เผยพื้นที่เสี่ยงภัย 217 จุดในกทม. พ่อแม่รีบเช็คด่วน! บริเวณไม่ปลอดภัยกับลูกและตัวเอง

event

จุดเสี่ยง 217 จุด

ด้านนางสาววราภรณ์ แช่มสนิท แผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ กล่าวว่า เครือข่ายเมืองปลอดภัยเพื่อผู้หญิงได้ลงพื้นที่สำรวจสถานการณ์การคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะ ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ระหว่างเดือน ก.ย.-ต.ค. 2559 โดยสำรวจจากผู้หญิงที่อยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลนานกว่า 10 ปี จำนวน 1,500 คน พบว่า

ประเภทขนส่งสาธารณะที่ใช้บริการมากที่สุด คือ รถโดยสารประจำทาง รองลงมาเป็นมอเตอร์ไซค์รับจ้าง แท็กซี่ รถไฟฟ้า และรถสองแถว หรือรถตู้ ซึ่งพบว่ามากกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 36 ของผู้ตอบแบบสำรวจ เคยถูกคุกคามทางเพศขณะเดินทางหรือใช้บริการขนส่งสาธารณะ

ที่พบมากสุด ร้อยละ 26 คือพูดแซว พูดลามก รองลงมาคือการผิวปากใส่ ร้อยละ 18 ลวนลามด้วยสายตา ร้อยละ 18 แตะเนื้อต้องตัวหรือใช้อวัยวะถูไถ ร้อยละ 17 โชว์อวัยวะเพศหรือสำเร็จความใคร่ให้ดู ร้อยละ 7 สะกดรอยตาม ร้อยละ 7 และโชว์คลิปโป๊หรือแอบถ่าย ร้อยละ 6 แต่ที่น่าตกใจคือร้อยละ 1.6 ระบุว่าเคยถูกทำอนาจารหรือข่มขืน

แนวทางการป้องกันภัยคุกคามทางเพศ

  1. ก่อนจะไปที่ใดควรจะบอกให้พ่อแม่ ผู้ปกครองรับรู้ สถานที่ไป ไปกับใคร กลับเมื่อใด
  2. ไม่ควรไปคนเดียว ควรจะมีเพื่อนไปด้วย
  3. อย่าไว้ใจคนแปลกหน้า อย่าหลงเชื่อคารมแม้ว่าจะแสดงท่าทางเป็นมิตร
  4. หลีกเลี่ยงการแตะเนื้อต้องตัวหรือสัมผัสอวัยวะทักส่วน
  5. เมื่อเกิดปัญหาต้องหาทางแก้ โดยปรึกษาพ่อแม่ ครูหรือผู้ที่ไว้ใจได้
บทความแนะนำต้องอ่านสอนลูกให้รู้จัก พื้นที่ส่วนตัว ป้องกันถูกละเมิดทางเพศ

การใช้ทักษะในการป้องกันตนเองจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ

  • การใช้ทักษะปฏิเสธ เป็นทักษะที่ชายและหญิงสามารถนำมาเพื่อป้องกันตนเองให้มีความปลอดภัย เมื่อเห็นว่าสถานการณ์มีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมเสี่ยงเกิดขึ้น โดยวิธีปฏิเสธ ดังนี้

1. ปฏิเสธอย่างจริงจัง ทั้งท่าทาง คำพูดและน้ำเสียง เพื่อจะขอปฏิเสธอย่างชัดเจน
2. ใช้ความรู้สึกมาเป็นข้ออ้างประกอบเหตุผล
3. การเห็นชอบและแสดงความขอบคุณเมื่อผู้ชวนยอมรับจะเป็นการรักษาน้ำใจของผู้ชวน
4. ถ้าถูกเซ้าซี้หรือถูกสบประมาท ก็อย่าหวั่นไหวเพราะจะทำให้เสียสมาธิในการปฏิเสธ อาจบอกกล่าวเพื่อให้ออกจากสถานการณ์นั้นทันที

  • ทักษะในการต่อรอง เป็นวิธีการโน้มน้าวให้ชวนปฏิบัติสิ่งอื่นแทนสิ่งที่เราไม่ต้องการ และไม่เห็นด้วย
  • ทักษะในการผันผ่อน เป็นวิธีการผ่อนคลายหรือยืดเวลาเพื่อให้ผู้ชวนเปลี่ยนความตั้งใจ
  • ทักษะอื่นๆ เป็นพื้นฐานทั่งไปที่จะใช้ป้องกันตนเอง เช่น ไม่อยู่ในที่ลับตาคน หลีกเลี่ยงการไปไหนตามลำพังสองต่อสอง ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่แต่งตัวล่อแหลม  ไม่พูดจายั่วเย้า ท้าทายการใช้ทักษะต่างๆ ในชีวิตประจำวัน  ควรได้รับการฝึกฝนให้ติดตัวจนเป็นธรรมชาติ เมื่อเกิดเหตุการณ์หรือตกอยู่ในสถานการณ์ที่คับขันจะได้มีสติในการเลือกใช้ทักษะอย่างเหมาะสมกับเหตุการณ์

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.khaosod.co.th , sites.google.com , nwnt.prd.go.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up