คนท้องยืนนานๆ

คนท้องยืนนานๆ กระทบลูกหรือไม่ เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง?

Alternative Textaccount_circle
event
คนท้องยืนนานๆ
คนท้องยืนนานๆ

คนท้องยืนนานๆ เสี่ยงเป็นโรคอะไรอีกได้บ้าง?

แม้ว่าคนท้องจะไม่ใช่คนป่วย แต่ขณะตั้งครรภ์ก็เป็นช่วงเวลาที่ควรระมัดระวังในทุกการกระทำ แต่ไม่ถึงกับต้องนอนอยู่บนเตียงได้อย่างเดียวโดยจะทำอะไรไม่ได้เลยนะคะ (เว้นแต่มีภาวะที่แพทย์สั่งให้นอนติดเตียง) แม่ท้องยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ทำงานได้เหมือนกับที่เคยทำมา หรือแม้กระทั่งการออกกำลังกายเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ยังทำได้ค่ะ แต่การยืนนาน ๆ เป็นชั่วโมง ๆ กลับไม่ใช่สิ่งที่แม่ท้องทำได้ค่ะ เพราะการยืนนาน อาจส่งผลกระทบดังต่อไปนี้

1. เป็นสาเหตุให้แม่ท้องปวดหลัง

50-70% ของแม่ท้องทุกคนมักจะประสบกับปัญหาอาการปวดหลัง เนื่องจากการแบกรับน้ำหนักที่มากขึ้นและจุดศูนย์ถ่วงของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปขณะตั้งครรภ์ แต่ในแม่ท้องที่ยืนนานๆ อาจมีโอกาสที่จะปวดหลังได้สูงกว่าแม่ท้องที่ไม่ได้ยืนนาน

คนท้องยืนทำงานนาน ๆ
อาการปวดหลังในแม่ท้อง จากการยืนนาน ๆ

2. อาจเป็นสาเหตุของภาวะความดันในเลือดสูง

ภาวะความดันในเลือดสูงเป็นสิ่งที่อันตรายกับทุก ๆ คน แต่สำหรับแม่ท้องที่มีภาวะความดันในเลือดสูงมีความอันตรายมากกว่านั้น เพราะอาจหมายถึงภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งเป็นภาวะที่คร่าชีวิตหญิงตั้งครรภ์ได้ ดังนั้นการยืนนานๆ สามารถไปกระตุ้นให้เกิดภาวะความดันในเลือดสูงขณะตั้งครรภ์ได้

3. เป็นสาเหตุให้แม่ท้องปวดบริเวณหัวเหน่า

ในขณะตั้งครรภ์ แม่ท้องบางคนจะมีอาการปวดบริเวณหัวเหน่าเป็นอย่างมาก ซึ่งเกิดจากภาวะแนวประสานกระดูกหัวเหน่ามีความผิดปกติ (Symphysis Pubis Dysfunction) โดยภาวะนี้นั้น สาเหตุเกิดจาก ฮอร์โมน relaxin ในช่วงใกล้คลอด ทำให้อุ้งเชิงกราน และกระดูกหัวเหน่าหลวมขึ้น เป็นเพราะร่างกายเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด แต่ในแม่ท้องบางคนที่เกิดการแยกของกระดูกมากไป ซึ่งเป็นเพราะการยืนนานจนเกินไป จะทำให้เกิดอาการปวดมากจนทนแทบไม่ไหว

คนท้องยืนนานๆ

4. เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะบวมน้ำได้

อาการมือบวม เท้าบวมในแม่ท้อง มีสาเหตุมาจากการขยายตัวของมดลูกขณะตั้งครรภ์ ได้ไปกดทับหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลือง ซึ่งจะต้องไหลเวียนย้อนกลับไปที่หัวใจ ทำหน้าที่ได้ไม่เต็มที่ ทำให้เลือดเกิดการคลั่งอยู่บริเวณส่วนล่างของร่างกาย ซึ่งการยืนนานๆ สามารถทำให้การไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองทำงานติดขัดได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ภาวะบวมน้ำยังเกิดได้จาก ภาวะฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้นขณะตั้งครรภ์ ส่งผลให้เนื้อเยื่อต่าง ๆ มีการดูดซึมน้ำ และ กักเก็บน้ำได้มากกว่าปกติ อีกด้วย

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ ควรทำอย่างไร เมื่อต้องยืนนาน ๆ ขณะตั้งครรภ์

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up