โรคแพนิค

ทำความเข้าใจ โรคแพนิค ในเด็ก ถึงลูกยังเล็กแต่มีโอกาสเป็นได้!

Alternative Textaccount_circle
event
โรคแพนิค
โรคแพนิค
  • ท้าทาย และปฏิเสธความคิดเชิงลบ

วิธีที่ลูกของคุณคิดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ อาจส่งผลต่อระดับความตื่นตระหนกของพวกเขา ความคิดหลายอย่างของพวกเขาอยู่นอกเหนือการควบคุมและอาจทำให้อาการแย่ลง ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้บุตรหลานของคุณตระหนักว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงความคิดที่ไม่ถูกต้อง แม้ว่าลูกของคุณอาจเชื่อในความคิดที่ไม่ช่วยอะไรมากมายของพวกเขาในระหว่างที่อาการแพนิคเกิดขึ้น ความคิดเหล่านี้ควรได้รับการท้าทายเนื่องจากมักตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ไม่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น ลูกของคุณอาจคิดว่าพวกเขาจะมีอาการหัวใจวายเมื่อตื่นตระหนก (เนื่องจากหัวใจเต้นเร็ว) ซึ่งอาจทำให้พวกเขาตื่นตระหนกมากยิ่งขึ้น ดังนั้นควรช่วยพวกเขาปฏิเสธความคิดในแง่ลบโดยเตือนพวกเขาว่าอาการแพนิคไม่มีทางที่จะทำให้พวกเขาหัวใจวายได้

  • ช่วยลูกของคุณให้เปลี่ยนโฟกัส

เป็นไปได้ว่าลูกของคุณจะมีความคิดเชิงลบที่พรั่งพรูมากมายระหว่างที่เกิดอาการแพนิค คุณสามารถช่วยเปลี่ยนโฟกัสจากความคิดด้านลบเหล่านี้โดยกระตุ้นให้พวกเขาจดจ่อกับสิ่งอื่น ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่จะช่วยบรรเทาอาการหรือปลอบโยนพวกเขา ซึ่งอาจเป็นของเล่นชิ้นโปรด รูปถ่าย ของเล่นที่สนุกสนาน หรือสัตว์เลี้ยง คุณยังสามารถช่วยให้ลูกของคุณพัฒนา ‘สถานที่แห่งความสุข’ ให้เข้าไปอยู่ในความคิดได้ กระตุ้นให้พวกเขานึกถึงสถานการณ์หรือสถานที่ที่พวกเขารู้สึกปลอดภัยและสบายใจ และบอกให้พวกเขาจดจ่อกับสิ่งนี้เมื่อใดก็ตามที่พวกเขารู้สึกตื่นตระหนก

  • สร้างความมั่นใจให้ลูกว่ามีคนคอยช่วยเหลืออยู่เสมอ

สิ่งสำคัญคือต้องให้บุตรหลานของคุณรู้ว่าพวกเขาไม่ต้องทนทุกข์ด้วยตัวเอง จะมีคนคอยช่วยเหลือและรับฟังเสมอ บอกครูของบุตรหลานของคุณเกี่ยวกับโรคประจำตัวของลูกและขอให้พวกเขาก้าวเข้ามาเพื่อช่วยเหลือหากบุตรหลานของคุณเกิดอาการที่โรงเรียน ส่งเสริมให้ลูกของคุณพูดกับใครสักคนและอยู่กับใครสักคนเสมอหากพวกเขารู้สึกว่าอาการแพนิคจะเกิดขึ้น

 

Panic Disorder ในเด็ก
Panic Disorder ในเด็ก

 

