ติดโควิดจากแม่

ลูก 2 ขวบ ติดโควิดจากแม่ ที่กลับจากโรงพยาบาล

Alternative Textaccount_circle
event
ติดโควิดจากแม่
ติดโควิดจากแม่

นพ.จิรชาติ เรืองวัชรินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชุมพร ได้แถลงสถานการณ์โควิด-19 รายวันทางเพจ “ชุมพรจัดทัพรับมือโควิด” ของสำนักงานสาธารณสุข จ.ชุมพร รายงานว่าพบ ลูก 2 ขวบ ติดโควิดจากแม่ ที่เป็นไข้เลือดออกและรักษาตัวที่โรงพยาบาลชุมพรเขตอุดมศักดิ์

เห็นข่าวแล้วพาให้ระแวงกันเข้าไปอีกสำหรับคนเป็นแม่ เมื่อเราก้าวออกจากบ้านไปในแต่ละวันไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม เช่น ไปทำงาน ไปทำธุระ เรามีความเสี่ยงที่จะรับเชื้อโควิด-19 ได้ทุกเมื่อ ล่าสุด คุณแม่ป่วยเป็นไข้เลือดออก ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล และติดเชื้อโควิดกลับบ้านโดยไม่รู้ตัว

หนูน้อยวัย 2 ขวบ 8 เดือนที่ติดเชื้อ COVID-19 รายนี้ เป็นลูกสาวของผู้ป่วยรายที่ 12 เพศหญิง อายุ 24 ปี ที่เข้ารับการรักษาตัวเป็นไข้เลือดออก ในตึกอายุรกรรมหญิง ในโรงพยาบาลชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เมื่อวันที่ 3-5 เม.ย.ที่ผ่านมา และแม่ได้ติดเชื้อจากผู้ป่วยข้างเคียง จากนั้นรักษาไข้เลือดออกหายและกลับไปที่บ้าน

ลูก 2 ขวบ ติดโควิดจากแม่ ได้อย่างไร?

ผู้ป่วยเด็กน้อยรายนี้ไม่ได้ไปไหนอยู่บ้านตลอดเวลา รับเชื้อจากแม่หลังกลับไปอยู่ที่บ้าน เริ่มป่วยวันที่ 19 เม.ย. และส่งตัวอย่างตรวจยืนยันผล 20 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้รับการยืนยันพบเชื้อโควิด-19

ขณะนี้ทีมแพทย์ ได้นำเด็กวัย 2 ขวบ 8 เดือน (ผู้ป่วยรายที่ 16) ไปอยู่ร่วมกับแม่ เพื่อให้ดูแลกัน โดยทั้งคู่มีกำลังใจที่ดี

ทั้งนี้ยังมีรายงานพบความเชื่อมโยงของผู้ป่วยรายที่ 2-16 ของจังหวัดชุมพร ติดเชื้อต่อกันในตึกอายุรกรรมภายในโรงพยาบาลทั้งสิ้น และผู้ป่วยทุกคนอยู่ในกระบวนการสอบสวนโรคแล้ว

ทีมแม่ ABK ขอส่งกำลังใจให้คุณแม่และลูกน้อยหายป่วยไวๆ และขอให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านปลอดภัยนะคะ

เตือน! เด็กมีความเสี่ยงสูงจากคนในบ้าน ญาติใกล้ชิด

ในกรณีที่มีผู้ป่วยยืนยันเป็นเด็ก (โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี) นิยามของผู้สัมผัสเสี่ยงสูงจะต่างจากผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ เพราะเด็กไม่ได้ไปไหน ไม่ได้ไปสถานที่ต่างๆ ดังนั้นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงก็จะเป็นคนในบ้าน ญาติที่ใกล้ชิด

เปรียบเทียบอาการ โควิด-19 ในเด็ก vs ผู้ใหญ่ต่างกันอย่างไร?

นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค โพสต์ผ่านเฟซบุ๊คหมอแก้ว ผลิพัฒน์ ระบุว่า…

ผู้ใหญ่ประมาณร้อยละ 89 จะมีอาการไข้
ร้อยละ 68 จะมีอาการไอ
ร้อยละ 14 จะมีอาการอ่อนเพลีย
มีน้ำมูกพบได้ค่อนข้างน้อยแค่ประมาณร้อยละ 5
ร้อยละ 15 มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
ร้อยละ 38 มีอาการอ่อนเพลีย
และร้อยละ 19 มีอาการหายใจลำบากหรือหายใจเร็ว

ในขณะที่เด็กจะมีอาการน้อยกว่า นั่นคือ
มีเด็กที่ป่วยด้วยโรคโควิดร้อยละ 42 ที่มีอาการไข้
ร้อยละ 49 มีอาการไอ (จะเห็นว่าอาการไอพบได้บ่อยกว่าไข้ ในเด็ก)
ร้อยละ 8 มีน้ำมูก

โควิด อาการ
อาการโควิด-19 ผู้ใหญ่ vs เด็ก

หากติดเชื้อแล้วจะเสียชีวิตมากน้อยแค่ไหน?

ในกลุ่มผู้ที่มีอายุน้อยจะพบผู้ที่มีอาการรุนแรงค่อนข้างน้อย อายุมากขึ้นก็จะพบผู้ที่มีอาการรุนแรงมากขึ้นด้วย นั่นคือ

  • หากมีผู้ป่วยโรคโควิดที่มีอายุน้อยกว่า 39 ปี 100 คน จะมีผู้เสียชีวิตเพียง 0.2 คน
  • หากมีผู้ป่วยโรคโควิดที่มีอายุ 40-49 ปีหนึ่ง 100 คน จะมีผู้เสียชีวิต 0.4 คน
  • หากมีผู้ป่วยโรคโควิดที่มีอายุ 50-59 ปีหนึ่ง 100 คน จะมีผู้เสียชีวิต 1.3 คน
  • หากมีผู้ป่วยโรคโควิดที่มีอายุ 60-69 ปีหนึ่ง 100 คน จะมีผู้เสียชีวิต 3.6 คน
  • หากมีผู้ป่วยโรคโควิดที่มีอายุ 70-79 ปีหนึ่ง 100 คน จะมีผู้เสียชีวิต 8 คน
  • หากมีผู้ป่วยโรคโควิดที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป 100 คน จะมีผู้เสียชีวิต 14.8 คน

จะเห็นได้ว่าหากผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคโควิดจะมีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า

เด็กแม้อาการจะไม่มาก แต่ถ้าในบ้านมีทั้งเด็กและผู้สูงอายุอาศัยอยู่ด้วยกัน เด็กที่อาการไม่มากอาจทำให้ผู้สูงอายุติดเชื้อได้ ซึ่งหากผู้สูงอายุติดเชื้อขึ้นมาโอกาสที่จะมีอาการรุนแรงและเสียชีวิตก็จะสูงด้วย

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ ชุมพรจัดทัพรับมือโควิด ,  สยามรัฐ

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

วิจัยเผย “ยาฟ้าทะลายโจร” ฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้จริง! 

8 วิธีรับมือไวรัสโคโรน่า COVID-19 ฉบับพ่อแม่ที่มีลูกเล็กโดยเฉพาะ!

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up