โรคผื่นกุหลาบ

โรคผื่นกุหลาบ ในเด็ก ลูกไข้สูงเฉียบพลัน ตัวร้อนไม่หาย พ่อแม่ต้องระวัง!

Alternative Textaccount_circle
event
โรคผื่นกุหลาบ
โรคผื่นกุหลาบ

โรคผื่นกุหลาบ – ในเด็กและทารก (Pityriasis Rosea) หรือ โรคส่าไข้ เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่อาจทำให้เด็กมีไข้และผื่นขึ้นตามร่างกาย มักเกิดขึ้นได้กับเด็กอายุระหว่าง หกเดือน ถึง สองปี และพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน สาเหตุเกิดจากไวรัสในกลุ่มเริม ที่ไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อเริมอื่นๆ  บางครั้งเรียกว่าโรค “ผื่นร้อยวัน” เนื่องจากเด็กบางคนอาจป่วยด้วยโรคนี้ได้นาน 3-4 เดือน  อย่างไรก็ตามหากป่วยแล้วเด็กจะไม่กลับมาป่วยซ้ำอีก

โรคผื่นกุหลาบ ลูกไข้สูงเฉียบพลัน ตัวร้อนไม่หาย พ่อแม่ต้องระวัง!

สาเหตุของโรคผื่นกุหลาบ

ปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคผื่นกุหลาบในเด็ก แต่มีการสันนิษฐานว่า เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่มเริม ได้แก่ Human Herpesvirus-6 (HHV-6) , Human Herpesvirus -7 (HHV-7) และ Epstein-Barr Virus ซึ่งไวรัสทั้งหมด สามารถพบได้ในน้ำลาย และเสมหะของเด็ก นอกจากนี้ยังสามารถพบเชื้อไวรัสได้บน ของเล่น หรือ ของใช้ต่างๆ ของเด็ก เช่น แก้วน้ำ ช้อน ส้อม และเสื้อผ้า เป็นต้น

อาการและอาการแสดงของ โรคผื่นกุหลาบ ในเด็ก

หากลูกของคุณป่วยด้วย โรคผื่นกุหลาบ พวกเขาอาจมีอาการไข้ขึ้นอย่างกะทันหัน และเมื่ออุณหภูมิของร่างกายกลับสู่ปกติบางครั้งอาจเกิดผื่นสีแดงอมชมพู หรือสีส้ม ซึ่งดูคล้ายกับสีของดอกกุหลาบ มักเป็นรูปวงรี  หรือวงกลมรูปไข่ ตรงกลางของผื่นมักมีลักษณะย่น บางครั้งผื่นจะลุกลามเป็นรูปต้นคริสต์มาสที่ด้านหลังของเด็ก ซึ่งอาจทำให้คันและผื่นอาจตกสะเก็ดเล็กน้อย

ผื่นมักปรากฏตามตัวก่อนและกระจายไปที่แขนและขา มักไม่ขึ้นบนใบหน้า ในคนที่มีผิวขาว ผื่นจะเป็นสีแดงอมชมพู หรือส้ม แต่สำหรับเด็กที่มีผิวคล้ำ ผื่นอาจมองเห็นได้หลากหลายสี ตั้งแต่สีม่วงไปจนถึงสีน้ำตาล หรือ สีเทา เมื่อเกิดผื่น เด็กอาจมีอาการคัน และ ระคายเคืองที่ผิวหนัง โดยทั่วไปผื่นจะคงอยู่เป็นเวลาสองวันและค่อยๆ จางลง อย่างไรก็ตามเด็กบางคนอาจมีไข้สูงแต่ไม่มีผื่นได้เช่นกัน  ในเด็กบางรายซึ่งพบได้ไม่บ่อยอุณหภูมิร่างกายจะสูงขึ้นอย่างกะทันหัน และอาจนำไปสู่อาการชักจากไข้ได้ กรณีส่วนใหญ่ของ โรคผื่นกุหลาบ จะหายเป็นปกติใน 1 ถึง 2 เดือนโดยไม่ต้องรักษา บางกรณีอาจสั้นเพียง 2 สัปดาห์ ในขณะที่บางกรณีอาจอยู่ได้นาน 3 เดือนหรือนานกว่านั้น

