พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก

ก้าวแรกของ พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก ฝึกลูกถือขวดนมเอง

Alternative Textaccount_circle
event
พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก
พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก

6 เคล็ดลับง๊ายง่าย ฝึกลูกถือขวดนมเอง

5. ช่วยลูกบ้าง

หากลูกมีทีท่าว่าจะถือไม่ไหว ก็ไม่ควรปล่อยให้ถือเองต่อ เพราะการถือขวดนมที่มีน้ำหนักนาน ๆ ก็อาจทำให้ลูกล้าหรือปวดแขนได้ พาลจะทำให้ไม่อยากถือขวดนมเองอีก การใช้หมอนนิ่ม ๆ รองช่วงต้นแขนและข้อศอก จะช่วยให้ลูกใช้กล้ามเนื้อแขนน้อยลง เพราะน้ำหนักจะถูกถ่ายเทลงไปที่หมอนแทน ก็จะช่วยให้ลูกถือขวดนมได้สะดวกขึ้น หรือจะใช้ที่จับขวดนมก็ได้ค่ะ เพราะนอกจากจะช่วยให้ลูกจับขวดนมได้สะดวกขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ลูกถือขวดนมในท่าที่ถูกต้องได้อีกด้วย

6. บางวันลูกอาจจะไม่ยอมถือขวดนมเองบ้าง เป็นเรื่องปกติ

เด็กก็เหมือนผู้ใหญ่ค่ะ ในบางวัน ลูกอาจจะไม่มีอารมณ์ที่จะจับขวดนมเอง แต่ในวันต่อมาอาจจะอยากที่จะถือเอง การที่อยู่ ๆ ลูกที่สามารถถือขวดนมทานเองได้ มาวันหนึ่งกลับไม่ยอมถือขวดเอาดื้อ ไม่ได้ถือว่าเป็นการทำให้พัฒนาการถดถอยค่ะ เป็นเพียงเพราะ “หนู/ผม ก็แค่ไม่อยากถือค่ะ/ครับ คุณแม่!” ดังนั้น คุณแม่ไม่จำเป็นต้องกดดันหรือบังคับให้ลูกถือขวดนมให้ได้หรอกนะคะ เพียงแค่วางขวดนมไว้ใกล้ ๆ มือลูก เมื่อลูกหิวก็จะหยิบขวดนมมาทานได้เอง หรือหากลูกร้องไห้จะให้คุณแม่ป้อนนม อาจเป็นเพราะลูกต้องการอ้อนหรือต้องการความอบอุ่นจากคุณแม่นั่นเองค่ะ

ลูกไม่ยอมถือขวดนมเอง
บางวันลูกอาจจะไม่ยอมถือขวดนมเอง ก็ไม่ควรบังคับหรือกดดันให้ลูกถือ

สิ่งสำคัญที่สุดในการฝึกลูกถือขวดนมเพื่อกระตุ้น พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก คือ คุณแม่ต้องมั่นใจก่อนว่าร่างกายของลูกพร้อมที่จะรองรับน้ำหนักจากนมในขวดได้บ้างแล้ว การเร่งฝึกให้ถือขวดนมเร็วจนเกินไป อาจทำให้ลูกบาดเจ็บได้ค่ะ

 

ข้อควรระวังเมื่อลูกถือขวดนมเองได้แล้ว

  1. จัดท่าทางการดูดขวดนมให้ถูกต้อง

ท่าที่ดีที่สุดในการทานนมคือการนอนทานบนแขนคุณแม่ คล้ายกับท่าทางในการทานนมแม่นั่นเองค่ะ ไม่ควรให้ลูกถือขวดนมตั้งสูงจนเกินไป หรือสูงเกินปากของลูกเอง เพราะอาจทำให้ลูกหายใจไม่ออก หรือ เกิดการติดเชื้อในหูได้

2. ไม่ควรปล่อยให้ลูกดูดขวดนมตามลำพัง

อันตรายเกิดขึ้นได้เสมอ แม้แต่ขณะดูดขวดนม เพราะลูกอาจเผลอทานนมในท่าที่ไม่ถูกต้อง หรือ อาจจะสำลักขณะทานนมได้ ดังนั้น คุณแม่ควรคอยเฝ้าดูอยู่ใกล้ ๆ เสมอ จนกว่าลูกจะทานนมเสร็จ

3. เสียงขณะดูดนม ช่วยบอกถึงความผิดปกติต่าง ๆ ได้

หากได้ยินเสียงดังขณะลูกดูดนม อาจหมายถึงลูกกำลังดูดอากาศเข้าไปมากกว่านม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ลูกท้องอืดได้ คุณแม่ควรตรวจเช็คจุกนมว่าอุดตันหรือไม่ หรืออาจเป็นเพราะท่าทางในการถือขวดนมไม่ถูกต้อง

พัฒนาการการหยิบจับ
พัฒนาการการหยิบจับสิ่งของ เริ่มได้ตั้งแต่การฝึกจับขวดนมเอง

4. ช่วยเอาขวดนมออกให้ลูก

ถึงแม้ว่าลูกจะถือขวดนมได้เก่งมากแล้ว แต่คุณแม่ก็ยังต้องช่วยเอาขวดนมออกให้ลูกเมื่อนมหมดด้วยค่ะ เพราะลูกมักจะดูดจุกนมไปเรื่อย ๆ แม้ว่านมจะหมดแล้ว เพราะหากปล่อยให้ดูดไปเรื่อย ๆ อาจทำให้เกิดปัญหาในช่องปากได้ค่ะ และหากนำขวดนมออกให้ลูกแล้ว ลูกยังร้องกวนอีก แสดงว่าลูกยังทานไม่อิ่มค่ะ คุณแม่อาจพิจารณาปรับปริมาณของนมให้เหมาะสมกับช่วงวัยและพฤติกรรมการทานนมของลูก

5. อย่าปล่อยให้ลูกหลับคาขวดเอง

เพราะเมื่อลูกดูดนมขณะที่กำลังจะหลับ อาจทำให้ลูกสำลักนมได้ หรือลูกอาจจะใช้นมกล่อมตัวเองไปเรื่อย ๆ จนเผลอทานมากจนเกินไป ทำให้เกิดภาวะ overfeeding ได้

 

การถือขวดนมเองเป็น พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก ที่ไม่ยากสำหรับเด็กในวัยนี้ ความอดทนและความช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ จากพ่อแม่ จะเป็นแรงจูงใจให้ลูกมีความสนุกที่จะฝึกถือขวดนมได้เอง และจะทำได้ในที่สุดค่ะ

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจได้ที่นี่

เสริมพัฒนาการลูกด้วยของเล่นใกล้ตัว

ท่านอนทารก ช่วยลูกฉลาด และพัฒนาการดีจริงหรือ?

นี่คือพัฒนาการ ความจำ ของลูกทารกตั้งแต่แรกเกิด – 1 ขวบ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : momjunction

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up