โรคไข้กาฬหลังแอ่น

โรคไข้กาฬหลังแอ่น ระบาดหนักในรอบปี พบเด็กเล็กเสี่ยงที่สุด!

Alternative Textaccount_circle
event
โรคไข้กาฬหลังแอ่น
โรคไข้กาฬหลังแอ่น

โรคไข้กาฬหลังแอ่น

อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ของ โรคไข้กาฬหลังแอ่น ในปัจจุบันนั้น พบว่า มีการค้นพบโรคดังกล่าวทั่วโลก ไม่จำกัดว่าจะมีลักษณะภูมิประเทศอยู่ในเขตอบอุ่นหรือร้อน แต่จะพบบ่อยและมากที่สุดในเขตพื้นที่ที่มีอากาศร้อนแห้ง

สำหรับในประเทศไทยนั้น พบว่ามีการพบผู้ป่วยที่เป็นโรคดังกล่าวในทุกกลุ่มอายุ ตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงวัยทำงาน ซึ่งแนวโน้มของกลุ่มผู้ที่มีโอกาสเป็นโรคดังกล่าวนั้น ก็ได้แก่เด็ก หรือกลุ่มคนที่ทำงานหรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ที่แออัด และจะพบผู้ป่วยมากขึ้นในช่วงของฤดูฝน

วิธีการป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น

การป้องกันโรคมี วิธีหลัก คือ การกินยาต้านจุลชีพ และ ฉีดวัคซีน ซึ่งผู้ที่สมควรได้รับการป้องกัน ได้แก่ ผู้ที่สัมผัสโรคใกล้ชิดผู้ป่วยเป็นเวลานาน เช่น สมาชิกในครัวเรือนเดียวกัน ร่วมห้องนอนเดียวกัน เด็กที่อยู่ในสถานเลี้ยงเด็กห้องเรียนเดียวกับผู้ป่วย ทหารในค่ายเดียวกัน

  • โดยการกินยาต้านจุลชีพ ใช้กับผู้สัมผัสโรคตามข้อบ่งชี้ข้างต้น โดยแพทย์มักจะเลือกกลุ่ม rifampicin หรือ ciprofloxacin ซึ่งคนทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับการป้องกัน นอกจากจะเดินทางเข้าไปในเขตที่มีการระบาดเป็นประจำ ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องโรคไข้กาฬหลังแอ่น
  • การฉีดวัคซีน ใช้ในกรณีที่คนที่จะเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคเป็นประจำ เช่น ประเทศแถบแอฟริกาบางประเทศ หรือ ให้วัคซีนแก่ประชาชนที่อยู่เขตระบาดซึ่งทราบสายพันธุ์ (serogroup) ของเชื้อซึ่งระบาดอยู่ก่อน เพราะวัคซีนจะป้องกันได้เพียงบางสายพันธุ์เท่านั้น

ดังนั้นการใช้วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น จะได้ผลในบางพื้นที่ที่ทราบถึงสายพันธุ์ของเชื้อแล้วเท่านั้น ผู้ที่จะเดินทางเข้าไปในเขตที่มีโรคชุกชุม อาจติดต่อขอรับวัคซีนได้ที่หน่วยงานของสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

ซึ่งวัคซีนป้องกันไข้กาฬหลังแอ่นที่มีใช้ในประเทศไทย เป็นชนิดที่สามารถป้องกันได้ 4 สายพันธุ์คือ A, C, Y, W-135 โดยจะมี 2 ชนิดย่อยๆ คือ Conjugated tetravalent meningococcal vaccine (Menactra®) และ Polysaccraride tetravalent meningococcal vaccine (Menomune®), โดยภูมิคุ้มกันจะขึ้นหลังจากฉีดวัคซีนแล้วประมาณ 7-10 วัน และฉีด 1 ครั้งภูมิคุ้มกันจะอยู่ได้ 3-5 ปี

และเนื่องจากวัคซีนชนิดนี้ไม่ได้ฉีดให้คนไทยโดยทั่วไป จึงอาจหาได้ยาก และไม่มีในโรงพยาบาลทั่วไป ผู้ที่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนสามารถติดต่อได้ที่ คลินิกเวชศาสตร์ท่องเที่ยวและการเดินทาง โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน, สถานเสาวภา สภากาชาดไทย, สถาบันบำราศนราดูร กระทรวงสาธารณสุข

การป้องกันที่สำคัญและได้ผลดีกว่า

คือ ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น สมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วย และผู้สัมผัสใกล้ชิดในชุมชนสมควรได้รับยาเพื่อป้องกันการถ่ายทอดโรคไข้กาฬหลังแอ่น ซึ่งยาดังกล่าวมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกัน โดยไม่ขึ้นกับสายพันธุ์ของเชื้อ อย่างไรก็ตาม แพทย์จะสามารถให้คำปรึกษาแนะนำได้ว่า ผู้สัมผัสโรคสมควรได้รับยาป้องกันหรือไม่

อย่างไรก็ดีหากคุณพ่อคุณแม่หรือลูกน้อยมีอาการป่วยสงสัยว่าเป็นโรคไข้กาฬหลังแอ่น ควรรีบพบแพทย์ทันที สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.si.mahidol.ac.thwww.thaitravelclinic.com , haamor.com/th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up