ทารกหยุดหายใจ

ชมคลิป นาทีชีวิต! พยาบาลเร่งช่วยทารกเพิ่งคลอดหยุดหายใจ

Alternative Textaccount_circle
event
ทารกหยุดหายใจ
ทารกหยุดหายใจ

บทบาทของพยาบาล

พยาบาลที่ดูแลทารกแรกเกิดจะต้องมีความเข้าใจในเรื่องภาวะหยุดหายในใจทารกแรกเกิดดังเนื้อหาข้างต้น  เพื่อใช้ความรู้ทางทฤษฎีนำไปสู่การปฏิบัติ  ทั้งนี้จะขอจำแนกบทบาทของพยาบาลเกี่ยวกับภาวะหยุดหายใจในทารกแรกเกิดเป็นด้านๆ ทั้งการป้องกัน การค้นหาสาเหตุ และการพยาบาลช่วยชีวิต

การป้องกัน

  1. การเฝ้าระวังโดยการประเมินติดตามการหายใจและอัตราการเต้นของหัวใจอย่างใกล้ชิด  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีอายุครรภ์ และน้ำหนักน้อยมาก
  2. ป้องกันมิให้ทารกเกิดโรคหรือภาวะต่างๆ ที่เป็นสาเหตุของภาวะหยุดหายใจดังกล่าวแล้วข้างต้น
  3. จัดท่านอนของทารกไม่ให้ลำคองอหรือเหยียดเกินไป
  4. หลีกเลี่ยงการกระตุ้นบริเวณ posterior pharynx เช่น การใช้สายยางดูดเสมหะที่มีขนาดไม่เหมาะสม หรือดูดเสมหะลึกเกินไป
  5. หลีกเลี่ยงการให้ออกซิเจนที่มีอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไปบริเวณใบหน้า เพราะบริเวณใบหน้ามีประสาทสมองคู่ที่ 5 ที่ไวต่อทั้งความร้อนและความเย็น ทำให้มีการใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น นำไปสู่การเกิดภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำได้
  6. ในทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีอายุครรภ์หรือน้ำหนักน้อยมาก หลีกเลี่ยงการทำให้กระเพาะอาหารหรือลำไส้มีการขยายตัวทันทีทันใด การให้นมทางสายยางควรให้อย่างช้า โดยการหยดให้อย่างต่อเนื่อง

การพยาบาลเมื่อทารกมีภาวะหยุดหายใจ

เมื่อทารกหยุดหายใจ ให้กระตุ้นทารกโดยการลูบแขนขา หรือลำตัวเบาๆ  หากพบว่าทารกมีการสำรอกนมร่วมด้วย ให้ดูดนม หรือสารคัดหลั่งออกด้วย  หากทารกยังไม่หายใจ ให้ช่วยหายใจโดยใช้ bag และ mask และให้ออกซิเจนที่มีความเข้มข้นสูงกว่าที่ได้รับอยู่ร้อยละ 10  ถ้าอัตราการเต้นของหัวใจไม่เพิ่มขึ้นภายใน  30 วินาที หลังช่วยหายใจ  แพทย์จะพิจารณาใส่ท่อหลอดลมคอ และใช้เครื่องช่วยหายใจ  จากนั้นจะค้นหาสาเหตุที่ทำให้ทารกเกิดภาวะหยุดหายใจ  เพื่อให้การรักษาต่อไป

ภาวะหยุดหายใจในทารกแรกเกิด
ภาวะหยุดหายใจในทารกแรกเกิด

การค้นหาสาเหตุ ทารกหยุดหายใจ

เมื่อทารกมีภาวะหยุดหายใจ  พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการประเมินและรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อนำไปสู่การหาสาเหตุของการเกิดภาวะหยุดหายใจในทารกแรกเกิดของแพทย์  โดยข้อมูลที่พยาบาลประเมินจะเป็นข้อมูลที่ช่วยหาสาเหตุที่ไม่ได้เกิดจากการเกิดก่อนกำหนด

สาเหตุ

ข้อมูลที่ประเมินเพื่อหาสาเหตุ และกิจกรรม

การติดเชื้อ –   อาการทางคลินิกของการติดเชื้อ เช่น  ซึม  อุณหภูมิกายสูง หรือ
     ต่ำกว่าปกติ   ท้องอืด   สำรอกนม
–  เตรียมภาชนะ และช่วยแพทย์เจาะเลือดส่งตรวจ CBC, septic workup
อุณหภูมิกายต่ำหรือสูง – การปรับเพิ่ม / ลด อุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้ควบคุมอุณหภูมิกายทารกที่
ผิดปกติ   ไม่ถูกต้อง
–  ทารกมีการสูญเสียความร้อนออกจากร่างกายทางใดทางหนึ่ง
   ใน  4  ทางมาก
ระดับของออกซิเจนในเลือด –  อาการหายใจลำบาก เช่น ปีกจมูกบาน  มีการดึงรั้งของกระดูกซี่โครง
ต่ำ    เขียว
–  ประเมินติดตามระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด
–  ช่วยแพทย์เก็บตัวอย่างและติดตามผลก๊าซในเลือด  ความเข้มข้น
    ของเลือด    ภาพรังสีทรวงอก
ความผิดปกติทาง metabolism –  สังเกตอาการทางคลินิกของความผิดปกติทาง metabolism เช่น
     *น้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น ซึม เขียว มือเท้าสั่นระรัว
     *  ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ  เช่น    มือ   เท้า    สั่นกระตุก
         กำลังกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น   รีเฟล็กซ์ไว
     *  ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ เช่น น้ำหนักเพิ่มขึ้น  โดยไม่มี
          อาการบวม   ปัสสาวะออกน้อย
      *  ภาวะโซเดียมในเลือดสูง  เช่น  น้ำหนักลด  ความดันโลหิตต่ำ
          ปัสสาวะออกน้อย และความถ่วงจำเพาะสูงขึ้น
–  ช่วยแพทย์เก็บตัวอย่างและติดตามผลน้ำตาล  แคลเซียม และ
   โซเดียมในเลือด

การพยาบาลทารกที่มีภาวะหยุดหายใจหลังคลอด” คลิกหน้า 3

การพยาบาล ทารกหยุดหายใจ จากการเกิดก่อนกำหนด

การรักษาทารกที่มีภาวะหยุดหายใจจากการเกิดก่อนกำหนดมีขั้นตอน คือ  การรักษาด้วยยา  เพื่อกระตุ้นศูนย์หายใจ  หากการใช้ยาไม่ได้ผล จะให้การรักษาโดยใช้ความดันบวกในทางเดินหายใจอย่างต่อเนื่อง แต่หากทารกยังคงมีภาวะหยุดหายใจเป็นเวลานานและบ่อยครั้ง แม้จะได้รับการรักษาด้วยยาและ CPAP  แล้ว แพทย์จะให้การรักษาโดยใส่ท่อหลอดลมคอ และใช้เครื่องช่วยหายใจ

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up