8 วิธี สร้างวินัยเชิงบวก ง่ายๆ ป้องกันลูกดื้อ เริ่มได้ตั้งแต่ 1 ขวบ

event

สร้างวินัยเชิงบวก คือ การสร้างวินัยหรือการสอนและฝึกฝนเด็กให้ใช้ทักษะสมอง EF ในการดำเนินชีวิตประจำวันจนติดเป็นนิสัย โดยที่พ่อแม่ไม่ใช้คำสั่งห้ามและไม่มีการดุด่า

สร้างวินัยเชิงบวก ให้ลูก ป้องกันลูกดื้อ
ด้วยเทคนิคง่ายๆ จากผู้เชี่ยวชาญ

ซึ่งมาตรฐานของโรงเรียนอนุบาลในอเมริกาเกือบทุกรัฐต้องสอนทักษะ Executive Functions หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า EF เพื่อพัฒนาสมองและระบบความคิดของเด็กๆให้สามารถคิดวางแผนและแก้ปัญหาได้

ส่วนในประเทศไทย แม้กระแส EF จะมาช้าก็ยังดีกว่าไม่มา ตอนนี้รัฐบาลไทยจึงเริ่มสนับสนุนด้วยการพยายามเผยแพร่ความรู้เรื่อง EF ให้คุณครูบ้างแล้ว คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่เองก็ไม่ควรพลาดเทคนิคดีๆ ที่จะช่วยกระตุ้นสมองและเสริมความคิดเชิงบริหารให้ลูกน้อยเช่นกัน แล้วทักษะ EF เป็นอย่างไร จะทำให้ลูกของเราฉลาด วางแผนและแก้ไขปัญหาได้จริงหรือ ลองมาฟังคำอธิบายและคำแนะนำดีๆ จาก รศ. ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ผู้เชี่ยวชาญด้าน ประสาทวิทยา และ ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร ผู้เชี่ยวชาญด้านวินัยเชิงบวก กันเลยค่ะ

เทคนิคสร้าง EF ให้ลูก ด้วยการสร้างวินัยเชิงบวก
ทักษะที่เด็กยุคใหม่ต้องมี!

ฟังเสวนา อ.ปนัดดา

ความหมายของทักษะการคิดเชิงบริหาร

ทักษะ “การคิดเชิงบริหาร” (Executive Functions) หรือเรียกสั้น ๆ กันว่า EF คือหน้าที่การทำงานของสมองระดับสูง ในเชิงบริหาร ซึ่งเราอาจจะคิดว่าผู้บริหารเท่านั้นที่ต้องมี แต่จริง ๆ แล้วมนุษย์เราทุกเพศทุกวัยจำเป็นต้องใช้ทักษะ EF กับการทำงานทุกเรื่องให้สำเร็จ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Goal-Directed Behavior” เป็นพฤติกรรมที่นำไปสู่เป้าหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่มีความยากและใช้ระยะเวลานานหลายเดือนหรือหลายปีกว่าจะสำเร็จ เช่น การเรียน การจะทำให้จิตใจของเราจดจ่อกับเป้าหมาย ไม่ยอมแพ้ไม่ลืมหน้าที่รับผิดชอบ ไม่เบี่ยงเบนหาสิ่งที่ง่ายและสบายกว่าไปเสียก่อน รู้จักตัดสิ่งที่ไม่สำคัญออก เลือกทำสิ่งที่สำคัญ และยึดมั่นจนกว่าจะถึงเป้าหมาย

ทั้งหมดนี้ต้องอาศัยทักษะ EF อย่างมากจึงจะทำได้สำเร็จเพราะทักษะวินัยเชิงบวก จะช่วยให้ลูกสามารถควบคุมอารมณ์ ความคิด และการกระทำ จนกว่าจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้

  • ควบคุมอารมณ์ คือ เวลาลูกมีอารมณ์โกรธ เสียใจ หรือดีใจ เราสามารถควบคุม ไม่แสดงออกอย่างรุนแรง และกลับคืนสู่อารมณ์ปกติได้อย่างรวดเร็วเพื่อให้สามารถทำงานต่อได้
  • ควบคุมความคิด คือ ความสามารถในการควบคุมความคิดให้จดจ่อกับงานที่ทำไม่วอกแวกง่าย หรือหากเผลอวอกแวกไปบ้าง ลูกก็ยังสามารถดึงตัวเองกลับมาโฟกัสกับเรื่องที่ทำได้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากเพราะในชีวิตประจำวันของลูกมีสิ่งต่าง ๆ มากมายทำให้ลูกวอกแวกได้ตลอดเวลา เช่น โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ เพื่อนหรือความบันเทิงต่าง ๆ
  • ควบคุมการกระทำ คือ การควบคุมตัวเองให้กระทำแต่สิ่งที่มุ่งไปสู่เป้าหมายโดยไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน

