โรคติดต่อทางน้ำลาย

9 โรคติดต่อทางน้ำลาย ติดต่อได้ง่าย ๆ แค่กินน้ำแก้วเดียวกัน

Alternative Textaccount_circle
event
โรคติดต่อทางน้ำลาย
โรคติดต่อทางน้ำลาย

9 โรคติดต่อทางน้ำลาย ติดต่อได้ง่าย ๆ แค่กินน้ำแก้วเดียวกัน

4. เริมที่ปาก

โรคเริม (Herpes Simplex) เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อไวรัส “Herpes simplex” โรคนี้จะมีอาการประมาณ 2-3 วัน หรืออาจนานถึง 3 สัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อ อาการของโรคเริม คือ มีอาการระคายเคือง ปวดแสบปวดร้อนบริเวณที่จะเกิดตุ่มแผล บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะ เป็นไข้สูง รวมไปถึงปวดเมื่อยกล้ามเนื้อก่อนที่จะเกิดตุ่มแผล และมีตุ่มใส ๆ เกิดขึ้น พร้อมกับมีอาการเจ็บปวดมากร่วมด้วย ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 10 วัน ก่อนจะยุบตัวลง หลังจากตุ่มแผลยุบหายไปแล้ว ไวรัสนี้จะฟักตัวอยู่ในร่างกายที่บริเวณปมประสาท ดังนั้นผู้ที่เคยเป็นโรคเริมมักจะมีอาการเกิดขึ้นซ้ำ

อ่านต่อ เริม อุทาหรณ์เตือนใจ ลูกเป็นเริมเพราะจูบของแม่

5. ไวรัสตับอักเสบ A และ E

ไวรัสตับอักเสบ A และ E สามารถติดต่อกันได้ง่ายมาก โดยติดต่อจากคนสู่คน โดยเชื้อจะอยู่ในอุจจาระของผู้ป่วยซึ่งอาจติดต่อสู่ผู้อื่นได้หากผู้เตรียมอาหารหรือน้ำเป็นพาหะของโรค รวมทั้งการรับประทานอาหารที่ไม่ได้ทำให้สุกหรือมีการจับต้องอาหารภายหลังปรุงสุก รวมทั้งนม สลัด หอยปรุงไม่สุก ที่เก็บจากน้ำบริเวณที่ปนเปื้อนเชื้ออีกด้วย

ผู้ป่วยมักมีอาการไม่สบายเล็กน้อยนำมาก่อน 1 อาทิตย์ เช่น เบื่ออาหาร ไข้ ปวดเมื่อย คลื่นไส้ อาเจียน ต่อมามีปัสสาวะสีเข้ม ตัวเหลือง ตาเหลือง จุกแน่นบริเวณใต้ชายโครงขวา มีผื่นที่ผิวหนัง และไม่มีประวัติได้รับยา หรือสารพิษที่เป็นสาเหตุของตับอักเสบเฉียบพลัน อาการต่างๆจะทุเลาและหายไป 3-4 สัปดาห์ ในเด็กเล็กมีอาการเล็กน้อย บางรายมีอาการเพียงไม่กี่วัน แต่ถ้าเป็นในเด็กโต หรือ ผู้ใหญ่จะมีอาการเป็นสัปดาห์ โดยเฉลี่ยประมาณ 3 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค เมื่อผู้ป่วยหายจากโรคจะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต อาการแทรกซ้อนของโรคที่พบได้แก่ ตับวายเฉียบพลัน ตัวเหลืองยาวนานจากการคั่งน้ำดีในตับ

โรคติดต่อในเด็ก
โรคติดต่อในเด็ก

6. คอตีบ

โรคคอตีบ มีสาเหตุจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย Corynebacterium diphtheriae ติดต่อโดย การหายใจเอาละอองอากาศที่มาจากการไอจาม ละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยหรือผู้ที่เป็นพาหะเข้าสู่ร่างกายทางระบบหายใจ อาจได้รับเชื้อจากการใช้ภาชนะร่วมกันได้ อาการของโรคคล้ายหวัดในระยะแรก คือ เจ็บคอ เบื่ออาหาร และไอเสียงก้อง สามารถพบเยื่อสีขาวปนเทาที่บริเวณทอนซิลและลิ้นไก่ สารพิษที่สร้างขึ้นในปริมาณมาก สามารถถูกดูดซึม เข้าสู่กระแสเลือด และกระจายไปก่อให้เกิดความผิดปกติในระบบอื่น โดยเฉพาะกล้ามเนื้อ หัวใจและระบบประสาท ในรายที่รุนแรงอาจทำให้เกิดการอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบน หรือกล้ามเนื้อ หัวใจอักเสบ ทำให้เสียชีวิตได้

