ไวท์ดอท มีกี่แบบ

ทำความรู้จัก ไวท์ดอท มีกี่แบบ จุดขาวที่หัวนมต้องทำไง

Alternative Textaccount_circle
event
ไวท์ดอท มีกี่แบบ
ไวท์ดอท มีกี่แบบ

ไวท์ดอท มีกี่แบบ มาทำความรู้จักกับภาวะจุดขาวที่หัวนมของคุณแม่ที่ให้นมลูกกัน แบบไหนที่ใช่ไวท์ดอท อันตรายไหม รักษาอย่างไร แม่รู้ไว้คลายกังวล

ทำความรู้จักไวท์ดอท มีกี่แบบ จุดขาวที่หัวนมต้องทำไง??

จุดขาวที่หัวนม เรื่องกังวลใจของแม่ ๆ ให้นมลูก เมื่อพบจุดขาวที่หัวนม แต่ไม่ได้รู้สึกเจ็บ ก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่หากมีพบจุดขาวที่หัวนมร่วมกับอาการคัดตึงเต้านม เจ็บขณะให้นมลูก หรือปั๊มนม เวลาบีบ หรือปั๊มน้ำนมออกมาได้น้อย และอีกหลายอาการที่ทำให้แม่คงเริ่มเป็นกังวล แถมบางคนเจ็บปวดทรมานไม่น้อย เรามาดูกันว่าหากคุณพบปัญหาแบบนี้ กำลังเกิดอะไรขึ้นกันนะ

ไวท์ดอท (White dot)

คือ ตุ่มขาวเล็ก ๆ คล้ายหัวสิวที่เกิดขึ้นบริเวณหัวนม บางครั้งอาจมีลักษณะเป็นตุ่มพอง (Milk blister หรือ Bleb) ปกติแล้วจะพบในผู้หญิงให้นมลูก แต่ก็สามารถพบในช่วงเวลาอื่น ๆ ได้เช่นกัน เช่น ช่วงเป็นประจำเดือน ช่วงวัยหมดประจำเดือน ช่วงที่รับประทานยาคุมกำเนิด

โดยทั่วไป ไวท์ดอทเกิดจากเนื้อเยื่อ ตะกอนน้ำนม และคราบไขมันสะสม อุดตันบริเวณท่อน้ำนม ทำให้ท่อน้ำนมอุดตัน ( Plugged duct) จนมีน้ำนมคั่งค้างอยู่ในเต้านมและไม่ไหลออกมาตามปกติ อาจส่งผลให้น้ำนมไหลได้น้อยลง และรู้สึกคัดตึงเต้านม มีก้อนแข็งเป็นไตที่เต้านม ผู้หญิงบางคนที่มีไวท์ดอทอาจไม่รู้สึกเจ็บเต้านม เพียงแต่จะสังเกตเห็นไวท์ดอทที่ขึ้นบริเวณรอบ ๆ หัวนมเท่านั้น แต่บางคนก็อาจรู้สึกคัดตึงเต้านม เจ็บขณะให้นมลูกหรือปั๊มนม เมื่อบีบหรือปั๊มน้ำนมอาจมีน้ำนมไหลออกมาน้อย ทั้งยังทำให้ทารกดูดนมไม่ออกด้วย หากปล่อยไว้นานเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะเต้านมอักเสบ (Mastitis)

ไวท์ดอท มีกี่แบบ ปัญหาของแม่ให้นม
ไวท์ดอท มีกี่แบบ ปัญหาของแม่ให้นม

ไวท์ดอท มีกี่แบบ  อาการอย่างไร??

