ทารกหยุดหายใจ

ชมคลิป นาทีชีวิต! พยาบาลเร่งช่วยทารกเพิ่งคลอดหยุดหายใจ

Alternative Textaccount_circle
event
ทารกหยุดหายใจ
ทารกหยุดหายใจ

ทารกหยุดหายใจ …เป็นภาวะปัญหาสำคัญในทารกแรกเกิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทารกที่คลอดก่อนกำหนด ทั้งนี้ทารกที่คลอดก่อนกำหนดน้อยจะคลอดเมื่อ 35 หรือ 36 สัปดาห์ ส่วนใหญ่ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ทารกที่จะมีปัญหามาก ๆ หลังคลอดคือ คือ มีน้ำหนักตัวน้อยมาก หรืออาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขึ้นได้ เนื่องจากปอดยังทำงานได้ไม่เต็มที่นั้นเอง

ทารกหยุดหายใจ ภาวะอันตราย เกิดกับเด็กคลอดก่อนกำหนด

ภาวะหยุดหายใจ (apnea) ภาวะหยุดหายใจตามคำจำกัดความของ The American Academy of Pediatrics หมายถึง ภาวะที่มีการหยุดหายใจมากกว่า 20 วินาที หรือหยุดหายใจน้อยกว่า 20 วินาที แต่มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา ได้แก่ อัตราการเต้นของหัวใจช้า (น้อยกว่า 100 ครั้ง/นาที) และ/หรือ มีอาการเขียว ความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง การเกิดก่อนกำหนดเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเกิดภาวะหยุดหายใจ ทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีอายุครรภ์และน้ำหนักตัวยิ่งน้อย การเกิดภาวะหยุดหายใจจะยิ่งพบได้บ่อยขึ้น

ซึ่งภาวะนี้ต้องแยกจาก periodic breathing เพราะทารกจะมีอาการหยุดหายใจช่วงสั้นๆ 5 – 10 วินาที ตามด้วยการหายใจที่เร็วขึ้น สลับด้วยการหยุดหายใจ ระยะที่มีการหยุดหายใจจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นของหัวใจและสีผิว periodic breathing พบบ่อยในทารกเกิดก่อนกำหนดเช่นกัน โดยทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีอายุครรภ์ยิ่งน้อยจะพบ periodic breathing ได้บ่อย และพบน้อยลงเมื่ออายุครรภ์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะหลังอายุครรภ์ 36 สัปดาห์ จะพบได้น้อยลง (เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์, 2542)

ข้อควรรู้ : Periodic breathing (Cheyne – Stroke respiration) คือ การหายใจที่มีลักษณะเป็นช่วงๆ คือ หายใจเบาๆ น้อยๆ แล้วหายใจแรงขึ้น ๆ แล้วค่อยๆ ลดลงจนหยุด เกิดในคนที่เป็นโรคของสมอง หัวใจ

ภาวะหยุดหายใจในทารกเกิดก่อนกำหนด
ภาวะหยุดหายใจในทารกเกิดก่อนกำหนด

การแบ่งชนิดของภาวะหยุดหายใจ

การแบ่งชนิดของภาวะหยุดหายใจ แบ่งได้เป็น  2  แบบ ดังนี้

แบ่งชนิดตามการเคลื่อนไหวของทรวงอกหรือกระบังลม (respiratory effort) และอากาศที่ผ่านรูจมูก ซึ่งมีได้  3  แบบ คือ

  1. Central apnea  หมายถึง  apnea ที่เกิดจากการหยุดของสัญญาณประสาทจาก brain stem จะไม่มีการเคลื่อนไหวของทรวงอกหรือกระบังลม และไม่พบอากาศไหลผ่านรูจมูก มีสาเหตุมาจากความไม่สมบูรณ์ของระบบการควบคุมการหายใจ
  2. Obstructive apnea  หมายถึง apnea ที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน จะมีการเคลื่อนไหวผนังทรวงอก และกระบังลมของทารก แต่ไม่มีอากาศไหลผ่านรูจมูก ตำแหน่งที่อุดกั้นส่วนใหญ่เกิดบริเวณ pharynx โดยอาจเกิดจากการงอหรือเหยียดลำคอมากเกินไป
  3. Mixed apnea หมายถึง apnea ที่มีสาเหตุจาก  2  ชนิดแรก  โดย Central apnea อาจเกิดก่อนหรือตามหลัง obstructive apnea ทั้งนี้หากเกิด central apnea ขึ้นก่อนทำให้ออกซิเจนในเลือดลดลง มีผลทำให้การทำงาน hypoglossal  nerve  ซึ่งควบคุมการทำงานของ genioglossus ถูกกด ทำให้กล้ามเนื้อส่วนนี้ทำงานผิดปกติ คือ ไม่หดตัวทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนไม่เปิดกว้าง เกิด obstructive apnea ตามมา  ในกรณีที่เกิด obstructive apnea นำมาก่อน ก็มีผลทำให้ออกซิเจนในเลือดลดลง มีผลให้ศูนย์หายใจถูกกด เกิด central apnea ตามมา (เกรียงศักดิ์  จีระแพทย์, 2542)

การแบ่งชนิดตามสาเหตุ  ซึ่งมีได้  2  ชนิด คือ

  1. Apnea of prematurity  หมายถึง apnea ที่ไม่มีโรคหรือภาวะอื่นร่วมด้วย เกิดจากการเกิดก่อนกำหนด  ทำให้ระบบควบคุมการหายใจไม่สมบูรณ์  มักเกิดในทารกอายุครรภ์เท่ากับหรือน้อยกว่า 34 สัปดาห์  จะปรากฏภายใน 2 วันหลังคลอด พบน้อยมากที่จะเกิดในวันแรก  มักจะหายไปเมื่อทารกมีอายุหลังปฏิสนธิ 37 สัปดาห์
  2. Apnea ที่มีโรคหรือภาวะอื่นร่วมด้วย ได้แก่
    • การมีอุณหภูมิกายเพิ่มขึ้นหรือลดลงผิดปกติ
    • ภาวะติดเชื้อ
    • ภาวะที่มีออกซิเจนในเลือดลดลง เช่น เลือดจาง  เลือดมีปริมาณน้อย PDA
    • ความผิดปกติทาง metabolism เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ  ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ   ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำหรือสูง
    • ปัญหาทางระบบประสาท เช่น สมองบวม  เลือดออกในสมอง  ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดต่ำกว่า  threshold ที่จะกระตุ้นการหายใจ
    • ยาที่มารดาได้รับก่อนคลอด เช่น ยาระงับปวด  ยาระงับความรู้สึก
    • Gastroesophageal reflux  ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการที่ของเหลวในกระเพาะอาหารไหลขึ้นไปในหลอดอาหาร และผ่านลงไปในทางเดินหายใจบริเวณ larynx และ pharynx ซึ่งมี chemoreceptor  อยู่ ทำให้เกิด laryngospasm ภาวะนี้มักจะเกิดขึ้นทันทีหลังให้นม

อ่านต่อ >> “การป้องกัน การค้นหาสาเหตุ และการพยาบาล ช่วยชีวิตทารกหยุดหายใจหลังคลอด” คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up