5 สาเหตุ บ่มเพาะความรุนแรงแก่เด็ก

Alternative Textaccount_circle
event

สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่คุณพ่อคุณแม่อาจนึกไม่ถึงว่าเป็นสาเหตุให้ลูกสะสมความรุนแรงในตัวโดยไม่รู้ตัว มีอะไรบ้าง กันไว้ดีกว่าแก้นะคะ

1. คำพูด

เด็กวัยนี้เป็นวัยเรียนรู้ คำพูดของผู้ใหญ่บางคำ บางวินาที ที่เด็กไม่เคยได้ยิน เขาจะมองว่าเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นและจดจำ  เพราะฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ คุณครู ผู้ใหญ่ทุกคน ต้องระวังคำพูดที่มาจากอารมณ์ไว้ให้ดี เด็กๆ จะนำไปเลียนแบบได้

2. เกม

เกมที่ใช้ความรุนแรงนั้นอาจจะยังไม่เหมาะกับเด็กวัยนี้ เมื่อลูกอยู่ในสายตาเราอาจจะช่วยเลือกและแนะนำได้ แต่เมื่อลูกอยู่นอกสายตา เขาอาจจะได้ลองและทำกิจกรรมที่ใช้ความรุนแรงนี้มา วิธีป้องกันคือ เมื่อลูกเริ่มแสดงออกด้วยอาการก้าวร้าว ใช้กำลัง หรือพูดจาหยาบคาย คุณต้องใจเย็นและพูดกับลูกด้วยความเข้าใจ อย่าใช้กำลังโต้ตอบหนักๆ กลับ เพราะเด็กก็จะเข้าใจวิธีการจุดอารมณ์ให้คุณโมโห มากกว่า

3. เล่นกับเพื่อนต่างรุ่นที่รุนแรง

การปล่อยให้เด็กเล่นกับเพื่อนต่างรุ่น แรงของการเล่น และวิธีในการเล่นจะต่างกัน เขาจะเชื่อและฟังรุ่นพี่มากกว่าคุณพ่อคุณแม่ด้วยซ้ำ วิธีป้องกันปัญหา คุณพ่อคุณแม่ต้องพูดคุยกับลูกอยู่เสมอ อะไรไม่ดีก็ต้องรีบเตือนให้ระวั

4. ละคร

ฉากที่ใช้ความรุนแรง ตัวร้ายที่ใช้กำลังข่มเหงเด็ก สตรี และคนชรา เสียงหัวเราะสะใจ เหล่านี้สร้างความเร้าอารมณ์ให้กับผู้ชม ซึ่งหากเด็กวัยนี้ได้รับชมเป็นครั้งแรกโดยไม่ได้รับคำแนะนำที่ดี เขาก็จะมองว่าเป็นเรื่องปกติที่ทำได้

5. สิ่งแวดล้อมรอบๆ บ้าน

บางทีคุณอาจสงสัยว่าลูกไปจดจำการกระทำต่างๆ นี้มาจากใคร ทั้งๆ ที่ในบ้านไม่มีใครทำ บางทีสิ่งแวดล้อมโดยรอบบ้านอาจจะหล่อหลอมให้ลูกเป็นเด็กที่ชอบใช้ความรุนแรงโดยไม่รู้ตัว เขาอาจจะได้ยิน ได้เห็นมาจากคนข้างบ้าน ครอบครัวหน้าปากซอย วิธีนี้อาจจะป้องกันและแก้ยาก  แต่หากรีบเตือนกันตั้งแต่เนิ่นๆ และบอกสาเหตุ ผลร้าย ผลเสีย ก็จะช่วยทำให้ลูกเข้าใจมากขึ้น

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

ภาพ: shutterstock

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up