ลูกเดินช้า ลูกพูดช้า

ลูกเดินช้า ลูกพูดช้าไปหรือเปล่า? ลองเทคนิคนี้ช่วยได้!!

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกเดินช้า ลูกพูดช้า
ลูกเดินช้า ลูกพูดช้า

ลูกเดินช้า พัฒนาการช้า ลูกพูดช้า แบบไหนเรียกว่าช้า สังเกตลูกหากเข้าข่าย ลองใช้เทคนิคดี ๆ เหล่านี้ เพียง 4 แนวทาง ช่วยพ่อแม่หมดกังวลลูกได้พัฒนา

ลูกเดินช้า ลูกพูดช้าไปหรือเปล่า? ลองเทคนิคนี้ช่วยได้!!

แม้ว่าเด็กสามารถเติบโตขึ้นได้ แม้ไม่ได้รับการกระตุ้น ฝึกฝนพัฒนาการด้านต่าง ๆ ก็ตาม แต่หากพ่อแม่ หรือผู้ดูแลใส่ใจ สังเกต ในพัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัย พร้อมกระตุ้น และหากิจกรรมฝึกฝนให้พัฒนาการเหล่านั้น ได้รับการพัฒนาเป็นไปแนวทางที่ดี มีประสิทธิภาพ แล้ว ย่อมนำมาซึ่งพัฒนาอันปกติ และทักษะที่ดีเยี่ยมให้แก่ลูกน้อย

การส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่างๆ  ของเด็กอย่างเหมาะสม นอกจากจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการนั้น ๆ ให้มีประสิทธิภาพเต็มเปี่ยมแล้ว ยังช่วยให้ลูกมีทักษะทั้งทางร่างกาย และจิตใจที่ดีตามไปด้วย พ่อแม่สามารถส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยได้ตั้งแต่ในครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นลูบหน้าท้องกระตุ้นความรู้สึก พูดคุยกับลูก อ่านหนังสือ ฟังเพลง เป็นต้น

พัฒนาการช้า : ลูกเดินช้า ลูกพูดช้า ลูก….ช้า เกินไปหรือเปล่า?

พ่อแม่ควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูกอย่างใกล้ชิด หากพบว่าลูกมีพัฒนาการที่ล่าช้า หรือเริ่มมีปัญหา กังวลว่าลูกจะมีปัญหา ขอบอกว่าไม่ต้องกังวลใจไปมากนัก เพราะพัฒนาการที่ล่าช้าของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นดการที่ ลูกเดินช้า พูดช้า เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้น และแก้ไขได้

พัฒนาการเด็ก
พัฒนาการเด็ก

สัญญาณบ่งบอก ลูกมีพัฒนาการช้า !!

พัฒนาการของเด็ก มีทั้งทางด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ พัฒนาการด้านนิสัยส่วนบุคคล การเข้าสังคม ด้านการพูดสื่อสาร การปรับตัว ล้วนมีความเชื่อมโยงกับอวัยวะส่วนต่าง ๆ ซึ่งหากเกิดอาการผิดปกติของอวัยวะส่วนต่าง ๆ พ่อแม่ ผู้ปกครองควรใส่ใจ เพราะสัญญาณเหล่านี้อาจบ่งบอกได้ว่าเด็กมีพัฒนาการล่าช้ากว่าปกติ และควรพบคุณหมอเพื่อหาข้อวินิจฉัย

  • ความผิดปกติของศีรษะ

ขนาดของศีรษะนั้นมีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของสมอง หากลูกมีขนาดของศีรษะที่เล็กหรือใหญ่เกินไปอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการเจริญเติบโตของสมองที่ผิดปกติ ซึ่งเกิดได้จากหลาย ๆ ปัจจัย เช่น ขาดอากาศขณะคลอด หรืออาจจะเป็นโรคทางระบบประสาท ซึ่งแพทย์จะทำการหาข้อวินิจฉัยต่อไป แต่โดยปกติแล้วเส้นรอบศีรษะของเด็กจะมีค่าเฉลี่ยมาตรฐานที่แพทย์ใช้สำหรับประเมินพัฒนาการ ดังนี้

    1. เด็กแรกเกิด ความยาวรอบศีรษะ 35 เซนติเมตร
    2. เด็ก 3-4 เดือน ความยาวรอบศีรษะ 40 เซนติเมตร
    3. เด็กอายุ 1 ขวบ ความยาวรอบศีรษะ 45 เซนติเมตร
    4. เด็ก 2 ขวบ ความยาวรอบศีรษะ 47 เซนติเมตร
    5. เด็ก 4-5 ขวบ ความยาวรอบศีรษะ 50 เซนติเมตร
  • ความผิดปกติของหู