อาการเริ่มแรกของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน บางคนไม่มีอาการใด ๆ เพียงแค่เกิดเป็นจุดขาว ๆ บนหน้าหัวนม อาจมีขนาดเล็ก และใหญ่แตกต่างกันกัน แต่ตำแหน่งที่เป็น คือ ส่วนท่อใหญ่ (ท่อน้ำนม) เป็นจุดที่สามารถโยงไปหาตำแหน่งของก้อนที่อุดตันในเต้านมได้ และเมื่อเป็นอาการนี้แล้วจะกระทบร่างกายไปทั้งระบบ โดยส่วนมากอาการก่อนเกิด white dot มักจะมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งในนี้

  • เจ็บหัวนม มีความรู้สึกเจ็บหัวนมเหมือนเวลาเป็นสิวหัวช้างที่หัวไม่โผล่ เวลาเอามือไปจับจะเจ็บ ๆ คัน ๆ
  • มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว เหมือนจะเป็นไข้ บางทีก็รู้สึกหนาวขึ้นมาเฉย ๆ
  • รับรู้ได้ว่าน้ำนมบีบไม่ค่อยออก เนื้อนมเป็นฝืด ๆ เหนียว ๆ บีบหรือปั๊มได้ยาก ใช้เวลานานกว่าเดิม ต้องรอจนน้ำนมถูกบีบออกก่อน white dot ถึงจะโผล่ออกมาให้เห็น

เมื่อเกิดอาการไวท์ดอทมักจะนำพาไปสู่ 3 ภาวะสำคัญ ต่อไปนี้

ท่อน้ำนมอุดตัน (Plugged duct)

ท่อน้ำนมอุดตันเกิดจากการที่มีน้ำนมคั่งค้างอยู่ภายในเต้า โดยสาเหตุที่พบได้บ่อย เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าหรือชุดชั้นในที่รัดหน้าอกแน่นจนเกินไป การให้นมลูกบ่อยเกินไป การเว้นช่วงเวลาให้นมลูกแต่ละครั้งนานเกินไป การให้ลูกดื่มนมข้างใดข้างหนึ่งมากกว่าอีกข้าง การให้ลูกดื่มนมด้วยท่าใดท่าหนึ่งมากเกินไป หรืออาจเป็นผลจากการดูดนมของลูก เป็นต้น นอกจากนี้ ท่อน้ำนมอุดตันยังพบได้มากในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงบางอย่าง เช่น ผู้ที่เครียดหรือมีอาการเหนื่อยล้าบ่อย ๆ ผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอ และผู้ที่มีภาวะโลหิตจาง เป็นต้น

สรุปคือ เมื่อน้ำนมระบายออกไม่ได้มันจึงเจ็บ และปวด เกิดไวท์ดอท จนกลายเป็นท่อน้ำนมอุดตัน วิธีดูแลตัวเองเมื่อเกิดภาวะท่อน้ำนมอุดตัน

  1. หมั่นให้ลูกดื่มนมบ่อย ๆ เพื่อป้องกันน้ำนมคั่งค้างในเต้า โดยเน้นให้ลูกดื่มนมข้างที่เกิดอาการก่อน และหากลูกดื่มนมไม่หมดเต้า ให้ใช้เครื่องปั๊มนมช่วยหรือนวดนมเพื่อระบายน้ำนมให้หมดเต้า
  2. ประคบเต้านมข้างที่เกิดอาการบ่อย ๆ ด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น
  3. นวดเต้านมข้างที่เกิดอาการเบา ๆ โดยนวดจากบริเวณฐานเต้านมไปยังบริเวณหัวนม โดยเฉพาะในช่วงก่อนให้นมลูก
  4. ลองเปลี่ยนท่าให้นมหลาย ๆ ท่า
  5. หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้า ชุดชั้นใน หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่รัดหน้าอกแน่นจนเกินไป
  6. หากให้นมลูกเสร็จแล้วมีคราบนมติดอยู่บริเวณหัวนม ให้ใช้น้ำอุ่นล้างหัวนม
  7. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเสมอ
  8. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  9. รับประทานยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เพื่อบรรเทาอาการปวดและการอักเสบ หรือคุณแม่ที่มีภาวะท่อน้ำนมอุดตันบ่อย ๆ อาจลดความเสี่ยงด้วยการรับประทานอาหารเสริมที่ให้สารเลซิทิน (Lecithin) เพื่อช่วยลดความเหนียวของน้ำนม แต่ก่อนรับประทานยาหรืออาหารเสริมใด ๆ คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยต่อทั้งคุณแม่และทารก

