โรคไข้กาฬหลังแอ่น

โรคไข้กาฬหลังแอ่น ระบาดหนักในรอบปี พบเด็กเล็กเสี่ยงที่สุด!

Alternative Textaccount_circle
event
โรคไข้กาฬหลังแอ่น
โรคไข้กาฬหลังแอ่น
โรคไข้กาฬหลังแอ่น
เครดิตภาพ: The South Australian Department of Health

โรคไข้กาฬหลังแอ่นคืออะไร?

โรคไข้กาฬหลังแอ่น คือ โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Meningococcal ที่มีชื่อเรียกว่า “Neisseria Meningitidis” ซึ่งการติดเชื้อของโรคดังกล่าวนั้น สามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะคือ

1. การติดเชื้อแบบธรรมดา

2. กรณีที่เชื้อแบ่งตัว

ซึ่งก็สามารถแบ่งออกเป็นการแบ่งตัวอย่างช้า ๆ ในกระแสเลือดกับการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วในกระแสเลือด

  • กรณีที่เชื้อแบ่งตัวอย่างช้า ๆ ในกระแสเลือด เชื้อจะเดินทางเข้าไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ ที่พบบ่อยคือ เยื่อหุ้มสมอง และที่พบได้เป็นส่วนน้อย คือ ข้อต่อต่าง ๆ และเยื่อหุ้มหัวใจ และทำให้เกิดรอยโรคที่บริเวณนั้น ๆ เช่น การติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบ Meningitis พบว่ามีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 3 จากลักษณะการติดเชื้อดังกล่าว
  • กรณีที่เชื้อเกิดการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วในกระแสเลือด ผู้ป่วยจะเกิดอาการของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และเชื้ออาจเข้าไปอยู่ที่เยื่อหุ้มสมอง ทำให้เกิดอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบร่วมด้วย อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 50 กรณีที่เชื้อมีการแบ่งตัวในกระแสเลือดอย่างรวดเร็วมาก จะส่งผลทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่รุนแรง

โรคไข้กาฬหลังแอ่น

การติดต่อไข้กาฬหลังแอ่น

โรคนี้จะเกิดเฉพาะจากคนสู่คน ไม่มีสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค การติดต่อเกิดโดยการหายใจเอาเชื้อแบคทีเรียที่กระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย หรือของผู้ที่เป็นพาหะ หรือการสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งเหล่านี้

แล้วนำมาสัมผัสกับเยื่อบุจมูก ตา หรือปากของเรา ผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วย หรืออาศัยอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้กาฬหลังแอ่นที่เกิดภาวะติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด จะมีโอกาสติดเชื้อจากผู้ป่วยมากกว่า 400 เท่าเมื่อเทียบกับคนทั่วไปๆที่ไม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย

ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง

  • คนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี

  • ผู้ที่ถูกตัดม้าม

  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

  • ผู้ที่จะเดินทางไปยังประเทศที่มีโรคนี้เป็นโรคประจำถิ่น ยกตัวอย่างเช่น ประเทศในแถบแอฟริกา เป็นต้น

อ่านต่อ >> “วิธีการป้องกันลูกน้อยจากโรคไข้กาฬหลังแอ่น” คลิกหน้า 3


เครดิต: กรมควบคุมโรค Siam Health และ Thai Labonline

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up