ความกลัวของเด็ก 3 – 5 ขวบ

Alternative Textaccount_circle
event

ความกลัวของเด็กวัย 3 – 5 ขวบ มีมากมายเต็มไปหมดค่ะ คุณพ่อคุณแม่อาจจะเคยได้ยินลูกวัยนี้วิ่งเข้ามาบอกว่าลูกกลัวความมืด  กลัวน้ำ กลัวความตาย กลัวสัตว์ต่างๆ   ทำไมเด็กถึงมีความกลัวเกิดขึ้นได้ เราจะสามารถช่วยให้ลูกเข้าใจความกลัวนี้ได้อย่างไร  ความกลัวของเด็กนี้จะหายไปเมื่อไหร่ เรามีคำตอบค่ะ

เด็กกับความกลัวเป็นเรื่องที่คู่กัน เด็กจะกลัวในเรื่องที่จำฝังใจ ซึ่งความกลัวจะเกิดขึ้นในช่วงหนึ่งของชีวิตเท่านั้น เพราะพอเด็กโตขึ้นและได้เรียนรู้ว่าสิ่งที่เขากลัวนั้น เขาสามารถที่จะรับมือกับสิ่งที่กลัวได้อย่างไรบ้าง  ก็จะทำให้เด็กใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น เช่น ถ้ากลัวผี ช่วงเวลาหนึ่งเขาจะรู้ว่าผีไม่มีอยู่จริง กลัวความมืด ช่วงเวลาหนึ่งเขาจะเรียนรู้ที่จะอยู่ให้ได้ถ้าไฟในบ้านเกิดดับขึ้นมา เป็นต้น ในขณะเดียวกันความกลัวที่เกิดขึ้นกับเด็ก จะทำหน้าที่ปกป้องให้เด็กระมัดระวังเรียนรู้ว่าสิ่งใดที่จะปลอดภัย และเป็นอันตรายกับตัวเขาได้บ้าง

เวลาที่มีสิ่งที่ทำให้กลัวอยู่ตรงหน้าไม่ว่าจะเป็น ด้วยความรู้สึก หรือกำลังจะถูกกระทำ ร่างกายจะถูกกระตุ้นให้ตื่นตัวด้วยการทำงานของระบบประสาท ที่เป็นระบบของเนื้อเยื่อพิเศษที่เกิดจากเซลล์ประสาท ทำให้ข้อความผ่านกระบวนการไปมาจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย และจะมีการหลั่งสารอะดรีนาลิน ที่เป็นฮอร์โมนสารเคมีที่มีผลกระทบต่อการควบคุมส่วนต่างๆ ของร่างกาย ผลิตโดยต่อมหมวกไตที่อยู่ด้านบนสุดของไต (เป็นสารเคมีของความเครียด ซึ่งเราจะรู้สึกได้ว่าร่างกายจะรู้สึกร้อนๆ หนาวๆ)

ความกลัวในวัยเด็กที่พบมากที่สุด

 สัตว์ประหลาด

 ความมืด

 กลัวความสูง

 พายุ  ฟ้าผ่า ฟ้าร้อง

 แมลง  งู  สุนัข

 การหลงทาง

 การสอบตกซ้ำชั้น

 กลัวหมอ  กลัวเข็มฉีดยา

 กลัวว่าจะเสียพ่อแม่ไป

banner300x250-1

แม้ว่าสายตาและมุมมองของผู้ใหญ่ต่อสิ่งต่าง ๆ จะมองจากความเป็นจริง และสามารถจัดการกับความรู้สึกไม่มั่นคงได้ แต่เด็กอาจต้องฝึกกันนิดหน่อย ซึ่งวิธีการก็ไม่ยากจนเกินไป โดยต้องเริ่มจาก

– ทำความเข้าใจกับความกลัวของลูกน้อย และใช้เหตุผลในการพูดคุย

– ในการพูดคุยนั้น ไม่ควรทำให้เด็กรู้สึกว่าเป็นความผิดที่ตนเองกลัวในสิ่งต่าง ๆ หรือทำให้เด็กรู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าอาย

– อย่าสนับสนุนให้เด็กหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับสิ่งที่เขากลัว แต่ควรจะให้เขาได้เผชิญหน้ากับมันบ้าง เพื่อที่เด็กจะได้รู้จักวิธีจัดการกับอารมณ์และความรู้สึกของตัวเอง (ในกรณีนี้คุณพ่อคุณแม่ควรทำด้วยความระมัดระวัง และไม่กระตุ้นในลักษณะที่รุนแรง)

– สร้างความรู้สึกเชื่อมั่นในตัวเองให้เกิดขึ้นกับเด็ก

– สอนวิธีผ่อนคลายให้เด็ก เพื่อที่เขาจะได้นำมาใช้เมื่อเกิดความกลัว หรือไม่มั่นคงขึ้น โดยอาจจะให้เด็กหลับตาและจินตนาการถึงความสุขที่เคยได้พบมา หรือสถานที่ที่พวกเขาชื่นชอบ

อ่านต่อ >> “สาเหตุและวิธีจัดการกับความกลัวของเด็ก” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up