมักจะเกิดขึ้นร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น หัวใจเต้นเร็ว รู้สึกหายใจไม่อิ่ม มือชา แขนชา ไม่สบายท้อง ซึ่งช่วงเวลาเหล่านี้ ทางการแพทย์ เรียกว่า อาการ  “Panic Attack” ที่สำคัญ อาการแพนิคมักเกิดขึ้นโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า

ทำความเข้าใจ โรคแพนิค ในเด็ก ถึงลูกยังเล็กแต่มีโอกาสเป็นได้!

โรคแพนิค คืออะไร?

โรคแพนิค หรือ โรคตื่นตระหนก เป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง (Anxiety Disorder) ที่มักเกิดขึ้นอย่างกะทันหันโดยผู้ป่วยไม่ทันตั้งตัว และอาจไม่มีตัวกระตุ้นที่ชัดเจน เด็กที่เป็นโรคตื่นตระหนกจะมีอาการวิตกกังวลอย่างกะทันหันซึ่งมาพร้อมกับความรู้สึกหวาดกลัวทางจิตใจและอาการทางร่างกายอย่างรุนแรงที่อาจทำให้รู้สึกเหมือนว่าตัวเองกำลังจะตายในระหว่างที่อาการกำเริบ ซึ่งความคาดเดาไม่ได้ของการเกิดอาการตื่นตระหนกจะทำให้สถานการณ์โดยรวมยิ่งเลวร้ายลง

ความกลัวว่าจะเกิด Panic Attack อีกครั้ง สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการครั้งใหม่ได้เรื่อยๆ  เด็กที่เป็นโรคตื่นตระหนกมักหลีกเลี่ยงสถานที่ที่พวกเขาเชื่อมโยงหรือจดจำได้ว่าทำให้พวกเขาเกิดอาการแพนิค การถูก Panic Attack เล่นงาน เป็นเรื่องที่ทุกทรมานใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้ประสบกับอาการนี้ยังเป็นเด็ก การเห็นบุตรหลานของคุณต้องทนรับมือกับอาการตื่นตระหนกนั้นอาจทำให้ทั้งคุณและครอบครัวรู้สึกไม่สบายใจ คุณอาจรู้สึกหมดหนทางและไม่รู้ว่าจะหันไปทางไหน หรือทำอะไรเพื่อที่จะช่วยเหลือลูกหรือบุตรหลานของคุณ อย่างไรก็ตามยังมีขั้นตอนต่างๆ ที่คุณสามารถดำเนินการเพื่อช่วยพวกเขาได้

สาเหตุของ โรคแพนิค ในเด็ก คืออะไร?

อาการตื่นตระหนก เป็นอาการวิตกกังวลอย่างฉับพลันและรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุภายนอกที่ชัดเจน สำหรับเด็กที่เป็นโรคตื่นตระหนก สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการตื่นตระหนก มักเกี่ยวข้องกับตัวเองมากกว่าสถานการณ์ ซึ่งหมายความว่าเด็ก ๆ กลัวอาการตื่นตระหนกที่อาจเกิดขึ้นได้ มากกว่าสิ่งที่จะทำให้พวกเขาเกิดความวิตกกังวลโดยทั่วไป เช่น คนที่หัวเราะเยาะพวกเขา กลัวถูกสุนัขกัด หรือการหลงทาง เมื่อเกิดอาการแพนิคจะทำให้หัวใจของเด็กเต้นแรงและอาจรู้สึกหายใจไม่ออก ลูกของคุณอาจตัวสั่นหรือรู้สึกวิงเวียนศรีศะและมึนงง

โดยทั่วไป มีปัจจัยหลายประการที่อาจเพิ่มโอกาสที่บุตรหลานของคุณจะประสบกับอาการ Panic Attack ซึ่งรวมถึงปัจจัยต่อไปนี้

  • ปัจจัยทางกรรมพันธุ์/พันธุกรรม – การวิจัยแสดงให้เห็นว่าการมีญาติสนิท (เช่น พ่อแม่หรือพี่น้อง) ที่เป็นโรคแพนิค ทำให้มีโอกาสมากขึ้นที่เด็กจะประสบกับโรคนี้ได้เช่นกัน
  • ความกลัวแบบสุดขีด – เด็กอาจประสบกับโรคแพนิค ซึ่งเป็นผลมาจากการสัมผัสกับสิ่งที่พวกเขารู้สึกกลัวมาก
  • ภาวะสุขภาพจิต เช่น ความวิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) หรือโรคเครียดหลังเหตุการณ์ร้ายแรงในชีวิต (PTSD)
  • สิ่งกระตุ้นทางอารมณ์ ในระยะสั้น เช่น ความเศร้า ความทุกข์ ความรู้สึกหดหู่
  • ความนับถือตนเองต่ำ
  • สารกระตุ้นบางชนิด อาจทำให้เกิดอาการตื่นตระหนกในเด็กได้ เช่น คาเฟอีน

