โรคติดต่อทางพันธุกรรม

11 โรคติดต่อทางพันธุกรรม จากพ่อแม่สู่ลูกและวิธีป้องกัน

Alternative Textaccount_circle
event
โรคติดต่อทางพันธุกรรม
โรคติดต่อทางพันธุกรรม

โรคเบาหวาน

7. โรคเบาหวาน (diabetes)

โรคเบาหวาน คือ โรคที่มีความเกี่ยวข้องกับ ระบบการเผาผลานพลังงาน ที่ไม่สามารถ ทำงานได้อย่างปรกติ เหมือนกับคนปรกติทั่วไป โรคเบาหวาน ถือเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดมาจาก การที่ตับอ่อนมีความผิดปรกติ จนไม่สามารถผลิต หรือหลั่งฮอร์โมน “อินซูลิน” ได้อย่างเพียงพอ ที่จะใช้ในกระบวนการ เปลี่ยนน้ำตาล จากอาหารที่เรา รับประทานเข้าไป จำพวก แป้ง ไขมัน โปรตีน เพื่อใช้เป็นพลังงาน ในการเคลื่อนไหว หรือทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน จนทำให้เกิดภาวะระดับน้ำตาล ในเลือดสูงกว่าปรกติ

Must readเป็นเบาหวานแล้วตั้งครรภ์ อันตรายแค่ไหน?
Must read : รู้หรือไม่? เด็กทารกก็เป็นโรคเบาหวานได้!

8. ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome)

เป็นความผิดปกติของโครโมโซม เด็กกลุ่มอาการดาวน์จะมีศีรษะค่อนข้างเล็ก แบน และตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน ปากเล็ก ลิ้นมักยื่นออกมา ตัวค่อนข้างเตี้ย มือสั้น มักมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือโรคลำไส้อุดตันตั้งแต่แรกเกิด และภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่องและปัญหาหลักคือ ภาวะปัญญาอ่อน มักพบในเด็กที่แม่ตั้งครรภ์เมื่ออายุเกิน 35 ปี

Must read : 4 ทางเลือกในการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม แบบไหนดีที่สุด?
Must read : ดาวน์ซินโดรม รู้ล่วงหน้า..หยุดความเสี่ยงได้ตั้งแต่ลูกอยู่ในครรภ์

9. ตาบอดสี (Color Blindness)

ตาบอดสี เป็นภาวะหรือบางคนเรียกว่าเป็นโรค ที่ตามองเห็นสีบางสีผิดไปจากคนปกติ ไม่ใช่ไม่เห็นสี เช่น คนตาบอดสีแดง ไม่ใช่ว่าเขาจะไม่เห็นสีแดงของวัตถุเลย เพียงแต่เขาอาจเห็นวัตถุนั้นเป็นสีเทา และเนื่อง จากเขาถูกสอนตั้งแต่เด็กว่าวัตถุนั้นสีแดง (ทั้งๆที่เขาเห็นเป็นสีเทา) คนตาบอดสีแดงจึงบอกสีแดงได้ถูกต้อง เมื่อรับการตรวจวินิจฉัยว่าตาบอดสีแดง จึงไม่ยอมรับ เพราะเขาก็บอกได้ว่า นั่นเป็นสีแดง ซึ่งความสามารถในการเห็น และการแยกความแตกต่างของสีต่างๆ นอกจากเกิดจากความปกติของเซลล์รับรู้การเห็นสี (Photo receptor cell) แล้ว ยังต้องอาศัยประสบการณ์เรียนรู้ด้วย
ตาบอดสี เป็นภาวะพบได้บ่อยภาวะหนึ่ง พบได้บ่อยกว่าในผู้ชาย โดยในผู้ ชายพบภาวะนี้ได้ประมาณ 8% ของประชากรทั้งหมด แต่พบในผู้หญิงได้เพียงประมาณ 0.4%
Must read : เช็คตาบอดสีในเด็กเล็ก

10. โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia)

เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ปัจจัยการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ทำให้มีอาการเลือดออกง่าย หยุดยาก และจะมีเลือดออกตามข้อ ร่างกายจะมีรอยเขียวช้ำเป็นจ้ำๆ

11. ภาวะพร่องเอนไซม์ จี- 6- พีดี (G6PD deficiency)

เด็กที่เป็นโรคนี้จะตัวเหลืองมากกว่าปกติ และเมื่อได้รับสารบางอย่างจะทำให้เส้นเลือดแดงแตก ซึ่งเกิดจากภาวะเม็ดเลือดแดงแตกเนื่องจากมีปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดออกซิเดทิฟ (Oxidative stress) เช่น ภาวะติดเชื้อต่างๆ การได้รับยา หรือสารเคมีบางชนิด โดยในคนปกติมีเอนไซม์จีซิกพีดีเพียงพอ แม้มีภาวะเครียดออกซิเดทิฟก็สามารถสร้างสารที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแข็งแรงได้เพียงพอ แต่ผู้ที่ขาดเอนไซม์จีซิกพีดีไม่สามารถสร้างสารดังกล่าวได้เพียงพอ เม็ดเลือดแดงจึงแตกได้ง่าย

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เม็ดเลือดแดงของผู้ที่ขาดเอนไซม์จีซิกพีดีแตกง่าย คือ

1. จากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัส หรือการติดเชื้ออื่นๆ

2. จากยา และสารเคมี บางชนิด

ยาบางชนิดที่ใช้รักษาโรคมาลาเรีย เช่น ไพรมาควีน (Primaquine) พามาควีน (Pamaquine)
ยาปฏิชีวนะ กลุ่มซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamide) แดปโซน (Dapsone)/ยารักษาโรคผิวหนังบางชนิด และโรคเรื้อน
ไนโตรฟูแรนโตอิน (Nitrofurantoin) ยารักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ยาลดไข้ ยาแก้ปวด บางชนิด เช่น อะเซตานิไลด์ (Acetanilide) แอสไพริน หรือพาราเซตามอล (Paracetamol) ก็อาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้
ยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น กรดนาลิดิสิก (Nalidixic acid) โคไตรมอกซาโซล หรือแบคทริม (Cotrimoxazole/ Bactrim)

3. สารต่างๆ เช่น แนฟธาลีน/Napthalene (ลูกเหม็นที่ใช้อบผ้า กันแมลง)

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

√ การป้องกัน โรคติดต่อทางพันธุกรรม

โรคทางพันธุกรรม ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากจะติดตัวไปตลอดชีวิต ทำได้แต่เพียงบรรเทาอาการไม่ให้เกิดขึ้นมากเท่านั้น ดังนั้นการป้องกัน โรคติดต่อทางพันธุกรรม ที่ดีที่สุด คือ ก่อนแต่งงาน รวมทั้งก่อนมีบุตร คู่สมรสควรตรวจร่างกาย กรองสภาพทางพันธุกรรมเสียก่อน เพื่อทราบระดับเสี่ยง อีกทั้งโรคทางพันธุกรรม บางโรค สามารถตรวจพบได้ในช่วงก่อนตั้งครรภ์ จึงเป็นทางหนึ่งที่จะช่วยให้ทารกที่จะเกิดมา มีความเสี่ยงในการเป็นโรคทางพันธุกรรมน้อยลง

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณภาพและที่มาจาก Sunny Fun Days , sites.google.com

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up