7. ไอกรน

โรคไอกรน เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis โรคนี้ติดต่อโดยการสัมผัสกับละอองเสมหะที่ปนเปื้อนเชื้อจากการไอ จามของผู้ป่วย ในเด็กจะเริ่มมีอาการ มีน้ำมูก และไอ เหมือนอาการเริ่มแรกของโรคหวัดธรรมดา อาจมีไข้ต่ำ ๆ ตาแดง น้ำตาไหล จะเป็นอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่มีข้อสังเกตว่าไอนานเกิน 10 วัน เป็นแบบไอแห้ง ๆ และเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 3 ไม่มีเสมหะ จะเริ่มมีลักษณะของไอกรน คือ มี อาการไอถี่ ๆ ติดกันเป็นชุด 5-10 ครั้ง ตามด้วยการหายใจเข้าอย่างแรงจนเกิดเสียงวู้ป (whoop) ซึ่งเป็นเสียงการดูดลมเข้าอย่างแรง ในช่วงที่ไอ ผู้ป่วยจะมีหน้าตาแดง น้ำมูก น้ำตาไหล ตาถลน ลิ้นจุกปาก เส้นเลือดที่คอโป่งพอง การไอเป็นกลไกที่จะขับ เสมหะที่เหนียวข้นในทางเดินหายใจออกมา ผู้ป่วยจึงจะไอติดต่อกันไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะสามารถขับเสมหะที่ เหนียวออกมาได้ บางครั้งเด็กอาจจะมีหน้าเขียว เพราะหายใจไม่ทันโดยเฉพาะเด็กเล็ก ๆ อายุน้อยกว่า 6 เดือน จะพบอาการหน้าเขียวได้บ่อย และบางครั้งมีการหยุดหายใจร่วมด้วย

อ่านต่อ ฉีดวัคซีนป้องกันไอกรน ให้ครบ ป้องกันลูกป่วย

8. โรคหัด

หัด เป็นโรคไข้ออกผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหัด (Measles virus) นับว่าเป็นโรคที่มีความสำคัญมากโรคหนึ่ง เพราะอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ ส่วนผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้วจะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต

การติดต่อจะติดต่อทางลมหายใจ ไอ จาม รดกัน ช่วงเวลาเสี่ยงโรคนี้คือ “ฤดูหนาว” โดยเฉพาะในเดือนมกราคม จะมียอดของผู้ที่ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี สามารถพบได้ในคนทุกวัย แต่มักพบในเด็กอายุ 2-14 ปี และพบได้บ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มักไม่พบในทารกอายุต่ำกว่า 6-8 เดือน เนื่องจากยังมีภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากมารดาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ส่วนโอกาสในการเกิดโรคในผู้หญิงและผู้ชายมีใกล้เคียงกัน โรคนี้สามารถติดต่อแพร่กระจายได้ง่าย จึงอาจพบการระบาดตามชุมชน โรงเรียน หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก

อ่านต่อ โรคหัดระบาด!! ตายแล้ว 23 ราย รีบพาลูกฉีดวัคซีน

9. หัดเยอรมัน

หัดเยอรมัน เป็นโรคไข้ออกผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้และออกผื่นคล้ายโรคหัด แต่จะมีความรุนแรงและโรคแทรกซ้อนน้อยกว่าหัด โรคนี้ ถ้าเกิดในหญิงตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เชื้ออาจแพร่กระจายเข้าทารกในครรภ์ ทำให้ทารกพิการ หูหนวก ตาเป็นต้อกระจก เกิดภาวะหัวใจรั่ว มีภาวะผิดปกติทางสมอง อวัยวะภายในไม่สมบูรณ์ แท้ง หรือตายในครรภ์ได้ สำหรับเด็กเล็ก อาการหัดเยอรมันจะแสดงออกมาเหมือนเด็กและผู้ใหญ่ทั่วไปที่เป็นโรคนี้ เพียงแต่เด็กเล็กจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน และมีไข้ออกผื่น ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาการจะรุนแรงกว่าผู้ใหญ่ จึงนับได้ว่าเป็นโรคที่อันตรายสำหรับเด็กเล็กได้เช่นกัน

อ่านต่อ โรคหัด หัดเยอรมัน ต่างกันอย่างไร

จะเห็นได้ว่า โรคติดต่อทางน้ำลาย ในบางโรคก็ทำให้มีอันตรายถึงชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้ที่ติดเชื้อเป็นเด็กเล็กหรือหญิงตั้งครรภ์ และไม่ว่าจะเป็นโรคไหนก็ตาม เราก็ไม่อยากจะไม่สบายกันอยู่แล้วล่ะค่ะ ดังนั้น มารณรงค์ให้คนไทยทุกคนไม่ดื่มน้ำแก้วเดียวกับผู้อื่น กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ กันนะคะ

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจคลิก

หมอจุฬาฯ เตือน! 4 โรคติดเชื้อในเด็ก ที่ลูกมักติดจากเพื่อนๆ ในโรงเรียน

11 โรคติดต่อทางพันธุกรรม จากพ่อแม่สู่ลูกและวิธีป้องกัน

โรคติดต่อทางน้ำมูกน้ำลาย Enterovirus รุนแรง

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข, พบแพทย์, กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up