หากไม่ได้รับการรักษา โรคตื่นตระหนก และ ภาวะแทรกซ้อน ต่างๆ สามารถส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตโดยรวมของเด็กได้  เช่น เด็กอาจมีปัญหาด้านความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง มีปัญหาด้านการเรียนรู้ และพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยของเด็ก และยังส่งผลต่อส่วนอื่นๆ ของอารมณ์ หรือการทำงานของเด็กด้วย เด็กที่เป็นโรคตื่นตระหนกอาจรู้สึกวิตกกังวลเกือบตลอดเวลาแม้ว่าจะไม่ได้มีอาการตื่นตระหนกก็ตาม

บางคนเริ่มหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่พวกเขากลัวว่าจะทำให้อาการแพนิคเกิดขึ้น หรือสถานการณ์ที่ที่อาจไม่มีใครสามารถช่วยเหลือพวกเขาได้หากเกิดอาการขึ้น ตัวอย่างเช่น เด็กอาจลังเลที่จะไปโรงเรียนหรือกลัวการถูกแยกจากพ่อแม่ ในกรณีที่รุนแรงเด็กอาจกลัวที่จะออกจากบ้าน

เช่นเดียวกับโรควิตกกังวลอื่น ๆ รูปแบบการหลีกเลี่ยงสถานที่ หรือสถานการณ์บางอย่างนี้ สามารถเชื่อมโยงกับโรค “Social Anxiety” นอกจากนี้ เด็กและวัยรุ่นบางคนที่เป็นโรคตื่นตระหนกอาจมีภาวะซึมเศร้ารุนแรงและอาจเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอีกด้วยได้

อาการของ โรคแพนิค ในเด็ก

ความตื่นตระหนกที่เกิดขึ้น อาจส่งผลให้เด็กเกิดอาการทางจิตใจและร่างกายที่หลากหลาย ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ลูกของคุณอาจรู้สึกราวกับว่าพวกเขาสูญเสียการควบคุมตัวเองและพบว่าพวกเขาไม่สามารถปลดปล่อยตัวเองจากสถานการณ์บางอย่างได้ ซึ่งอาการแพนิคส่วนใหญ่มักมาพร้อมกับอาการทางกายภาพ ต่อไปนี้

  • เกิดความกลัวอย่างรุนแรงแบบฉับพลัน และรู้สึกว่ามีบางสิ่งที่เป็นอันตรายต่อชีวิตกำลังเกิดขึ้น
  • กลัวว่าตัวเองจะตาย สูญเสียการควบคุมตัวเอง เสียสติ
  • ใจสั่น หัวใจเต้นแรงมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที
  • วิงเวียนศีรษะหรือหน้ามืด
  • หายใจถี่ เนื่องจากรู้สึกว่าหายใจไม่อิ่ม
  • ตัวสั่น
  • รู้สึกคลื่นไส้ ไม่สบายท้อง
  • อุณหภูมิร่างกายแปรปรวน
ในกรณีส่วนใหญ่ อาการแพนิค จะคงอยู่เพียงไม่กี่นาทีก่อนจะสงบลง อย่างไรก็ตาม หลังเกิดอาการ สามารถทำให้เด็กเกิดความวิตกกังวลว่าจะมีอาการตื่นตระหนกเกิดขึ้นอีกครั้ง และนำไปสู่ ‘วงจรอุบาทว์’ ในที่สุด
โรคแพนิคในเด็ก
โรคแพนิคในเด็ก

