ลูกอาเจียน หลังกินยา

ลูกอาเจียน หลังกินยา ต้องป้อนยาซ้ำหรือไม่?

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกอาเจียน หลังกินยา
ลูกอาเจียน หลังกินยา
  • หากเป็น เด็กที่กินยายาก คุณแม่ควรถามแพทย์ว่า มียาอะไรที่กินง่าย ให้น้อยครั้ง และหากเปลี่ยนจากยากินหลังอาหารมาเป็นการให้ยาก่อนอาหารทันทีแล้วค่อยกินอาหารจะได้ไหม เพราะหากเป็นยากินหลังอาหาร หากลูกต่อต้านไม่กินยาจะอาเจียนเอาอาหารออกมาด้วย
  • เด็กบางคน ไม่ชอบหลอดฉีดยา แต่ยอมกินแบบช้อน บางคนแม่อาจซื้อจุกหลอกที่มีรูไว้หยอดยา เวลาลูกดูดจะได้ยาเข้าไปเอง
  • บางคนอาจ ใช้วิธีผสมกับเครื่องดื่ม แต่ต้องถามแพทย์ก่อนว่าผสมได้หรือไม่ และต้องมั่นใจว่ากินครบจนหมด
  • บางคนอาจ ชอบกินยาเม็ดเอามาบดผสมกับน้ำหวานมากกว่ากินยาน้ำ บางคนอาจฝึกให้กลืนยาเม็ดเล็กๆ ได้ตั้งแต่ 2 – 3 ขวบ

อย่างไรก็ดีการที่ ลูกอาเจียน หลังกินยา สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะยาที่กินมีรสชาติขมไม่ถูกปาก การทำให้ลูกน้อยกินยาดูจะเป็นปัญหาระดับชาติของหลายครอบครัว  บางคนเคยกินได้  จู่ๆก็ไม่ยอมกิน  บางคนบ้วนทิ้ง  บางคนกัดฟันปิดปากแน่น  บ้างก็ดิ้นวิ่งหนี ฯลฯ

บางครอบครัวจึงใช้วิธีการบีบจมูกเพื่อให้เด็กกลืนยา ซึ่งอาจจะทำให้ลูกกลืนยาได้ง่ายขึ้น แต่เป็นการกระทำที่อันตรายมากเพราะเสี่ยงต่อการที่เด็กจะสำลัก คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรใช้วิธีการดังกล่าวและหันมาใช้วิธีที่ถูกต้องแทน คือ การใช้หลอดดูดยาค่อยๆ ฉีดยาเข้าข้างกระพุ้งแก้มเด็ก แต่ถ้าหากเด็กปฏิเสธและต่อต้านมาก อาจต้องขอให้สมาชิกคนอื่นในบ้านช่วยกันจับมือและเท้าของเด็กไว้ไม่ให้ดิ้น แล้วจึงค่อยๆ ฉีดยาเข้าข้างกระพุ้งแก้มก็จะสามารถป้อนยาได้สำเร็จ และหากระหว่างการป้อนยามียาหก (ซึ่งอาจจะทำให้เด็กได้ยาไม่ครบ) ก็ไม่ต้องให้ยาซ้ำ เนื่องจากเราไม่ทราบว่ายาที่หกไปมีปริมาณเท่าใดกันแน่

สิ่งสำคัญคือ คุณพ่อคุณแม่ควรพูดถึง “อาการป่วย” ของลูกมากกว่าจะไปย้ำถึง “การต้องกินยา” อธิบายง่ายๆ ว่า ยาจะช่วยให้เราหายป่วยได้อย่างไร เช่น “กินยาแล้วจะทำให้เราแข็งแรง ลูกจะได้เล่นกับเพื่อนได้นานๆ ไงล่ะ” หากอาศัยความร่วมมือจากหมอช่วยอธิบายแบบง่ายๆ ด้วยก็จะยิ่งได้ผลมากขึ้น

และต้องเข้าใจ เห็นใจลูก รับฟังสิ่งที่ลูกรู้สึกกังวลหรือไม่ชอบเกี่ยวกับยา เมื่อคุณเข้าใจแล้วก็จะหาวิธีได้ง่ายขึ้น ด้วยการคุยอย่างนุ่มนวล แต่จริงจัง แล้วให้ทางเลือกกับลูก แทนที่จะบอกว่า “ถึงเวลากินยาแล้วนะ” ลองเปลี่ยนมาบอกเขาว่า “ลูกจะกินยากับน้ำส้มหรือน้ำเปล่าดีล่ะ” วิธีนี้ทำให้ลูกรู้ว่าการกินยาเป็นสิ่งที่เขาต้องทำ แต่เขาก็ยังมีอำนาจที่จะเลือกได้เอง ที่สำคัญอย่าลืมชื่นชมและให้รางวัล เช่น สติ๊กเกอร์ตัวการ์ตูนตัวโปรดของลูก เพื่อเป็นกำลังใจให้เขากินยาในครั้งต่อไป

อุปกรณ์ป้อนยาเด็ก

หากเด็กเล็กกว่า 1 ขวบหรือในเด็กที่กินยายาก การใช้หลอดดูดยา (syringe) แทนช้อนจะทำให้การป้อนยาทำได้สะดวกขึ้น โดยที่หลอดดูดยาจะมีตัวเลขบอกปริมาตรเป็นซีซีแสดงอยู่ ซึ่งหากว่าเด็กต้องกินยา 1 ช้อนชา ก็จะเท่ากับ 5 ซีซี และขอย้ำว่า “ช้อนชา” ในที่นี้ไม่ใช่ช้อนที่ใช้ในการชงชาตามบ้าน  แต่เป็นช้อนที่แถมมาพร้อมกับขวดยา สำหรับในเด็กโตอาจต้องใช้ “ช้อนโต๊ะ” ซึ่งก็ไม่ใช่ช้อนที่ใช้บนโต๊ะอาหารตามบ้านเช่นกัน แต่ 1 ช้อนโต๊ะจะเท่ากับ 3 ช้อนชา ดังนั้นหากบนฉลากเขียนไว้ว่า ป้อนยาครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ก็ควรใช้ช้อนโต๊ะที่แถมมาพร้อมกับขวดยาเท่านั้น หรือใช้ช้อนชาป้อน 3 ช้อนก็ได้

“แล้ววิธีการป้อนยาแก่เด็กที่กินยายาก” จะมีเทคนิคอย่างไร
ตามมาดูกันเลยค่ะ ⇓

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up