ระวัง 7 โรคนี้ ลูกเป็นแล้ว สามารถเป็นซ้ำได้!

event

ลูกป่วยบ่อย

♦ โรคมือเท้าปาก (HFMD)

โรคมือเท้าปาก เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส พบได้บ่อยในทารกและเด็กเล็ก ทำให้มีอาการไข้ เป็นแผลในปาก มีตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว ซึ่งโรคมือเท้าปากสามารถติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากจมูก ลำคอ น้ำลาย และน้ำจากตุ่มใส รวมถึงอุจจาระของผู้ป่วยที่มีเชื้ออยู่ และสามารถติดต่อโดยอ้อมจากการสัมผัสของเล่น พื้นผิวสัมผัสที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ อาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ มือของผู้เลี้ยงดู โดยสถานที่ที่มักพบการระบาดของโรค ได้แก่ สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล และช่วงที่มักมีการระบาดของโรคนี้คือ ช่วงฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว อย่างไรก็ดี โรคนี้ไม่ติดต่อจากคนสู่สัตว์หรือสัตว์สู่คน

ทั้งนี้ โรคนี้สามารถเป็นซ้ำได้อีก เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์หนึ่งๆ อาจไม่สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสสายพันธุ์อื่นๆ ได้ แม้จะจัดอยู่ในกลุ่มย่อยของเชื้อไวรัสเดียวกัน

เนื่องจากในปัจจุบันโรคมือเท้าปากยังไม่มีการรักษาโดยเฉพาะ การรักษาจึงเป็นการรักษาอาการทั่วๆ ไปตามแต่อาการของผู้ป่วย เช่น เจ็บคอมาก รับประทานอะไรไม่ได้ ผู้ป่วยดูเพลียจากการขาดอาหารและน้ำ ก็จะให้พยายามป้อนน้ำ นมและอาหารอ่อน ในรายที่เพลียมากอาจให้นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลและให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด ร่วมกับให้ยาลดไข้แก้ปวด และ/หรือหยอดยาชาในปากเพื่อลดอาการเจ็บแผลในปาก ร่วมกับการเฝ้าระวังสังเกตอาการของภาวะแทรกซ้อนทางสมองและหัวใจ เป็นต้น

สิ่งสำคัญที่สุดคือ คุณพ่อคุณแม่ซึ่งเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับลูกที่สุด จะต้องหมั่นสังเกตอาการ หากลูกมีอาการป่วยที่ผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ทันที6

♦ โรคท้องเสีย

ท้องเสียหรืออุจจาระร่วงเฉียบพลันเป็นสาเหตุสำคัญของการป่วยและการตายในเด็กทั่วโลก โดยปกติเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปีมีอัตราการป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงเฉลี่ย 3 ครั้งต่อปี ซึ่งตามคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลก ท้องเสีย, ท้องร่วง, ท้องเดิน หรืออุจจารระร่วง หมายถึง

  • การถ่ายอุจจาระเหลวปนน้ำหรือถ่ายเป็นน้ำตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปในหนึ่งวัน
  • หรือถ่ายเป็นมูกเลือดแม้เพียง 1 ครั้ง
  • หรือถ่ายเป็นน้ำปริมาณมากๆเพียงครั้งเดียวต่อวัน

ในทารกแรกเกิดที่กินนมแม่ จะถ่ายอุจจาระเนื้อนิ่มและวันละหลายครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นปกติ การที่จะวินิจฉัยท้องร่วงในทารกต้องอาศัยข้อมูลเพิ่มเติ่มเช่น ลักษณะอุจจาระเปลี่ยนไปจากปกติ การมีไข้ร่วมด้วย ภาวะขาดน้ำในทารก เป็นต้น

อาการท้องเสียพบได้บ่อยที่สุดในวัยเด็กเล็กอายุ 4-6 เดือนขึ้นไป มักเกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อโรค เนื่องจากเด็กในวัยนี้มักมีความสนใจหยิบจับสิ่งต่างๆ เข้าปากหรือชอบดูดนิ้วมือ  คนรุ่นเก่ามักเรียกอาการท้องเสียในวัยนี้ว่าเป็นอาการ “ยืดตัว” เนื่องจากอาการท้องเสียมักเกิดในช่วงที่เด็กมีการพัฒนาของกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ (เช่น คืบ คลาน นั่ง เกาะยืน) พอดี

อาการท้องเสียในเด็ก

มีหลายสาเหตุ แต่เกือบทั้งหมดเกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารและจากสารพิษของแบคทีเรีย (Toxin) โดยสาเหตุหลักคือการติดเชื้อไวรัส ซึ่งเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วงเฉียบพลันมีหลายชนิด แต่ที่พบบ่อยที่สุดคือ การติดเชื้อไวรัสโรต้า ซึ่งเป็นสาเหตุของอุจจาระร่วงเฉียบพลันในวัยเด็กที่มีอุบัติการณ์สูงถึง 50 % ของท้องเสียในเด็กทั้งหมด

ในปัจจุบันมีการรายงานถึงไวรัสชนิดอื่นที่ทำให้เกิดโรคท้องร่วงในลักษณะเดียวกันเพิ่มขึ้นเช่น เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus), โนโรไวรัส (Norovirus), แอสโตรไวรัส (Astrovirus), เนื่องจากมีการให้วัคซีนโรต้ามากขึ้น จึงทำให้พบการติดเชื้อโรต้าไวรัสลดลงกว่าแต่ก่อน7

การรักษาอาการท้องเสียในเด็ก

อาการท้องเสียส่วนใหญ่หายได้เองโดยอาจไม่ต้องได้รับการรักษาใดๆ  อย่างไรก็ตาม การดูแลรักษาเบื้องต้นจะทำให้ผู้ป่วยหายได้เร็วขึ้น ลดโอกาสในการเกิดภาวะขาดน้ำที่รุนแรง  และลดโอกาสในการต้องพบแพทย์หรือต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล  การดูแลรักษาเบื้องต้นประกอบด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีการรับประทานอาหารและดื่มนม การดื่มน้ำเกลือแร่ และการดูแลรักษาตามอาการที่พบร่วมด้วย

ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคท้องเสียบางโรคเช่น จากโรต้าไวรัส ซึ่งวัคซีนป้องกันโรต้าไวรัสสามารถช่วยลดความรุนแรงของโรคและลดการเข้ารักษาในโรงพยาบาลลง 40% จากผู้ป่วยทั้งหมด จึงควรปรึกษาแพทย์ถึงการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเหล่านี้

อ่านต่อ >> ระวังโรคที่ลูกป่วยแล้วสามารถเป็นซ้ำได้อีก” คลิกหน้า 4

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up