เจาะน้ำคร่ำ

เจาะน้ำคร่ำ คัดกรองแม่ตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง!

Alternative Textaccount_circle
event
เจาะน้ำคร่ำ
เจาะน้ำคร่ำ

การเจาะน้ำคร่ำ เป็นการเจาะเพื่อตรวจความผิดปกติของโครโมโซม แต่ก็สามารถ เจาะน้ำคร่ำ ได้เมื่อมีข้อบ่งชี้ เช่น เมื่อมีน้ำเดินก่อนกำหนดแพทย์จะเจาะน้ำคร่ำ เพื่อวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ หรือตรวจว่าปอดเด็กแข็งแรงเพียงพอหรือยัง

น้ำคร่ำคืออะไร

น้ำคร่ำก็คือของเหลว ใส สีเหลืองอ่อนที่อยู่ล้อมรอบทารกในครรภ์ ส่วนประกอบของน้ำคร่ำประกอบไปด้วยน้ำ 98% และสารต่างๆอีก 2% ซึ่งจะมีเซลล์ของทารกที่หลุดออกมาปนอยู่ด้วย เมื่อตั้งครรภ์ครบกำหนด (40 สัปดาห์) จะมีปริมาณของน้ำคร่ำประมาณ 1,000 ml. ที่ล้อมรอบทารกอยู่ น้ำคร่ำจะไหลเวียนโดยการเคลื่อนไหวตัวของทารกทุกๆ 3 ชั่วโมง

ประโยชน์ของน้ำคร่ำ

  • ป้องกันทารกจากการกระทบกระเทือน
  • ทารกเคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวกเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อและกระดูกให้แข็งแรง
  • ควบคุมอุณหภูมิที่แวดล้อมทารกให้คงที่
  • ป้องกันการสูญเสียความร้อนของทารก
  • เป็นแหล่งของน้ำที่ทารกกลืนเข้าไป

ความผิดปกติของปริมาณน้ำคร่ำ

  • การมีปริมาณน้ำคร่ำมากกว่าปกติจะเรียกว่า Polyhydraminos เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นบ่อยๆ สำหรับการตั้งครรภ์แฝด หรือ อาจเกิดจากความพิการแต่กำเนิดของทารกบางอย่าง เช่น Hydrocephalus
  • การมีปริมาณน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติจะเรียกว่า Oligohydraminos สภาวะดังกล่าวจะเป็นสาเหตุทำให้ทารกไม่เจริญเติบโตตามปกติ

ข้อบ่งชี้ในการตรวจ เจาะน้ำคร่ำ

การเจาะน้ำคร่ำเป็นการตรวจคัดกรองที่จะทำเฉพาะในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง ต่อความผิดปกติของทารกในครรภ์  ดังต่อไปนี้

  1. คุณแม่ตั้งครรภ์ มีอายุครบ 35 ปี หรือมากกว่าที่วันครบกำหนดคลอด
  2. เคยคลอดบุตรที่มีโครโมโซมผิดปกติ
  3. มีประวัติการแท้งซ้ำซาก
  4. ตรวจพบสารชีวเคมีในเลือดผิดปกติ
  5. ตรวจพบความพิการของทารกในครรภ์
  6. ตรวจพบเป็นคู่สมรสที่เสี่ยงต่อการมีบุตรเป็นโรคเลือดจากธาลัสซีเมีย
  7. เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติทางโครโมโซม เช่นโรค Down syndrome, cystic fibrosis
  8. เพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อในน้ำคร่ำ
  9. เพื่อประเมินความแรงของปอดของทารก
  10. ความผิดปกติของโครงสร้างของร่างกาย เช่น Spina bifida (การเปิดของสันหลัง กระดูกสันหลังไม่ปิด) และ Anencephaly (สภาวะที่สมองไม่สมบูรณ์ หรือไม่มีสมอง)

การตรวจน้ำคร่ำในการตั้งครรภ์ระยะใกล้คลอดสามารถใช้วินิจฉัยปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ เช่น ปัญหาของกลุ่มเลือด หรือ การติดเชื้อ  และยังช่วยบอกถึงความพร้อมของทารกว่าเติบโตเต็มที่ ปอดสมบูรณ์พอที่จะมีชีวิตอยู่ได้หรือไม่หากเกิดการคลอดก่อนกำหนด

อ่านวิธีการตรวจและผลข้างเคียงของการเจาะน้ำคร่ำ

พร้อมชมคลิปของจริง >> วิธีการตรวจเจาะน้ำคร่ำ แบบให้เห็นกันชัดๆ คลิกเลยค่ะ

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up