การผิดรูปของใบหูเด็ก ทั้งตำแหน่งที่ต่ำหรือสูงเกินไป จนสังเกตได้ว่ามีติ่งหูยาวผิดปกติ รวมถึง เมื่ออายุได้ 6 เดือนแล้ว แต่ยังไม่ตอบสนองต่อเสียงที่ได้ยิน เช่น ไม่หันตามทิศที่มาของเสีย หรือไม่สะดุ้งตกใจ เมื่อได้ยินเสียงดัง ๆ เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้สามารถบ่งบอกได้ว่าเด็กมีพัฒนาการล่าช้าในการได้ยิน

  • ความผิดปกติของตา

สำหรับความผิดปกติของดวงตา เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าอาจจะมีลักษณะดวงตาที่ห่างกันจนผิดปกติ ตาเหล่เข้า-ออก หรือแสงสะท้อนจากรูม่านตาเป็นสีขาว แสดงให้เห็นว่าด้านหลังของรูม่านตามีความผิดปกติ ที่อาจเกิดจากการเป็นต้อ มีเนื้องอก รวมถึง ปัญหาจอประสาทตาลอก ซึ่งแพทย์จะตรวจสอบปัญหาเหล่านี้ เพื่อทำข้อวินิจฉัยว่าเด็ก ๆ มีความผิดปกติด้านการมองเห็นอื่น ๆ ร่วมด้วยหรือไม่

  • ความผิดปกติของจมูก

โดยปกติแล้วทารกจะเริ่มได้กลิ่นตั้งแต่สัปดาห์แรก โดยเฉพาะกลิ่นที่มีความคุ้นเคยอย่างกลิ่นของแม่ เมื่อได้กลิ่นก็จะโน้มตัวเข้าหา สำหรับเด็ก ๆ ที่มีพัฒนาการล่าช้า จมูกจะมีลักษณะผิดรูปจากที่ควรจะเป็น และไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองกับกลิ่นต่าง ๆ เช่น ไม่หน้านิ่วหรือจามเมื่อได้กลิ่นเหม็นฉุน

  • ความผิดปกติของปาก

สำหรับเด็ก ๆ ที่มีความผิดปกติของปาก ปากจะมีลักษณะบางจนบางครั้งมองไม่เห็นริมฝีปาก หรือปากแหว่งเพดานโหว่ ส่งผลให้พูดไม่ชัด พูดติดอ่าง เสียงผิดปกติ และไม่ส่งเสียงอ้อแอ้ ในบางคนไม่ตอบโต้หรือพูดตามวัย มีพัฒนาการด้านภาษาที่ช้า

  • ความผิดปกติของลิ้น

ปัญหาความผิดปกติของลิ้น ไม่ว่าจะเป็น ลิ้นมีขนาดใหญ่ ลิ้นยื่นออกมาขณะพูด รวมถึง ปัญหาการสบกันของฟัน จะทำให้เด็ก ๆ น้ำลายไหลได้ง่าย อ้าปากกว้างอยู่บ่อย ๆ ไม่กลืนอาหาร ไม่เคี้ยวข้าว บางครั้งอาจมีการเคี้ยวข้าวที่นาน ไอ และสำลักอาหารร่วมด้วย แพทย์ก็จะรวบรวมข้อมูลเหล่านี้เพื่อทำข้อวินิจฉัย และหาแนวทางในการรักษาต่อไป

ส่องพัฒนาการลูก ล่าช้า หรือไม่
ส่องพัฒนาการลูก ล่าช้า หรือไม่
  • ความผิดปกติของแขนขาและลำตัว

ปัญหาความผิดปกติของแขนขาและลำตัวนั้นเกี่ยวข้องกับพัฒนาการกล้ามเนื้อ ไม่ว่าจะเป็น กล้ามเนื้อแขนขาเกร็งมากเกินไป ทำให้เคลื่อนไหวได้ลำบาก หรือกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง ส่งผลให้ไม่มีแรงในการเคลื่อนไหว ไม่สามารถควบคุมการทรงตัวได้อย่างสมดุล เช่น อายุได้ 3 เดือนแล้ว แต่คอยังไม่แข็ง อายุ 6 เดือนแล้ว แต่ยังไม่สามารถคว่ำได้ หรือ อายุ 9 เดือนแล้ว แต่ยังไม่สามารถนั่งเองได้

  • ความผิดปกติของผิวหนัง

ปัญหาผิวหนังที่ผู้ปกครองควรสังเกต คือ ริ้วรอยหรือผื่นผิวหนังต่าง ๆ รวมถึง ลักษณะของผิวหนัง และสีผิวหนังลูก ว่า เหลืองหรือซีดผิดปกติหรือไม่ หากมีความผิดปกติ ควรปรึกษาคุณหมอทันที

4 วิธีสังเกตง่าย ๆ ให้สงสัยว่าลูกรักมีพัฒนาการล่าช้า!!

