8 วิธี สร้างวินัยเชิงบวก ง่ายๆ ป้องกันลูกดื้อ เริ่มได้ตั้งแต่ 1 ขวบ

event

 สร้าง EF วินัยเชิงบวก ง่ายๆ หนูทำได้ตามวัย!

สมองของมนุษย์พัฒนาตั้งแต่วัยเด็ก สังเกตง่าย ๆ เวลาที่คุณพ่อคุณแม่เล่นกับลูก 6 เดือน หากเราเอาผ้าคลุมของเล่นไว้เขาจะเข้าใจว่าของเล่นชิ้นนั้นหายไป จนเมื่อลูกอายุ 7 – 9 เดือน เขาจึงจะเริ่มเปิดหาของเล่นที่ซ่อนไว้ใต้ผ้าหมายความว่าสมองส่วนหน้าของเขาได้เกิดการพัฒนาแล้วเมื่อเด็กอายุมากกว่า 1 ขวบก็จะพัฒนามากขึ้นอีก โดยสังเกตจากการทดลองเมื่อเรามีผ้าคลุม 2 ผืน แต่มีของเล่นซ่อนอยู่ใต้ผ้าคลุมเพียงผืนเดียว หากเป็นวัยทารกเขาจะเปิดหาแต่ผ้าคลุมผืนเดิม จนกระทั่งเขาอายุมากกว่า 1 ขวบจึงจะเปิดหาผ้าคลุมทั้งสองผืน

ซึ่งการจะทำเช่นนี้ได้ต้องเกิดจากการใช้ทักษะหลายด้าน เช่น การจดจำว่าของเล่นไม่ได้ซ่อนอยู่ตำแหน่งเดิม(Working Memory) จึงต้องหยุดความคิดเดิม (Inhibit) และเปลี่ยนไปหาที่ผ้าคลุมผืนใหม่ (Shift) แม้จะเป็นเรื่องง่าย ๆ แต่ก็เป็นสัญญาณว่าสมองส่วนหน้าของลูกน้อยเริ่มมีพัฒนาการตั้งแต่ยังเล็ก และควรมีพัฒนาการต่อเนื่องอย่างเหมาะสมตามวัย ดังนี้

ฟังเสวนา อ.ปนัดดา

ป้องกันลูกดื้อ ด้วย 8 วิธี สร้างวินัยเชิงบวก ง่ายๆ 

1-2 ขวบ : ควรจำ

(1)Working Memory หรือ ความจำขณะทำงานของเด็กน้อย จะเริ่มพัฒนาไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่ 1 ขวบ โดยเริ่มจากสามารถจดจำของเล่นของตัวเองได้ ทำให้รู้จักหาเมื่อของเล่นหายไป และมีความสามารถในการจดจำคนในครอบครัว จึงแยกแยะคนในครอบครัวออกจากคนแปลกหน้าได้ ด้วยเหตุนี้เด็กน้อยอายุประมาณ 1 ขวบจึงมีอาการ SeparationAnxiety หรือร้องงอแงเมื่อเจอคนแปลกหน้า แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลหรือต่อว่าลูกนะคะ เพราะเมื่อเขาโตขึ้น อาการนี้จะค่อย ๆ หายไปเอง

3 ขวบ : ยับยั้ง

เด็กอายุประมาณ 3 ขวบ (2)ควรยับยั้งตัวเอง หรือ Inhibit โดยไม่ต้องมีใครสั่งได้บ้างแล้ว เด็กควรรู้เรื่องพื้นฐานว่าสิ่งใดควรทำ หรือสิ่งใดไม่ควรทำ แม้จะอยากวิ่งเล่น แต่หากเป็นเวลามื้ออาหาร เขาควรหยุดความอยากวิ่งเล่นของตัวเองและนั่งลงกินข้าวจนเสร็จได้ หรือสามารถหยุดอารมณ์โกรธเมื่อทะเลาะกับเพื่อน หยุดอารมณ์เศร้าเสียใจเมื่อคุณพ่อคุณแม่พามาส่งที่โรงเรียนได้ หรือมีความอดทนรอคอยในการเข้าแถวรอคิวอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยซึ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็กที่จะเข้าเรียนชั้นอนุบาล เพราะหากเขาขาดการหยุดตัวเองอาจทำให้เขาเข้าสังคมได้ยาก นั่งเรียนกับเพื่อนไม่ได้ หรือกลายเป็นเด็กที่ไม่มีระเบียบวินัยนั่นเอง

