“ยาฝาแฝด” ภายนอกเหมือน สรรพคุณแตกต่าง พ่อแม่ระวังใช้ผิด ลูกน้อยเสี่ยง อันตรายถึงชีวิต

event

ยาฝาแฝด (ยาฉลากคล้ายกัน) มีคุณพ่อคุณแม่ และผู้ใหญ่หลายคนเข้าใจผิด เลือกซื้อยามาบริโภคโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยเรื้อรัง มีโรคแทรกซ้อน และร้ายแรงที่สุดคือ ถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งหลายคนอาจจะไม่คุ้นชินกับชื่อเรียกนี้ เพราะที่จริงแล้ว ยาฝาแฝด ก็คือ ยารักษาโรคที่ทำฉลากคล้ายกันมาก หรือ มีชื่อเรียกที่คล้ายกัน

 

ฉลากยาเป็นเครื่องมือที่กฎหมายกำหนดให้แสดงไว้ข้างภาชนะบรรจุยา วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สั่งใช้ และผู้ที่จะต้องใช้ยา ได้อ่านเพื่อที่จะได้ใช้ยาอย่างถูกต้องปลอดภัย โดยกฎหมายจะกำหนดให้ฉลากยาต้องมีรายละเอียดที่จำเป็นครบถ้วน ได้แก่ ชื่อสามัญทางยา ชื่อทางการค้า เลขทะเบียนยา สรรพคุณของยา วันผลิตและวันหมดอายุ แต่บางครั้งเราพบว่าฉลากยาหลายรายการกลับมีรูปแบบที่ใกล้เคียงกันมาก มากจนอาจเรียกได้ว่าเป็น ยาฝาแฝด จนทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนหรือเกิดความเสี่ยงในการใช้ยาอย่างผิดพลาดโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งหากรับประทานเข้าไปผิดอาจเกิดอันตรายได้

Must readแม่ระวัง! ยาแก้ไอผสม โคเดอีน อันตรายเสี่ยงลูกเสียชีวิต

ยาฝาแฝด ยาฉลากคล้ายกันที่พ่อแม่ต้องระวัง!!

โดย ผศ.กญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการเฝ้าระวัง และพัฒนาระบบยา ระบุถึงเรื่องดังกล่าวว่า ยาฝาแฝดเป็นผลมาจากการโฆษณา เนื่องจากเมืองบริษัทผู้ผลิตเสียค่าโฆษณา เพื่อทำให้ผู้บริโภคเกิดความคุ้นชินและเป็นที่รู้จักแล้ว เมื่อผลิตยาตัวใหม่จึงทำให้มีรูปแบบคล้ายคลึงกัน

พร้อมแนะนำว่า ในฐานะผู้บริโภคจำเป็นต้องเริ่มต้นจากตัวเอง ด้วยการจำชื่อยาให้ได้หรือใช้วิธีการสอบถามจากเภสัช ดังนั้นจึงไม่ควรซื้อยาจากร้านขายของชำ เนื่องจากผู้ขายไม่มีความรู้ในเรื่องของยา และที่สำคัญคืออย่าหลงเชื่อคำโฆษณา

ยกตัวอย่างเช่น ยาลดไข้สำหรับเด็กที่มีหลายรสชาติ ซึ่งผู้ปกครองมักเลือกซื้อตามรสชาติที่ลูกชอบทาน โดยไม่ทราบว่าแต่ละรสชาติมีปริมาณยาที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจแตกต่างกันถึงเท่าตัวเลยทีเดียว เนื่องจากผลิตมาเพื่อใช้ในเด็กแต่ละช่วงอายุ

ทั้งนี้ ยาที่ผู้คนมักใช้ผิดกันมากคือ ‘โปลเคนเมด’ และ ‘เพนนิซิลิน วี โปแตสเซียม’ เนื่องจากเป็นยาฆ่าเชื้อกล่องสีเขียวเช่นเดียวกัน แต่ช่วยรักษาอาการแพ้ในรูปแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งหากทานเข้าไปผิดอาจเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง

ยาฝาแฝด

และไม่นานมานี้ มีคนโพสต์เรื่องซื้อยาผิดขวดแล้วแชร์ต่อๆ กันไปในโลกสังคมออนไลน์พร้อมโพสต์ภาพประกอบให้เห็นความเหมือนที่ใกล้เคียงกันมากของ ‘น้ำมันนวด’ และ ‘ยาแก้ไอน้ำดำ’ ซึ่งถ้านำยาแก้ไอมานวดก็อาจไม่เกิดอะไรขึ้น แต่ถ้านำน้ำมันนวดมายกดื่มแทนยาแก้ไอ ไม่มีใครรับประกันความปลอดภัยได้

อ่านต่อ >> “พ่อแม่ระวัง (ยาสำหรับเด็ก) ยาฝาแฝด หรือ ยารูปพ้อง-มองคล้าย” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up