อาหารแม่ท้องและให้นมลูก กินอย่างไร? ไม่ให้ลูกแพ้อาหาร

Alternative Textaccount_circle
event

ช่วงให้นม : กินอย่างไร ลูกไม่เสี่ยงแพ้

หลักการกินก็เช่นเดียวกับคุณแม่ตั้งครรภ์ และไม่จำเป็นต้องงดอาหารเสี่ยงแพ้เช่นกัน แต่ให้สังเกตว่าลูกน้อยมีอาการแพ้ต่ออาหารเหล่านั้นระหว่างที่ให้นมหรือไม่ หากแพ้ให้งดทันที

วิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกเป็นภูมิแพ้ได้ดีที่สุดและเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกคือ การให้ลูกกินนมแม่นาน 6 เดือนหรือมากกว่า เพราะนมแม่มีสารอาหารและภูมิต้านทานที่ดี ช่วยเคลือบลำไส้ และกำจัดสารภูมิแพ้จากอาหารออกจากกระแสเลือด แต่ในกรณีที่ไม่สามารถให้นมลูกได้ก็ไม่ต้องกังวล เพราะปัจจุบันมีนมสูตรพิเศษหรือสูตรแพ้น้อยทดแทน ซึ่งคุณแม่สามารถขอคำแนะนำได้จากศูนย์นมแม่ตามโรงพยาบาลทั่วประเทศ

สำหรับการเริ่มอาหารเสริมให้ลูกน้อยนอกจากนมแม่แล้ว มีคำแนะนำ ดังนี้

หากลูกไม่มีแนวโน้มต่อการเป็นภูมิแพ้

  • กินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน
  • ไม่จำเป็นต้องงดอาหารที่แพ้ง่ายบางอย่าง เช่น ไข่ ถั่ว ปลา แต่ควรเริ่มให้ลูกกินเมื่ออายุ 8 เดือน ส่วนอาหารเสี่ยงแพ้อื่นๆ เช่น นมวัว อาหารทะเล เป็นต้น ควรเริ่มที่ 1 ขวบ
  • เริ่มให้อาหารเสริมทีละอย่างทีละน้อยประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนให้อาหารชนิดใหม่แก่ลูก
  • ควรให้ลูกกินอาหารที่หลากหลาย ครบทั้ง 5 หมู่

banner300x250

แต่หากลูกมีแนวโน้มว่าเสี่ยงเป็นภูมิแพ้…

มีข้อแนะนำจากสมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย ดังนี้

  • กินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน
  • หลีกเลี่ยงให้ลูกกินนมวัวหรืออาหารที่มีนมวัวจนกว่าลูกจะอายุครบ 1 ขวบ เช่นเดียวกับนมถั่วเหลือง นมแพะ นมแกะ
  • เริ่มให้อาหารเสริมนอกจากนมแม่เมื่อลูกอายุ 6 เดือน โดยเริ่มให้ลูกกินทีละอย่างทีละน้อยประมาณ 1 สัปดาห์เพื่อดูว่าลูกแพ้หรือไม่ ก่อนให้อาหารชนิดใหม่แก่ลูก และควรเลือกอาหารที่แพ้น้อย เช่น กล้วยน้ำว้า ฟักทอง เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการกินไข่และอาหารที่มีไข่เป็นส่วนประกอบ จนกว่าลูกจะอายุ 2 ขวบ
  • หลีกเลี่ยงการกินถั่วและปลา จนกว่าลูกจะอายุ 3 ขวบ

สรุปแล้วจากคำถามที่ว่า เราจะช่วยป้องกันการแพ้ของลูกตั้งแต่อยู่ในท้องได้หรือไม่นั้น ปัจจุบันยังคงหาคำตอบกันอยู่ แม้จะยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัด แต่การกินอาหารที่ได้สัดส่วนเหมาะสมระหว่างตั้งครรภ์ ไม่กินอย่างใดอย่างหนึ่งมากจนเกินไป ก็ช่วยลดการกระตุ้นการเกิดโรคภูมิแพ้ในตัวลูกได้ไม่น้อย ถึงแม้จะมีตัวแปรอื่นๆ ที่เราควบคุมไม่ได้ เช่น มลภาวะ เป็นต้น ก็ตาม

 

ข้อมูลจาก

  1. นมแม่กับอาการโรคภูมิแพ้ และ ทำอย่างไรจึงป้องกันโรคภูมิแพ้ได้ จาก www.allergy.or.th
  2. Allergy During Pregnancy จาก www.allergyuk.org
  3. Infant Food Allergies: Prevention and Early Feeding จาก www.actionagainstallergy.co.uk
  4. Pregnancy Food Allergy Claims Unfounded จาก www.nursingtimes.net
  5. Preventing Food Allergies จาก www.askdrsears.com
  6. Preventing Food Allergies in Children – Pregnancy and Postpartum จาก http://foodallergies.about.com
  7. Reducing Risk of Food Allergy in Your Baby จาก www.healthlinkbc.ca

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

ภาพ: Shutterstock

Save

Save

Save

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up