4 ขวบ : ต้องเปลี่ยน

เมื่อเด็กหยุดยับนั้งความคิดได้แล้ว ในวัย 4 ขวบ เขาจะสามารถพัฒนามาสู่ขั้น (3)Shift /Cognitive Flexibility หรือ เปลี่ยนความคิดได้ ซึ่งนำไปสู่การใช้ความคิดสร้างสรรค์หรือการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งใหม่ ๆ ตัวอย่างเช่น เมื่อเด็กเลิกคิดได้ว่าปากกาใช้สำหรับเขียน เขาจะสามารถคิดสร้างสรรค์ได้ว่าปากกาจะนำไปใช้สร้างสรรค์สิ่งใดได้อีกบ้าง เป็นการคิดนอกกรอบ คิดริเริ่ม คิดยืดหยุ่น คิดที่ไม่เป็นการจำกัดไอเดีย หรือเมื่อเขาหยุดเศร้าเสียใจที่ต้องแยกจากคุณพ่อคุณแม่ได้แล้ว เขาต้องเปลี่ยนมาสนใจกิจกรรมที่โรงเรียนและสนุกไปกับเพื่อน ๆ ได้ จึงจะทำให้เขาปรับตัวและใช้ชีวิตในรั้วโรงเรียนอย่างมีความสุข

5 ขวบ : ควบคุมอารมณ์ + วางแผนให้เป็น

เด็กวัย 5 ขวบมีความสามารถในการพัฒนาทักษะ EF เพิ่มได้ 2 อย่าง คือ (4)Emotional Control หรือควบคุมอารมณ์ เช่น เมื่อโกรธเพื่อนต้องไม่ทำร้ายเพื่อนเมื่อเศร้าเสียใจก็ร้องไห้ไม่นาน ไม่ว่าจะมีอารมณ์ความรู้สึกอย่างไร เขาจะสามารถคืนสู่สภาวะอารมณ์ปกติได้อย่างรวดเร็ว

และ (5)Plan / Organize หรือการวางแผนในเรื่องง่าย ๆ เช่น วางแผนสำหรับการบ้านให้เสร็จตรงตามเวลา หรือวางแผนทำงานศิลปะได้ด้วยตัวเองจนเสร็จภายในเวลาที่กำหนดจำได้ หยุดได้ เปลี่ยนความคิดได้ ควบคุมอารมณ์ได้ และวางแผนจัดการงานง่าย ๆ ให้สำเร็จได้ หรือ EF 5 ข้อที่เด็กเล็กควรมี ทั้งหมดนี้จะทำให้เขามีความพร้อมในการเรียนระดับสูงขึ้นไป เช่น ระดับชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา และมหา-วิทยาลัย ซึ่งภาระรับผิดชอบต่าง ๆ จะเยอะขึ้นเรื่อย ๆ ตามระดับชั้น เช่น มีวิชาเรียนมากขึ้น มีตารางเวลาเรียน มีการบ้าน มีงานกลุ่ม เด็กประถมที่ได้รับการฝึกทักษะ EF มาเป็นอย่างดีจะสามารถบริหารจัดการตัวเองได้ รู้ว่าเวลาไหนควรทำสิ่งใด งานหรือการบ้านต่าง ๆ จึงจะเสร็จ หรือต้องทบทวนบทเรียนอย่างไรจึงจะทำข้อสอบได้ความสำเร็จทางการเรียนจึงต้องใช้ทักษะ EF อย่างมาก

6 ขวบขึ้นไป : เพิ่มได้อีก 3 อย่าง

แม้ EF 5 ข้อข้างต้นจะช่วยให้เด็กมีศักยภาพทางการเรียนแล้ว แต่หากเพิ่มเติม EF ได้อีก 3 ข้อ ย่อมทำให้เขาพัฒนาความคิดไปได้ไกล และเข้าใกล้ความสำเร็จในชีวิตได้มากขึ้น ได้แก่ (6)Initiate หรือ การคิดริเริ่ม , (7)Self-Monitoring หรือ การประเมินตนเอง และ (8)Organize of Material หรือ การจัดการข้าวของ ทั้งหมดนี้จะทำให้เด็กมุ่งมั่นลงมือทำตามแผนที่วางไว้ รู้จักประเมินความสามารถของตนเองเพื่อให้เกิดการแก้ไขปรับปรุงให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป และช่วยให้เขาสามารถจัดการข้าวของรอบตัวได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นเด็กมีความรับผิดชอบโดยที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องเหนื่อยหรือกังวลใจมากนัก

สร้างวินัยเชิงบวก

ส่งเสริม EF เริ่มต้นอย่างไร?

