แม่ท้องต้องตรวจอะไรบ้าง? ตั้งแต่ตั้งครรภ์ถึงการคลอดลูก

event

เมื่อรู้ตัวว่าท้อง การฝากครรภ์ เป็นสิ่งแรกที่คุณแม่ต้องนึกถึงและถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก แล้ว แม่ท้องต้องตรวจอะไรบ้าง คงเป็นเรื่องที่หลายคนอยากรู้  ทั้งนี้การพบแพทย์ในระหว่างการตั้งครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่และลูกน้อยได้ เพื่อให้ลูกที่คลอดออกมามีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์

 

และหากคุณพ่อไปพบแพทย์ที่ฝากครรภ์พร้อมกับคุณแม่ด้วย ก็จะช่วยให้การดูแลกันระหว่างการตั้งครรภ์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะคุณพ่อจะได้มีส่วนร่วมรับรู้วิธีการดูแลครรภ์และการตัดสินใจในเรื่องอื่น ๆ เช่น การเลือกวิธีคลอด โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะแนะนำขั้นตอนต่าง ๆ อย่างวิตามินที่ต้องรับประทาน การงดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การตรวจสุขภาพเป็นประจำ ฯลฯ อีกทั้งคำแนะนำของแพทย์ยังช่วยคลายปัญหาให้คุณแม่ได้อย่างเหมาะสม  เพราะฉะนั้นการฝากครรภ์จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

แม่ท้องต้องตรวจอะไรบ้าง ในขณะตั้งครรภ์จนคลอด

ตลอดการตั้งครรภ์ คุณแม่ท้องจะได้รับโอกาสให้ตรวจคัดกรอง และตรวจวินิจฉัยภาวะผิดปกติของทารกในครรภ์อยู่หลายอย่าง แม้ว่าคุณแม่บางคนอาจจะไม่ต้องตรวจทุกอย่าง แต่สำหรับคุณแม่หลายคน จะได้รับการแนะนำให้ตรวจทารกในครรภ์ ซึ่งอาจจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ พื้นที่ที่อาศัยอยู่ และความเสี่ยงต่าง ๆ ที่ทำให้คุณแม่มีแนวโน้มว่าจะมีลูกที่ความผิดปกติ ซึ่งการตรวจชนิดต่างๆ ระหว่างการตั้งครรภ์มีไว้เพื่อช่วยทำให้แน่ใจว่าทุกอย่างปกติทั้งแม่และลูกในท้อง ซึ่งหากมีสิ่งผิดปกติใดๆ เกิดขึ้น จะได้ตรวจพบโดยเร็ว และรักษาได้ทันท่วงที ทั้งนี้การตรวจบางอย่าง อาจฟังดูค่อนข้างซับซ้อน แต่นั่นเป็นการตรวจตามมาตรฐานสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน โดยมีการตรวจหลักๆ ดังนี้

1. การตรวจน้ำคร่ำ

แม่ท้องต้องตรวจอะไรบ้าง

การตรวจน้ำคร่ำจะทำในช่วงสัปดาห์ที่ 15-18 ของการตั้งครรภ์ เป็นการตรวจเพื่อดูว่าลูกของคุณมีกลุ่มอาการดาวน์หรือความผิดปกติทางโครโมโซมอื่นๆ หรือไม่ โดยการเจาะน้ำคร่ำจะใช้เวลาประมาณ 25 นาที และคาดว่าจะทราบผลภายใน 2 สัปดาห์ ซึ่งคุณแม่ควรจะต้องตรวจน้ำคร่ำโดยเฉพาะหากมีอายุเกินกว่า 35 ปีแล้ว เคยคลอดลูกที่มีความผิดปกติบางอย่าง หรือเครือญาติของคุณหรือสามีมีประวัติของความผิดปกติทางพันธุกรรม

นอกจากนี้ คุณแม่อาจต้องรับการตรวจน้ำคร่ำหากผลการตรวจเลือดหรือการตรวจอัลตร้าซาวนด์เพื่อวัดความหนาของน้ำที่สะสมบริเวณต้นคอทารกชี้ว่ามีโอกาสเสี่ยงสูง

โดยปกติ การเจาะน้ำคร่ำเป็นวิธีการตรวจที่ค่อนข้างปลอดภัย มีประโยชน์มากกว่าอันตรายที่อาจเกิดจากผลแทรกซ้อน แต่ก็มีความเสี่ยงอยู่บ้างพบว่า 1 ใน 200 ราย จะมีผลแทรกซ้อนหลังจากเจาะน้ำคร่ำซึ่งอาจส่งผลให้แท้งบุตรได้ ดังนั้น ควรพูดคุยกับสูติแพทย์ของคุณให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจนเสียก่อน ก่อนที่จะลงชื่อในหนังสือแสดงความยินยอม

อ่านต่อ >> “สิ่งที่แม่ท้องต้องตรวจในขณะตั้งครรภ์จนคลอด” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up