อาการของโรคที่คล้ายกัน

อาการของโรค สะเก็ดเงิน อาจคล้ายกับอาการของ โรคผื่นกุหลาบ การเปรียบเทียบอาจเป็นประโยชน์สำหรับการวินิจฉัยแยกโรค โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่มีการอักเสบ โดยมีลักษณะเป็นหย่อมๆ แห้ง แดง (เป็นเม็ดเลือดแดง) หนา ซึ่งปกคลุมไปด้วยเกล็ดสีเงินเทา ผื่นเหล่านี้อาจเรียกว่า papules หรือ plaques และส่วนใหญ่มักส่งผลกระทบต่อหนังศีรษะ ข้อศอก หัวเข่า มือ เท้า และ/หรือหลังส่วนล่าง

เด็กที่ป่วยอาจคันอย่างรุนแรงหรือเจ็บ ในบางกรณี เด็กที่เป็นโรคสะเก็ดเงินอาจพบความผิดปกติที่ส่งผลต่อเล็บ เล็บเท้า และเนื้อเยื่ออ่อนภายในปาก ความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงินแตกต่างกันไปในแต่ละกรณี โรคสะเก็ดเงินอาจจัดได้ว่าไม่รุนแรง ปานกลาง หรือรุนแรง ขึ้นอยู่กับปริมาณของผิวหนังที่เกิดโรคและผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของแต่ละบุคคล ประมาณหนึ่งในสามของกรณีนี้มีประวัติครอบครัวเป็นโรคสะเก็ดเงิน

ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการของโรค ผื่นกุหลาบ

  • ในระยะก่อนผื่นขึ้นจะพบไข้สูงประมาณ 39.5-40.5 องศาเซลเซียส
  • อาจตรวจพบต่อมน้ำเหลืองโตที่บริเวณหลังหู ท้ายทอย หนังตาบวมเล็กน้อย เยื่อบุตาแดง
  • ในระยะที่ไข้ลดจะพบผื่นราบสีแดงขนาดประมาณ 2-5 มิลลิเมตร ที่ลำตัวและแขน ผื่นบางจุดอาจมีลักษณะนูนเล็กน้อยหรืออาจมีวงสีแดงจางๆอยู่รอบๆ ผื่นแดง
ผื่นกุหลาบในเด็ก
ผื่นกุหลาบในเด็ก

ภาวะแทรกซ้อน

  • อาการชักจากไข้นานประมาณ 2-3 นาที ซึ่งเป็นภาวะแซกซ้อนที่พบได้ประมาณ 6-15% ของผู้ป่วยส่าไข้ (โดยเฉพาะในเด็กอายุ 12-15 เดือน) และนับเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของทารกที่มีอาการชักจากไข้
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ตับอักเสบ หรือภาวะเกร็ดเลือดต่ำแทรกซ้อน ซึ่งพบได้น้อยมาก
  • เด็กที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำอาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ ตับอักเสบ ไขกระดูกไม่ทำงาน เป็นต้น

ผื่นกุหลาบ ในเด็ก ติดต่อได้หรือไม่ อย่างไร?

ความจริงผื่นกุหลาบเป็นโรคที่สามารถติดต่อกันได้ อย่างไรก็ตาม การติดต่อหรือแพร่กระจายของเชื้อจะเกิดขึ้นได้ก่อนอาการป่วยจะปรากฏ กล่าวคือ เชื้อจะสามารถแพร่กระจายได้ก่อนที่เด็กจะมีไข้หรือมีผื่นขึ้นเท่านั้น ดังนั้นจึงไม้ค่อยพบการติดต่อกันในเด็ก ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันการแพร่กระจายของโรคและยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค สุขอนามัยของมือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการช่วยลดการแพร่กระจายของไวรัส