4 วิธีสังเกตง่าย อาการผิดปกติที่ทำให้พัฒนาการลูกช้า ที่พ่อแม่สังเกตได้นอกจากการสังเกตลูกรักดังที่กล่าวมาแล้ว ลักษณะภายนอกที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตเห็นได้คือ

  1. การได้ยิน ในช่วงอายุประมาณ 6 เดือน ให้คุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตดูว่า ลูกน้อยของคุณสามารถหันหน้าตามทิศทางของเสียงเรียกได้หรือไม่ เรียกแล้วหันหรือไม่ แต่หากลูกไม่ตอบสนองกับเสียงที่ได้ยินรอบข้าง เช่น ไม่หัน ไม่สะดุ้งหรือตกใจเมื่อมีเสียงดัง ลักษณะเช่นนี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติได้ อีกกรณีคือ พูดโต้ตอบแต่ใช้เสียงดังผิดปกติ ตอบสนองช้า เช่นเรียกชื่อนานกว่าจะตอบสนอง เข้าใจคำพูดยาก ไม่เข้าใจคำสั้ง ออกเสียงคำง่ายๆ ไม่ได้เป็นต้น
  2. การมองเห็น  หากว่าลูกน้อยมีพัฒนาการล่าช้าสามารถสังเกตได้จากตาของลูก โดยจะห่างจนผิดปกติตาเหล่าเข้า หรือตาเหล่ออก หากมองเห็นแสงสะท้อนจากรูม่านตาลูกเป็นสีขาวแสดงว่ามีความผิดปกติอยู่ด้านหลังรูม่านตา หรือสังเกตปัญหาการมองเห็น ลูกดูเหมือนการมองไม่ชัดเจน ไม่สามารถโฟกัสวัตุได้ จะสังเกตได้จากลูกน้อยขยี้ตาบ่อยๆ ไม่มองตามผู้คนหรือสิ่งของ มักหยิบวัตถุเข้ามาดูใกล้ๆ ตา เวลาเล่นหรือ กระตุ้นให้ลูกได้ฝึกเคลื่อนไหวดวงตาด้วยสิ่งของเคลื่อนไหวแล้วลูกมองตามวัตถุแล้วตาแกว่งไม่หยุดนิ่ง ไม่จับจ้องวัตถุ ไม่สบตานั่นก็อาจมีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นได้
  3. การเคลื่อนไหวร่างกาย เด็กที่มีพัฒนาการผิดปกติจะมีลักษณะแขนขายาวไม่เท่ากันทั้งสองข้างนิ้วยึดติด ในส่วนของการเคลื่อนไหวร่างกาย สามารถสังเกตได้ง่ายๆ ดูได้จากลูกน้อย สามารถ ลุก ยืน เดิน ได้คงที่หรือไม่ ถ้ามีอาการอ่อนปวกเปียกผิดปกติ แขนขาเกร็ง ทำให้เด็กเคลื่อนไหวลำบาก ลักษณะเช่นนี้ ลูกน้อยของคุณจะมักใช้ร่างกายด้านใดด้านหนึ่งมากกว่าอีกด้าน เซื่องซึม ขาดความกระตือรือร้น ไม่สามารถควบคุมลำตัวเพื่อทรงตัวให้มีความสมดุลขณะถูกอุ้ม เป็นต้น
  4. พฤติกรรมและการแสดงออก พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง หรือซนมากผิดปกติ ไม่ชอบสบตากับใคร ไม่มีสมาธิ หรือไม่สนใจกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ สนใจสิ่งของหรือวัตถุใด ๆ มากกว่าการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่สนใจหรือไม่ต้องการพ่อแม่ หากพบความผิดปกติเหล่านนี้ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อหาความผิดปกติ และวางแผนการรักษารวมส่งเสริมพัฒนาการให้ลูกน้อย
ที่มา : https://www.phyathai.com

อ่านต่อ>> เทคนิคส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย ช่วยกระตุ้นไม่ให้มีพัฒนาการล่าช้า คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up