หากพบว่าอาการจากภาวะท่อน้ำนมอุดตันไม่ดีขึ้นภายในเวลาประมาณ 2 วันหลังจากการดูแลตัวเองแล้ว ควรไปพบแพทย์ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอาการที่รุนแรงหรือภาวะเต้านมอักเสบ โดยเฉพาะคุณแม่ที่พบอาการปวดเรื้อรัง อ่อนเพลีย มีไข้ เต้านมแดงขึ้น หรือก้อนเนื้อในเต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้น

ภาวะเต้านมอักเสบ
ภาวะเต้านมอักเสบ จากการใส่ชุดชั้นในที่รัดเกิน

ภาวะเต้านมอักเสบ (Mastitis)

เต้านมอักเสบ (Mastitis) เป็นภาวะที่เนื้อเยื่อบริเวณเต้านมเกิดการบวมอักเสบ ส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ อย่างรู้สึกเจ็บหรือร้อนบริเวณเต้านม หรือเต้านมบวมแดง โดยภาวะนี้อาจเกิดขึ้นได้กับทั้งเพศชายและหญิง แต่ส่วนใหญ่จะพบได้ในผู้หญิงที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร โดยเฉพาะในช่วง 6–12 สัปดาห์แรกของการให้นม

เต้านมอักเสบเป็นภาวะที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือการอุดทันในท่อน้ำนม การรักษาส่วนใหญ่มักเป็นการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ในบางกรณีแพทย์อาจส่งตรวจเพิ่มเติมเนื่องจากอาการของภาวะเต้านมอักเสบอาจคล้ายคลึงกับสัญญาณเริ่มต้นของโรคมะเร็งเต้านมบางชนิด

ฝีเต้านม (Milk Blister)

คุณแม่บางคนโชคร้ายกว่านั้นหน่อยมันไม่ใช่แค่ตะกอนนมอุดตันอย่างเดียว แต่เป็นผิวหนังที่หนาขึ้นมาคลุมท่อนม ทำให้อุดตันง่ายกว่าเดิม บางคนโป่งออกมาเหมือน “ตาปลา” ที่เท้าเวลาเราเดินไกล ๆ แบบนี้เราเรียกว่า Milk Blister ฝีเต้านม

ฝีเต้านม เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อที่บริเวณเต้านม และกลายเป็นหนองจึงเกิดเป็นฝีขึ้น โดยอาการติดเชื้ออาจเกิดฝีหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับความรุนแรง หากกลายเป็นฝีเต้านมแปลว่าอาการติดเชื้ออยู่ในระดับรุนแรง และควรได้รับการรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้อง

อาการติดเชื้อที่บริเวณเต้านมสามารถพบได้ทั้งในผู้หญิงทั่วไปและในผู้หญิงที่ให้นมบุตร แต่จะพบในผู้หญิงที่ให้นมบุตรมากกว่า เนื่องจากเต้านมมีการสร้างน้ำนมขึ้น และในระหว่างนี้เองเต้านมจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย สาเหตุที่พบบ่อย คือการให้นมในท่าทางที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้เด็กงับลานนมได้ไม่ดี และเกิดแผลบริเวณเต้านมคุณแม่ ทำให้เชื้อบริเวณหัวนมเข้าไปในท่อน้ำนม และเกิดอาการติดเชื้อ

ในผู้หญิงทั่วไปที่ไม่ได้ให้นมบุตร การติดเชื้อมีหลายสาเหตุ ได้แก่ ความผิดปกติของท่อน้ำนม ท่อน้ำนมอักเสบเรื้อรัง ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ แต่พบได้น้อยกว่าผู้หญิงที่ให้นมบุตร

 

อ่านต่อ>> 3 อย่า กับวิธีรักษาเมื่อเกิดไวท์ดอท คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up