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์
คุณควรไปพบแพทย์หากลูกของคุณ มีอาการต่อไปนี้

  • เซื่องซึม (ง่วงนอนมาก ตื่นยาก)
  • ขับถ่ายน้อยกว่าปกติ
  • มีไข้เรื้อรัง หลังจากผ่านไป 48 ชั่วโมง
  • มีอาการชัก ที่กินเวลาไม่ถึงห้านาที

ที่สำคัญ ควรโทรเรียกรถพยาบาลทันทีถ้าหาก :

  • ลูกของคุณมีอาการชักนานเกินกว่ 5 นาที
  • ลูกของคุณไม่ตื่นหลังจากเกิดอาการชัก
ลูกป่วยผื่นกุหลาบ
ลูกป่วยผื่นกุหลาบ

การรักษาโรคผื่นกุหลาบในเด็ก

ผื่นที่ขึ้นอาจทำให้เกิดอาการคันได้เป็นเวลา 1 ถึง 2 สัปดาห์ แต่โดยทั่วไปแล้วจะหายไปเองภายใน 6 ถึง 8 สัปดาห์ การรักษาส่วนใหญ่รักษาตามอาการและประคับประคองขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และดูปัจจัยเรื่อง อายุ และสุขภาพโดยทั่วไป เด็กหลายคนอาจไม่ต้องการการรักษา  เป้าหมายของการรักษา คือการบรรเทาและลดอาการคัน การรักษาดังกล่าวรวมถึงการให้ยาแก้แพ้ ครีมสเตียรอยด์ หรือขี้ผึ้ง ซึ่งมีการใช้วิธีการรักษาที่หลากหลายเพื่อลดระยะเวลาของผื่น รวมถึงการให้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ยาต้านไวรัสบางชนิด เช่น อะไซโคลเวียร์และแฟมซิโคลเวียร์ และยาปฏิชีวนะอีริโทรมัยซิน อย่างไรก็ตามยังมีหลักฐานที่สนับสนุนการรักษาเหล่านี้อย่างจำกัด

นอกจากนี้การส่องไฟใช้สำหรับผู้ที่มีความผิดปกติของผิวหนังอักเสบ การบำบัดด้วยแสงอาจใช้เองหรือร่วมกับการรักษาเฉพาะที่ เด็กที่ได้รับผลกระทบบางคนอาจได้รับการรักษาด้วยการสัมผัสกับแสงแดดมากขึ้น ซึ่งแสงยูวีเพียงเล็กน้อยนั้นสามารถบรรเทาความรู้สึกไม่สบายตัวได้

โรคผื่นกุหลาบมักจะมีลักษณะเฉพาะ แพทย์จะวินิจฉัยตามประวัติสุขภาพและการตรวจร่างกายของเด็ก นอกจากนี้ อาจมีการตรวจเลือดเพื่อแยกโรคอื่นๆ ที่อาจมีอาการคล้ายกัน ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของบุตรของท่านจะเป็นผู้ตัดสินใจในการรักษาโดยพิจารณาจากอาการผื่นคัน การรักษาและบรรเทาอาการอาจรวมถึง:

  • การใช้โลชั่น หรือ ยาแก้แพ้ คอร์ติโคสเตียรอยด์
  • ยาที่ใช้รับประทาน
  • การได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต  B (UVB) ที่ทำโดยแพทย์ผิวหนัง
  • การประคบเย็น
  • การใช้น้ำอุ่นสำหรับอาบน้ำ การเติมข้าวโอ๊ตหรือแป้งข้าวโพดลงไปในน้ำ จะช่วยบรรเทาอาการคันได้
  • เมื่อขึ้นจากน้ำ ควรทาผิวของเด็กด้วยโลชั่นป้องกันอาการคันที่อ่อนโยน เช่น ซาร์นาหรืออาวีโน

อ่านต่อ…โรคผื่นกุหลาบ ลูกไข้สูงเฉียบพลัน ตัวร้อนไม่หาย พ่อแม่ต้องระวัง! คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up