แท้ง

แท้ง….แล้วอยากท้องต่อต้องดูแลตัวเองอย่างไร?

Alternative Textaccount_circle
event
แท้ง
แท้ง

ไม่มีผู้หญิงคนไหนที่อยากเจอเหตุการณ์การแท้งบุตรหรอกค่ะ แต่เมื่อการ แท้ง เกิดขึ้นแล้ว ความเสียใจก็มักจะเกิดขึ้นเป็นเรื่องธรรมดา แต่เมื่อเวลาผ่านไป แม่ๆ ทุกคนก็ต้องเก็บอดีตไว้เป็นบทเรียน แล้วก้าวต่อไป แม่หลายๆ คน เลือกที่จะท้องต่อ แต่ก็มักจะมีคำถามเกิดขึ้นว่า หลังจาก แท้ง แล้วต้องรออีกนานแค่ไหนถึงจะปล่อยท้องได้อีกครั้ง? ท้องครั้งต่อไปลูกในท้องจะแข็งแรงหรือไม่? และควรดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อต้องการท้องอีกครั้ง? มาดูวิธีดูแลตัวเองให้พร้อมกันดีกว่าค่ะ

 

แท้ง….แล้วอยากท้องต่อต้องดูแลตัวเองอย่างไร?

การแท้งบุตรคืออะไร?

แท้ง (Miscarriage) เป็นการสูญเสียตัวอ่อนภายในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติหรือไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น วิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาเผยว่ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของการแท้งเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ 3 เดือนแรก โดย 50-75 เปอร์เซ็นต์ แท้ง ในช่วงก่อนที่ประจำเดือนจะหยุดไปหรือยังไม่ทันที่จะรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ด้วยซ้ำ ทั้งนี้การแท้งเป็นเรื่องปกติที่หลายคนสามารถเผชิญได้ เพียงแต่สำหรับคนที่เป็นพ่อแม่นั้นก็อาจยากที่จะทำใจยอมรับการสูญเสียที่เกิดขึ้น

 

สาเหตุการแท้ง

แท้ง ในช่วงไตรมาสแรก

โครโมโซมทารกผิดปกติ เป็นสาเหตุของการแท้งในช่วง 3 เดือนแรกที่พบได้บ่อยที่สุด โดยโครโมโซมนี้เป็นการจัดเรียงตัวกันของดีเอ็นเอ ซึ่งจะควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ตั้งแต่พัฒนาการของเซลล์ในร่างกาย หรือแม้แต่สีตาของทารก

ความผิดปกติที่เกิดขึ้นอาจเป็นการมีจำนวนโครโมโซมมากเกินปกติหรือมีจำนวนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ทารกไม่สามารถพัฒนาได้อย่างปกติและมีการแท้งเกิดขึ้นได้ในที่สุด ซึ่งการแท้งจากโครโมโซมที่ผิดปกติในช่วงแรกของการตั้งครรภ์นี้มีอัตราถึง 2 ใน 3 แต่ก็มีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะเกิดการแท้งจากสาเหตุนี้ขึ้นอีกครั้ง ส่วนสาเหตุความผิดปกติของโครโมโซมที่เกิดขึ้นนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด และส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากปัญหาในโครโมโซมของบิดาหรือมารดาแต่อย่างใด

ปัญหาจากรก รกมีหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างมารดากับทารกเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงทารกในครรภ์ ดังนั้นปัญหาที่ส่งผลต่อการพัฒนาของรกจึงสามารถนำไปสู่การแท้งบุตรได้เช่นกัน

ปัจจัยเสี่ยงจากมารดา

  • โรคอ้วน
  • การสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์
  • การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินควร
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อวัน โดยในชา 1 แก้วจะมีคาเฟอีนประมาณ 75 มิลลิกรัม ส่วนในกาแฟสำเร็จรูปมักมีคาเฟอีน 100 มิลลิกรัมต่อแก้ว นอกจากนี้คาเฟอีนยังพบได้ในในเครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มที่มีรสซ่า รวมถึงช็อกโกแล็ตแท่งได้เช่นกัน
  • การใช้สารเสพติดระหว่างตั้งครรภ์
  • อายุที่มากเกินขณะตั้งครรภ์ ทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ที่ทารกมีโครโมโซมผิดปกติ โดยหญิงตั้งครรภ์อายุ 40 ปี มีความเสี่ยงกว่าหญิงอายุ 20 ปีเป็น 2 เท่า และความเสี่ยงนี้ยิ่งจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป
  • มีประวัติการแท้งบุตรมาก่อน หญิงที่เคยแท้งตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปจะยิ่งมีโอกาสเสี่ยงแท้งบุตรอีกครั้ง

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up