รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี

รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ใช้ได้ผลกับเด็กยุคนี้จริงหรือ?

Alternative Textaccount_circle
event
รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี
รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี

สาเหตุที่ไม่ควรตบตีลูก

1.อย่าลืมนะคะว่า ลูกมีคุณพ่อคุณแม่เป็นตัวอย่าง เมื่อไรก็ตามที่เราทำโทษลูกด้วยการตบตีจนทำให้ดูเหมือนกับว่าพฤติกรรมดังกล่าวนั้น เป็นพฤติกรรมปกติ โดยทำให้ลูกรู้สึกว่า วิธีดังการตีนั้น เป็นวิธีการแก้ปัญหาอย่างหนึ่ง เมื่อถึงเวลาที่ลูกโตขึ้น ลูกก็จะนำวิธีการดังกล่าวนี้ไปใช้แก้ปัญหาตอนที่เขาโตขึ้นด้วยเช่นกัน

2.การตบตีลูก อาจจะทำให้ลูกรู้สึกว่า พวกเขาพ่ายแพ้ อ่อนแอ และเป็นคนที่ไม่ประสบความสำเร็จ เรียกได้ว่า การทำโทษลูกด้วยวิธีการตีนั้น ถือเป็นการทำลายความมั่นใจของลูกได้อย่างหนึ่ง

3.การทำโทษด้วยการตี ถือเป็นเครื่องมือทำลายความสัมพันธ์ระหว่างคุณพ่อคุณแม่และลูกได้เป็นอย่างดี ในบางครั้ง ลูกอาจจะยังเล็กเกินกว่าที่จะเข้าใจถึงความรักที่คุณพ่อคุณแม่มีและหวังให้พวกเขาเป็นคนดี โดยลูกอาจจะตีความหมายว่า ที่พวกเราลงโทษเขา แสดงว่า พ่อแม่ไม่ได้รักพวกเขาเลยนั่นเอง

4. เมื่อไรก็ตามที่พ่อแม่ตีลูก เมื่อนั้นความรุนแรงจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ หมายความว่า หากคุณตีลูกครั้งแรก แน่นอนค่ะว่า ลูกย่อมเกิดความไม่พอใจ อาจจะทำให้พวกเขาพยศมากขึ้นกว่าเดิม และเมื่อนั้นก็ส่งผลให้อารมณ์ของคุณพ่อคุณแม่หงุดหงิดมากกว่าเดิม แล้วตรงไหนละคะ คือจุดสิ้นสุดของเรื่องราวดังกล่าว ถ้าไม่ใช่ความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้น

5.การตีลูก ไม่ได้เป็นการยืนยันว่า ลูกของเราจะปฏิบัติหรือประพฤติตนให้ดีขึ้น ดังจะเห็นได้จากคำเตือนของสถาบันต่าง ๆ ว่า การแก้ปัญหาด้วยการตีนั้น ไม่มีเครื่องพิสูจน์ได้ว่าลูกจะเป็นคนดี การพูดคุย สอนลูก พร้อมกับให้เหตุผลต่างหาก เป็นทางออกที่ดีที่สุด

6.อย่าลืมนะคะว่า ลูกอยู่ในวัยที่กำลังจดจำสิ่งต่าง ๆ รอบตัว การที่คุณพ่อคุณแม่ตีพวกเขา อาจจะส่งผลทำให้สภาพจิตใจของลูกแย่ลงได้ โดยลูกอาจจะฝังใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น จนทำให้กลายเป็นเด็กที่มีความผวากลัว ตกใจง่าย และมีความทรงจำที่ไม่ดีเกี่ยวกับพ่อแม่ของเขาได้

ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่คะ รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี อาจจะไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ดังนั้น เมื่อไรก็ตามที่คุณพ่อคุณแม่รู้สึกว่าตัวเองเริ่มโกรธและหงุดหงิด เมื่อนั้นให้คุณพ่อคุณแม่ค่อย ๆ นับ 1 ถึง 10 เพื่อให้ใจเริ่มเย็นลง เมื่อใดก็ตามที่ใจเย็นแล้ว เมื่อนั้นให้คุณพ่อคุณแม่ค่อย ๆ เข้าไปพูดคุยกับลูก ด้วยเหตุผล เท่านี้ ลูกของเราก็จะสามารถปฏิบัติตัวเป็นคนดีได้โดยที่ไม่มีใครต้องเจ็บตัวหรือเจ็บใจเลยละค่ะ

ขอบคุณที่มา: VoiceTV และ Ask Dr. Sears

อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up