การวินิจฉัย โรคแพนิค ในเด็ก

ในการวินิจฉัยเด็กที่เป็นโรคตื่นตระหนก แพทย์จะตัดสาเหตุอื่นๆ ที่เป็นไปได้ของอาการแพนิค ซึ่งอาจเป็นความผิดปกติทางจิตเวชอื่นๆ ที่มีอาการบางอย่างคล้ายกับโรคตื่นตระหนก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหอบหืดอาจทำให้การวินิจฉัยซับซ้อนขึ้น ซึ่งอาจจำเป็นต้องมีการตรวจคัดกรองหาความผิดปกต อย่างละเอียด รวมไปถึง โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) โรควิตกกังวลทางสังคม (Social Anxiety) และโรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (PTSD) เนื่องจากความผิดปกติเหล่านี้ อาจเป็นสาเหตุของอาการที่คล้ายกับโรคแพนิค

เมื่อสาเหตุอื่นๆ ถูกตัดออกไป ผู้เชี่ยวชาญจะวินิจฉัยว่าเด็กเป็นโรคตื่นตระหนก ด้วยอาการต่อไปนี้

  • เด็กมีประวัติอาการตื่นตระหนกมากกว่าหนึ่งครั้ง
  • เด็กมีความกังวลเกี่ยวกับอาการจนกระทบการชีวิตประจำวัน
  • เด็กกลัวว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเขาหากถูกอาการแพนิคโจมตี เช่น รู้สึกสูญเสียการควบคุม เสียสติ หรือ กลัวความตาย
  • พฤติกรรมของเด็กเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด เช่น การหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ตนเองเคยมีอาการตื่นตระหนก หรือแม้แต่สถานที่ที่เตือนให้นึกถึงอาการแพนิค เป็นต้น

การรักษาโรคแพนิค ในเด็ก

การรักษาโรคแพนิคโดยทั่วไปแพทย์และเภสัชกรจะให้ยากลุ่ม Selective Serotonin Reuptake Inhibitors (SSRIs) ร่วมกับการบำบัดพฤติกรรม เนื่องจากการรักษาโรคตื่นตระหนกที่มีประสิทธิภาพควรผสมผสานระหว่างการรักษาด้วยยาและการบำบัดทางพฤติกรรม อย่างไรก็ตามสำหรับเด็กอาจเป็นเรื่องยากที่จะใช้วิธีบำบัดด้วยพฤติกรรมจนกว่าอาการตื่นตระหนกของเด็กจะถูกควบคุมโดยยา

นอกจากนี้การรักษาด้วยวิธีจิตบำบัดอาจช่วยให้เด็กและครอบครัวเรียนรู้วิธีลดความเครียดหรือรับมือกับสิ่งกระตุ้นต่างๆ ที่อาจทำให้เด็กเกิดอาการตื่นตระหนกได้ ด้วยเทคนิค “การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม”เด็กอาจได้เรียนรู้วิธีใหม่ในการควบคุมความวิตกกังวลหรือควบคุมความกลัวเมื่ออาการแพนิคเกิดขึ้น เด็กจำนวนมากที่เป็นโรคตื่นตระหนกสามารถตอบสนองได้ดีต่อการใช้ยาร่วมกับจิตบำบัด ด้วยการรักษาที่มีประสิทธิภาพมักจะสามารถหยุดอาการของโรคแพนิคอย่างถาวรได้  ซึ่งการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ของโรคตื่นตระหนกได้ เช่น อาการหวาดระแวง หรือ อาการซึมเศร้า เป็นต้น

เด็กส่วนใหญ่ที่มีอาการของโรคนี้ หากได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมก็สามารถหายเป็นปกติได้ อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการผิดปกติของลูกที่บ่งบอกถึงอาการของโรคแพนิค จะช่วยให้พ่อแม่เข้าใจความผิดปกติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นเพื่อเข้าสู่กระบวนการการรักษา นอกจากนี้  การปลูกฝังให้ลูกสื่อสาร และอธิบายถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตัวเองจะช่วยให้เด็กๆ เกิดความฉลาดที่รอบด้านด้วย Power BQ ในด้าน ความฉลาดต่อการมีสุขภาพที่ดี (HQ) และช่วยให้พ่อแม่รู้เท่าทันความเจ็บป่วยต่างๆ ของลูก และรับมือได้อย่างเหมาะสมค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.drugs.comhttps://www.aacap.orghttps://www.unicef.org

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up