ลูกพูดโกหก

6 วิธีเข้าใจและสอนลูก เมื่อลูกพูดโกหก!

event
ลูกพูดโกหก
ลูกพูดโกหก

ลูกพูดโกหก

ทั้งนี้ในช่วงเด็กอายุ 6 ขวบขึ้นไป ลูกจะแยกแยะความจริงได้แล้ว หากลูกพูดโกหกอาจมีหลายสาเหตุที่พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจ เช่น

1.ลูกอาจโกหกเพื่อหลีกหนีจากสิ่งที่ไม่ต้องการ หรือกลัวว่าจะถูกทำโทษเมื่อทำผิด เช่น ลูกขโมยเงินพ่อแม่เพื่อเอาไปซื้อของเล่นยอดฮิตเหมือนเพื่อนๆ ที่โรงเรียน แต่กลัวพ่อแม่จับได้จึงต้องโกหก

สำหรับวัยรุ่น ปัญหาที่มักเจอส่วนใหญ่คือการคบเพื่อน การมีกลุ่มเพื่อนที่อาจชักจูงกันไปทำกิจกรรมที่ไม่ค่อยถูกต้องหรือถูกใจผู้ปกครองมากนัก ก็พยายามหาวิธีการหลบหลีกด้วยการโกหก

บ่อยครั้งที่ผู้ปกครองจับไม่ได้ และบ่อยครั้งที่จับได้ สิ่งที่ตามมาคืออาจถูกตำหนิดุด่าจนในที่สุดพฤติกรรมเหล่านั้นแทนที่จะหายไป กลับยิ่งถูกส่งเสริมให้รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะการยิ่งตำหนิยิ่งทำให้สถานการณ์ของปัญหาการโกหกยิ่งแย่ลง เพราะวัยรุ่นจะยิ่งอยู่ห่างจากครอบครัวมากขึ้น

2.การโกหกเพื่อให้ได้รับสิ่งที่ต้องการ เช่น เด็กที่รู้สึกเบื่อเหงา อาจสร้างเรื่องที่น่าตื่นเต้นมาเล่าให้พ่อแม่ฟัง พ่อแม่จะได้สนใจตนมากขึ้น เช่น โกหกว่าปวดหัวเพราะไม่อยากไปโรงเรียน อยากได้ค่าจ้างไปโรงเรียน หรือเด็กที่รู้สึกตนเองไม่เก่งไม่ดีอาจเล่าเรื่องโกหกให้ตัวเองดูดี เพราะอยากให้พ่อแม่ชื่นชม

3.เด็กมีความผิดปกติทางด้านจิตเวช เช่น เด็กที่มีปัญหาเรื่องสติปัญญาบกพร่อง มีปัญหาด้านภาษา เด็กที่ป่วยเป็นโรคจิต บางครั้งก็ดูเหมือนว่าจะพูดเรื่องที่ไม่จริง ตามความคิดที่เกิดขึ้นในโลกส่วนตัวจากการที่มีสติปัญญาบกพร่องอยู่ หรือเด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า อาจไม่ได้แสดงออกทางอารมณ์ แต่มาแสดงออกทางพฤติกรรม เช่น พูดโกหก หนีเรียน ลักขโมย พบเห็นได้บ่อยทั้งที่บ้านและโรงเรียน

⇒ Must read : รวม 11 โรค กับวิธีสังเกต ลูกมีปัญหาสุขภาพจิต

6 แนวทางปฏิบัติสำหรับพ่อแม่ เมื่อลูกโกหก

ลูกพูดโกหก

1.ควรสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกอยู่เสมอ ลูกจะมั่นใจในความรักและความหวังดีของพ่อแม่ เพื่อเวลาที่ลูกทำผิด หรือทำสิ่งไม่ดีลงไป ลูกจะได้กล้าปรึกษาพ่อแม่ จะช่วยไม่ให้ลูกตัดสินใจผิดพลาดจนเกิดผลเสียร้ายแรงตามมา

2.ไม่ควรมีโมโห หรือตำหนิตัวตนของลูกเมื่อลูกทำความผิด แต่ควรจัดการเฉพาะพฤติกรรมที่ผิดเท่านั้น ควรใช้เหตุผลพูดคุยกัน เพื่อลูกจะกล้ายอมรับความจริงในสิ่งที่ตนทำ ควรชื่นชมที่ลูกกล้าสารภาพผิด และแนะนำว่าเขาควรทำอย่างไรต่อไป

3.ควรไว้วางใจ ไม่จับผิดหรือระแวงลูกมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ลูกรู้สึกเหมือนเป็นนักโทษ เช่น บางครั้งลูกกลับบ้านดึก แม่ก็คอยซักถาม จับผิดว่าลูกไปไหน ไปทำอะไร บางทีลูกอาจจะแค่ไปร้องคาราโอเกะกับเพื่อน แต่การที่พ่อแม่ซักถามเหมือนไม่ไว้ใจลูก และไต่สวนเหมือนเป็นผู้กระทำความผิด เด็กอาจใช้วิธีโกหกเพื่อให้พ่อแม่หยุดซักถาม

4.ควรหลีกเลี่ยงการลงโทษที่รุนแรงเมื่อลูกทำผิดหรือจับโกหกได้ เพราะการลงโทษเป็นเพียงการแก้ไขที่ปลายเหตุ ยังมีทางออกที่ดีกว่าวิธีการลงโทษ คือการพูดจาเพื่อทำ ความเข้าใจถึงเหตุผลบางประ การของลูก พ่อแม่ต้องมีอารมณ์ที่สงบเพื่อรับฟังลูกอย่างจริงใจ

5.เป็นแบบอย่างที่ดี ไม่พูดโกหกให้ลูกเห็น เพราะลูกอาจเลียนแบบจนติดเป็นนิสัย เข้าใจผิดว่าการโกหกเป็นเรื่องปกติที่ทำได้

6.พยายามสังเกตว่าลูกมีอาการป่วยทางจิตหรือไม่ เช่น ซึมเศร้า บกพร่องทางสติปัญญา หรือมีปัญหาเรื่องภาษา เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้อาจโกหกโดยไม่ตั้งใจ แต่ทำไปเพราะป่วย หากสงสัยว่าลูกมีภาวะดังกล่าวควรพาพบจิตแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม

อย่างไรก็ดี เพราะเด็กโกหกไม่เป็น ซึ่งในการที่ลูกพูดโกหกออกมานั้น ความหมายอาจไม่เป็นอย่างที่คุณคิด สิ่งสำคัญคือพ่อแม่ต้องตั้งสติและเปิดใจรับฟังลูก พร้อมคอยสังเหตุถึงปัญหาและพฤติกรรมที่ทำให้ลูกพูดหรือกระทำสิ่งต่างๆที่ดูเหมือนเอาแต่ใจ ซึ่งหากลูกรู้ตัวว่าผิดและพยายามโกหก อาจต้องรีบสั่งสอนเพื่อไม่ให้ลูกติดนิสัยโกหกไปจนโต

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.manager.co.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up