วิธีรับมือเมื่อเด็กเกิดอาการตื่นตระหนก

ขั้นตอนที่คุณสามารถทำเพื่อช่วยให้บุตรหลานของคุณรับมือกับอาการแพนิคได้

  • ผู้ใหญ่ต้องมีสติในระหว่างที่เด็กเกิดอาการ

หากลูกของคุณมีอาการตื่นตระหนก มีแนวโน้มว่าพวกเขาจะรู้สึกราวกับว่าพวกเขาสูญเสียการควบคุมตัวเอง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับพ่อแม่ที่จะควบคุมตัวเองให้ได้ตลอดช่วงเวลาที่ลูกเกิดอาการ Panic Attack พยายามสงบสติอารมณ์และพูดคุยกับพวกเขาด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยน และผ่อนคลาย บอกให้พวกเขาหายใจเข้าลึก ๆ ช้าๆ  และทำให้พวกเขามั่นใจว่าความตื่นตระหนกจะหมดไปในไม่ช้า เมื่ออาการตื่นตระหนกดูสงบลงแล้ว ให้เวลาและพื้นที่มากพอแก่เด็กๆ เพื่อให้พวกเขาได้สงบสติอารมณ์

  • แบบฝึกการหายใจ

อธิบายให้ลูกฟังว่าเมื่อพวกเขามีอาการตื่นตระหนก การหายใจจะเร็วขึ้น อาจทำให้รู้สึกเวียนหัว และเจ็บหน้าอกได้ ดังนั้นควรสอนให้พวกเขาหายใจช้าลง สิ่งนี้สามารถช่วยลดอาการทางกายภาพของแพนิคและช่วยให้อาการผ่านไปเร็วขึ้น บอกลูกของคุณให้หายใจเข้าทางจมูกเป็นเวลาสามวินาที (พวกเขาควรรู้สึกว่าหน้าอกของพวกเขาขยายออกเมื่อทำเช่นนี้) กลั้นหายใจเป็นเวลาสองวินาทีก่อนที่จะหายใจออกจนสุดและเต็มที่ ลูกของคุณสามารถใช้กลยุทธ์การหายใจนี้ในครั้งต่อไปที่พวกเขามีอาการตื่นตระหนก นอกจากนี้ ข้อสำคัญที่สุดที่จะช่วยบรรเทาอาการตื่นตระหนกก่อนที่อาการจะกำเริบและกินเวลาเป็นนาทีหรือชั่วโมง คือ ถ้าลูกของคุณบอกว่าพวกเขารู้สึกหายใจไม่ออก ให้บอกพวกเขาว่าให้หายใจช้าๆ ด้วยการหายใจลึกๆ ซึ่งการหายใจด้วยถุงกระดาษสีน้ำตาลจะช่วยพวกเขาให้อาการทุเลาลงได้

  • สอนลูกของคุณเกี่ยวกับโรคแพนิค

อาการตื่นตระหนกอาจทำให้เด็กตกใจ และลูกของคุณอาจกังวลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ได้มากมาย เช่น กังวลว่าคนอื่นจะหัวเราะเยาะพวกเขา ไปจนถึงกังวลว่าพวกเขาจะหัวใจวาย หรือแม้กระทั่งกำลังจะตาย การสอนลูกของคุณเกี่ยวกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการของโรคแพนิค จะช่วยปัดเป่าความกังวลเหล่านี้ของลูกได้ อธิบายให้ลูกฟังว่าอาการตื่นตระหนกเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้และไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แม้ว่าพวกเขาจะรู้สึกกลัวและไม่สบายใจอย่างมากก็ตาม ควรให้ความมั่นใจแก่พวกเขาว่าอาการแพนิคนั้นเกิดเพียงชั่วครู่ซึ่งในที่สุดแล้วมันจะจบลง

  • ส่งเสริมให้ลูกของคุณเผชิญกับความกลัว

หากลูกของคุณมีอาการตื่นตระหนกในการตอบสนองต่อสถานการณ์ สถานที่หรือวัตถุบางอย่าง สิ่งสำคัญคือต้องสนับสนุนให้พวกเขาเผชิญกับความกลัว ตัวอย่างเช่น หากลูกของคุณตื่นตระหนกเมื่ออยู่ในรถ ให้ค่อยๆ พาพวกเขานั่งรถอย่างระมัดระวัง เช่น การนั่งในรถเมื่อรถจอด ก่อนที่จะค่อยๆ เคลื่อนรถออกในระยะทางสั้นๆ สิ่งนี้จะช่วยให้ลูกของคุณตระหนักว่าความกลัวของพวกเขานั้นไร้เหตุผล นอกจากนี้การให้คำชมและให้กำลังใจแก่บุตรหลานของคุณจะช่วยให้พวกเขาว่าพวกเขารู้สึกอุ่นใจว่าพวกเขาไม่ได้ถูกทิ้งให้ทุกข์ทรมานเพียงลำพัง

อ่านต่อ…ทำความเข้าใจ โรคแพนิค ในเด็ก ถึงลูกยังเล็กแต่มีโอกาสเป็นได้! คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up