สร้างวินัยเชิงบวก

√ ชีวิตลูกดี๊ดีเมื่อมี EF

  • สร้างความพร้อมตลอดชีวิต : การหมั่นฝึกฝน EF ตั้งแต่เด็กคือการสร้างเครือข่ายเส้นใยประสาท เพราะเส้นใยประสาทยิ่งใช้ก็ยิ่งแข็งแรง เมื่อไปเจอเหตุการณ์ไม่คาดคิดต่าง ๆ เขาจะรู้ได้ว่าต้องตอบสนองอย่างไร เมื่อลูกน้อยเติบโตขึ้นทักษะนี้จะติดตัวไปด้วย ทำให้เขามีความคิดหลากหลาย ทั้งการคิดสร้างสรรค์ คิดยืดหยุ่น คิดแก้ไขปัญหา และไม่จนต่ออุปสรรคทั้งหลาย ทำให้มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่ยากขึ้น พร้อมเผชิญหน้ากับปัญหา พร้อมสำหรับการทำงาน และพร้อมใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข เพื่อให้ตัวเองบรรลุเป้าหมายในชีวิต ทักษะวินัยเชิงบวก จึงเป็นสิ่งที่พัฒนาคนได้ทั้งชีวิต
  • ชะลอความอยากและควบคุมความต้องการ : หรือ Delayed Gratificationซึ่งตรงตามสำนวนว่า “อดเปรี้ยวไว้กินหวาน” เป็นอีกทักษะที่เกิดจากกระบวนการ EF ขึ้น ซึ่งเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกวัยรุ่นทุกคนมี เพราะลูกวัยรุ่นมักจะตัดสินใจตามอารมณ์หรือความต้องการส่งผลให้ตัดสินใจผิดพลาดได้ง่าย แต่เด็กที่ได้รับการพัฒนาทักษะวินัยเชิงบวก อย่างต่อเนื่องจะเริ่มอดทนรอคอยและชะลอความอยากได้ตั้งแต่ 4 ขวบ แม้จะเป็นการอดทนในช่วงเวลาสั้น ๆ ในเรื่องที่ไม่ยากนัก แต่เขาจะยิ่งทำได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ จนนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีในช่วงวัยรุ่น นอกจากนี้ทักษะ Delayed Gratification ยังช่วยให้เด็กเกิดความมุ่งมั่นไปสู่เป้าหมาย เพราะสังคมปัจจุบันจะมีสิ่งที่มาล่อใจเขาตลอดเวลา การจะโฟกัสกับงานจนเสร็จทั้งที่อยากเล่น อยากอ่านการ์ตูนอยากเล่นเกม อยากดูทีวี ฯลฯ เป็นเรื่องยากมาก แต่ Delayed Gratification จะช่วยให้เขาระงับใจไว้ได้จนกว่าจะทำงานเสร็จจึงจะไปเล่นหรือทำสิ่งต่างๆ ได้ตามความต้องการ
  • สร้างสำนึกที่ดีในจิตใจ : เนื่องจากทักษะ EF ทำให้เราเข้าใจตนเองรู้ว่าเราต้องการอะไร ต้องทำหน้าที่อย่างไรและเมื่อถึงจุดหนึ่งของการที่เรารู้จักตนเองจะเกิดการพัฒนาไปสู่ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เมื่อเด็กควบคุมตนเองได้ อดทนรอคอยได้ และเกิดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นเขาจะมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นดี และพัฒนาไปสู่การช่วยเหลือผู้อื่นหรือการมีจิตอาสานั่นเอง
  • ตอบโจทย์สังคมในอนาคต : สังคมในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างรวดเร็ว สมัยคุณพ่อคุณแม่ยังเด็กการสอบแข่งขันไม่ได้เข้มข้นเหมือนปัจจุบันวิชาหรือเส้นทางให้เลือกเรียนก็มีไม่มากเท่าทุกวันนี้ จากที่เราเคยต้องการให้เด็กว่านอนสอนง่าย ยุคสมัยนี้กลับต้องการให้เด็กเรียนรู้และคิดแก้ปัญหาได้เอง การใช้คำสั่งหรือวิธีสอนแบบเดิม ๆ จึงไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป ทฤษฎีทักษะ EF จึงพัฒนาขึ้นเพื่อสอนเด็กให้มีคุณสมบัติพร้อมสำหรับสังคมในอนาคต ซึ่งเด็กทุกคนต้องสามารถพึ่งพาตนเอง คิดวางแผน และแก้ไขปัญหาเองได้จึงจะประสบความสำเร็จในชีวิต

⊗ ชีวิตลูกติดลบเมื่อไม่มี EF !

  • ความจำไม่ดี เรียนรู้ไม่ได้ ทำผิดซ้ำซาก
  • หุนหันพลันแล่น อยู่นิ่งไม่ได้
  • ปรับตัวไม่ได้ อารมณ์เสียเมื่อต้องเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
  • อารมณ์ฉุนเฉียวรุนแรง เศร้าเสียใจยาวนาน
  • จัดการหน้าที่รับผิดชอบของตัวเองไม่ได้ ทั้งเรื่องเรียน เรื่องงาน และข้าวของส่วนตัว
  • มีปัญหาในการเข้าสังคม
  • มีแนวโน้มเจ็บป่วยโรคจิตเภท เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล ฯลฯ
  • มีโอกาสตัดสินใจผิดพลาดในชีวิต เช่น เรียนไม่จบ ติดยาเสพติด หรือตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
  • เสี่ยงต่อภาวะบกพร่องทางสมอง เช่น สมาธิสั้น หรืออัลไซเมอร์

ขอเชิญคุณแม่ตั้งครรภ์ และมีลูกวัย 0-6 ปี ร่วมฟังเสวนาฟรี! “เลี้ยงลูกเชิงบวก กระตุ้นทักษะสมอง พิชิตความสำเร็จ” โดย ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร ในวันที่ 31 ตุลาคม 2563 สมัครด่วนจำนวนจำกัด!! อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม และสำรองที่นั่งล่วงหน้า ได้ที่ https://bit.ly/2Sek03w

 

อ่านต่อ >> “8 วิธีสร้างวินัยเชิงบวกง่ายๆ
ป้องกันลูกดื้อ เริ่มได้ตั้งแต่ 1 ขวบ
” คลิกหน้า  2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up