สร้างภูมิคุ้มกันทางใจให้ลูก

สร้างภูมิคุ้มกันทางใจให้ลูก ตอน อบรมและจัดการพฤติกรรมเด็ก

Alternative Textaccount_circle
event
สร้างภูมิคุ้มกันทางใจให้ลูก
สร้างภูมิคุ้มกันทางใจให้ลูก
  1. อย่าลืมว่าความสัมพันธ์ที่ดีต้องมาก่อน ไม่ว่าการอบรมหรือจัดการพฤติกรรมของลูก คุณพ่อคุณแม่ต้องมีมุมที่อบอุ่นและเป็นมิตรกับลูก แต่ในบางครั้งที่จำเป็นคุณพ่อคุณแม่ต้องมีอำนาจสั่งการลูกและแสดงออกอย่างหนักแน่นและสม่ำเสมอ
  1. การฝึกวินัยในเด็กเล็ก คือ การทำอะไรสม่ำเสมอ เป็นตารางเวลาที่คาดการณ์ได้ โดยเริ่มได้ตั้งแต่ลูกอายุ 4 เดือน ควรจัดเวลากิน เวลานอน ให้เป็นที่เป็นเวลา เช่น เด็กทารกจะดูดนมแม่ ต้องมีผ้าคลุมก่อนจึงจะดูดได้ หรือเด็กที่เริ่มกินอาหารเสริม ควรนั่งกินที่โต๊ะอาหารเท่านั้น หรือเด็กอายุ 1 ขวบที่เริ่มเดินได้ หากเขาจะดูดนม หรือถือขนมไว้ในมือ ควรจับเขานั่งก่อนทุกครั้ง เด็กที่โตขึ้น ฝึกให้เก็บของเล่นทุกครั้งที่เล่นเสร็จ
  1. เข้าใจพัฒนาการทางสังคมอารมณ์ของลูก เมื่อเขาเริ่มเป็นตัวของตัวเอง (เด็กอายุ 18 เดือน – 2 ขวบครึ่ง) และช่วงทดสอบ-ท้าทาย (อำนาจ) ของผู้ใหญ่ (เด็กอายุ 3 – 4 ขวบ) พ่อแม่ต้องฝึกฝนเทคนิคในการพูดกับลูก เช่น ให้ทางเลือกแทนการออกคำสั่งหรือบอกให้เขาทำ และควรบอกให้ลูกได้รู้ตัวก่อนเปลี่ยนกิจกรรม เช่น หยุดเล่นก่อน ถึงเวลาอาบน้ำแล้ว แทนการสั่งให้เขาหยุดทันที
  1. เข้าใจและยอมรับว่าทุกคนมีอารมณ์ลบได้ เช่น อารมณ์โกรธ หงุดหงิด เสียใจ ซึ่งเด็กจะแสดงสีหน้าท่าทางให้เห็นก่อนพูดได้เสียอีก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรรู้ว่าขณะที่ลูกมีอารมณ์เชิงลบ คือ โอกาสที่จะได้ใกล้ชิดและสอนลูก อย่าเบี่ยงเบนทั้งตัวลูกและตัวเรา อย่ากลัวหรือกังวลที่ต้องเผชิญกับช่วงเวลาดังกล่าว
  1. รับฟังลูกอย่างเห็นอกเห็นใจ แทนการคิดว่า “แค่นี้เองทำไมต้องโกรธ” “เรื่องนิดเดียวไม่เห็นต้องเสียใจเลย”  และคุณพ่อคุณแม่ควรบอกให้ลูกรู้ว่าตอนนี้เขากำลังรู้สึกอย่างไร หากลูกพูดได้ ควรช่วยลูกหาคำพูดบรรยายความรู้สึกของตัวเอง
  1. แสดงให้ลูกเข้าใจว่า เป็นไปได้ที่ลูกจะรู้สึก (ไม่ดี) แบบนี้ แต่ขณะเดียวกันก็หยุดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น ตี ดิ้น หรือแย่ง  อาจจับมือเขาไว้แล้วบอกด้วยน้ำเสียงนิ่งๆ ว่า ตีไม่ได้ แล้วช่วยลูกคิดหาวิธีทีจะทำให้เขารู้สึกดีขึ้น
  1. ฝึกน้ำเสียงทรงอำนาจ และนำมาใช้ในเวลาที่จำเป็นจริงๆ เพื่อสื่อให้ลูกรู้ว่า ตอนนี้เป็นช่วงจริงจัง ซึ่งน้ำเสียงนี้มักมีโทนเสียงต่ำ การพูดราบเรียบ สั้นๆ ไม่เยิ่นเย้อ รวมถึงสีหน้าเรียบเฉยขณะพูด
  1. พูดสื่อให้ลูกรู้ว่าเราต้องการให้เขาควบคุมตนเองให้ได้ ขณะที่ลูกอาละวาดโวยวาย พ่อแม่ควรบอกเขาว่า “คุมตัวเองลูก” แทนการพร่ำบ่นต่อว่า หรือถามว่าลูกทำแบบนี้ทำไม และเมื่อฝึกเขาไปได้สักพัก ก็อาจถามเขาว่า หนูจะคุมตัวเอง หรืออยากให้พ่อแม่ช่วย
  1. ฝึกลูกให้รับผิดชอบตนเอง รับผิดชอบผลของการกระทำของตนเอง เด็กสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้ด้วยตนเองตั้งแต่ยังเล็ก หากผู้ใหญ่ให้โอกาสและฝึกฝน และไม่คอยปกป้องเขามากจนเกินควร
  1. ปรับเปลี่ยนกฎกติกาเมื่อลูกเติบใหญ่ขึ้น แต่คงไว้ซึ่งแนวคิดว่า หน้าที่ต้องมาก่อน เช่น หนูจะเล่นได้ต้องทำงานบ้าน หรือการบ้านให้เสร็จก่อน และอิสรภาพมาพร้อมความรับผิดชอบ เช่น ถ้าหนูอยากให้แม่อนุญาตให้ไปเล่นที่บ้านเพื่อน หนูต้องแสดงให้เห็นว่าหนูรับผิดชอบที่จะโทรมาหาในเวลาที่กำหนด

 

เด็กที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีวินัย แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมและจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ เป็นเด็กที่คุณพ่อคุณแม่มอบของขวัญที่ล้ำค่าให้ลูก เพราะจะเป็นภูมิคุ้มกันทางใจที่จะช่วยนำพาให้ลูกผ่านพ้นความท้าทาย อันตราย อุปสรรคต่างๆ และความไม่แน่นอนของชีวิตค่ะ

 

สร้างภูมิคุ้มกันทางใจให้ลูก
สร้างภูมิคุ้มกันทางใจให้ลู

การอบรมและจัดการพฤติกรรมเด็ก

            เป็นการสอนผ่านการเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก บางครั้งสามารถสอนผ่านการเล่านิทาน  ฝึกรับมือกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับลูก และปลูกฝังให้ลูกควบคุมตนเอง สอนให้ลูกรู้ว่า “อะไรควร อะไรไม่ควรทำ” ซึ่งเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของคุณพ่อคุณแม่ที่มากกว่าแค่กล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดู

 

การปลูกฝังวินัยและทักษะสังคม

เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็กทุกคน และควรได้รับการปลูกฝังวินัยตั้งแต่ทารก และค่อยๆ พัฒนาจนกลายเป็นวินัยในตนเอง

 

เรื่องโดย : พญ.นลินี  เชื้อวณิชชากร
ภาพ : ShutterStock

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up