วิธีส่งเสริมทักษะ EF จริง ๆ ไม่มีอะไรยุ่งยากซับซ้อน แค่ใช้หลักการง่าย ๆ 3 ข้อ ดังนี้

1. เด็กต้องมีพื้นฐานที่ดีก่อน หมายถึง พ่อแม่ต้องไม่ละทิ้งการเลี้ยงดูเด็กแบบปกติ ได้แก่ การให้ความรักความอบอุ่นให้อาหารที่เพียงพอ ที่อยู่อาศัยปลอดภัยหากเด็กไม่ได้รับสิ่งเหล่านี้ครบถ้วน เขาก็จะไม่พร้อมจะเรียนรู้เรื่องใด ๆ เพราะสุขภาพกายและใจเขาไม่แข็งแรงสมบูรณ์พอ

2. ให้เวลา เมื่อพ่อแม่ให้ปัจจัยสี่แก่ลูกน้อยอย่างครบถ้วนแล้ว ขณะเดียวกันลูกก็ต้องการเวลาจากพ่อแม่ด้วย เวลาที่ว่านี้คือ เวลาในการพูดคุย สั่งสอน ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การเล่นหรืออ่านนิทาน เป็นต้น

3. พ่อแม่ต้องเป็นสมองส่วนหน้าแทนลูก เพราะสมองส่วนหน้าของผู้ใหญ่พัฒนาสมบูรณ์แล้ว ดังนั้นพ่อแม่จึงต้องนำทักษะ EF ที่มีมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการสอนลูก ยกตัวอย่างสถานการณ์ เช่น ลูกถือแก้วน้ำมาแล้วทำน้ำหก วิธีสอนแบบ EFก็คือ แทนที่จะดุด่าทันที ให้พูดกับลูกว่า “น้ำหกหรือลูก ไม่เป็นไรนะ เรามาช่วยกันเช็ด หนูไปหยิบผ้ามานะ แม่รู้ว่าหนูไม่ได้ตั้งใจ คราวหน้าหนูก็ระวังหน่อยนะ” ผลที่ได้คือ หากคราวหน้าเขาทำน้ำหกอีก เขาจะรู้ได้โดยที่เราไม่ต้องบอกว่าต้องหาผ้ามาเช็ดให้สะอาด ลูกจะเรียนรู้ปัญหาและวิธีแก้ไขปัญหาได้ ในทางตรงกันข้าม หากพ่อแม่ไม่ใช้ทักษะ EF เลยก็จะลงเอยด้วยการโกรธดุด่า ตี แต่ไม่สอน เมื่อลูกทำน้ำหกแล้วโดนตีหรือว่าทันที เขาจะไม่เข้าใจ เพราะเขาไม่ได้ตั้งใจทำน้ำหก ทำไมเขาถึงถูกตี และคราวต่อไปเขาจะกลัว ไม่กล้าหยิบจับหรือทำอะไรอีกเลย หรือทำก็ทำได้ไม่ดีเพราะจะกลัวถูกตีตลอดเวลา

ขอเชิญคุณแม่ตั้งครรภ์ และมีลูกวัย 0-6 ปี ร่วมฟังเสวนาฟรี! “เลี้ยงลูกเชิงบวก กระตุ้นทักษะสมอง พิชิตความสำเร็จ” โดย ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร ในวันที่ 31 ตุลาคม 2563 สมัครด่วนจำนวนจำกัด!! อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม และสำรองที่นั่งล่วงหน้า ได้ที่ https://bit.ly/2Sek03w

อ่านต่อ >> “เทคนิคสร้าง EF ให้แข็งแกร่งและถาวร
ด้วยการฝึกวินัยเชิงบวกให้ลูก” คลิกหน้า
3

อ่านต่อ “บทความอื่นน่าสนใจ” คลิก!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up