โค้ชชีวิต

เปลี่ยน “พ่อแม่” เป็นโค้ชชีวิต เสริมภูมิต้านทานอุปสรรคให้แก่ลูก

Alternative Textaccount_circle
event
โค้ชชีวิต
โค้ชชีวิต

โค้ชชีวิต คืออะไร คุณพ่อคุณแม่สงสัยไหมคะว่าจะมาเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงลูกในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีก้าวกระโดดนี้ได้อย่างไร เราจะไปทำความเข้าใจ และเรียนรู้วิธีการเป็นโค้ชให้กับชีวิตลูก เพื่อช่วยให้ลูกพร้อมเติบโตในยุคดิจิตอลอย่างมีภูมิต้านทานอุปสรรคกันค่ะ

 

โค้ชชีวิต VS ผู้ปกครอง

การเปลี่ยนตัวเองจาก “ผู้ปกครอง” มาเป็น “ โค้ชชีวิต  นั้น พ่อแม่สามารถเป็นได้ทั้งที่ปรึกษา และเพื่อนคู่คิดให้กับลูกในทุกๆ เรื่อง และลูกก็จะกล้าบอกพ่อแม่ในทุกเรื่องด้วยเช่นเดียวกัน

หากมองย้อนกลับไปในสมัยที่เราคุ้นเคยกับพ่อแม่ในฐานะ “ผู้ปกครอง” หลายๆคนอาจไม่กล้าบอก ไม่กล้าปรึกษาพ่อแม่ เพราะกลัวจะโดนดุและกลัวการถูกทำโทษ คิดเหมือนกันไหมคะ ว่าพ่อแม่ที่เป็นผู้ปกครองในสมัยที่ผ่านๆ มา ดูเหมือนจะมีลำดับชั้น มีอำนาจในการเลี้ยงดูและปกครองลูก

ซึ่งการเป็นผู้ปกครองลูกอย่างที่ผ่านๆมา ไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่เนื่องด้วยสภาพสังคมและแนวทางการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ถ้าเราในฐานะพ่อแม่ยังเลี้ยงลูกแบบเดิมๆ อาจทำให้ลูกไม่มีภูมิต้านทานอุปสรรคเพียงพอ สำหรับการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน

ดังนั้นจะดีกว่าไหม หากลองเปลี่ยนจากการเป็นผู้ปกครองลูกในรูปแบบเดิมๆ มาเป็นโค้ชชีวิตให้กับลูก เป็นเพื่อนคู่คิด ช่วยส่งเสริมและกระตุ้นให้ลูกเกิดการพัฒนากระบวนการคิด และสามารถที่จะดึงศักยภาพที่มีอยู่ในตัวออกมาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อที่ลูกจะได้เติบโตอย่างคนที่พร้อมด้วยทักษะ ที่จะเผชิญกับโลกอย่างมีภูมิต้านทานอุปสรรค สามารถที่จะดำเนินชีวิตได้ในทุกรูปแบบ ไม่ว่าเขาจะต้องเผชิญกับอะไรก็ตาม

 

โค้ชชีวิต ต้องมีคุณลักษณะอย่างไร ?

คุณกุลลดา พันธ์สังข์ Approved Coaching specific Training Hours จาก The International Coach Federation (ICF) องค์กรสากลที่ได้รับการรับรองในเรื่อง Life Coach ได้พูดถึงคุณลักษณะของ Life Coach ที่พ่อแม่ควรมี เพื่อช่วยสร้างลูกให้ประสบความสำเร็จ คือพ่อแม่จะต้องเป็น “โค้ช” ในเชิงของ International coordination คือ human needs หรือมนุษย์นิยม ที่เชื่อว่าทุกคนมีศักยภาพ

สิ่งสำคัญในการเป็นโค้ชชีวิตให้กับลูก คือ พ่อแม่ต้องมีเป้าหมายของตัวเองก่อน ซึ่งเป้าหมายนี้ ไม่ใช่ว่าเราอยากจะให้ลูกเป็นอะไร แต่คือเป้าหมายว่า เราในฐานะพ่อแม่จะเลี้ยงลูกเชิงบวกได้อย่างไร

ในการเป็นโค้ชชีวิตให้กับลูก หรือ Life Coach นั้น พ่อแม่จะมีหน้าที่พูดคุย ฟังและถาม เพื่อให้ลูกสามารถเรียงลำดับความคิดของตนเองกับเรื่องที่เขากำลังเผชิญอยู่ได้ แต่โค้ชจะไม่ได้มีหน้าที่ไปชี้แนะ หรือแนะนำวิธีแก้ปัญหาให้แก่ลูก เหมือนอย่างเช่นที่ผ่านมา

คุณกุลลดา พันธ์สังข์แนะนำว่า พ่อแม่ที่จะเป็นโค้ชชีวิตให้กับลูก จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ คือ…

  1. ต้องมีความเชื่อ พ่อแม่ต้องเชื่อก่อนว่าลูกสามารถค้นหาคำตอบได้ด้วยตัวเขาเอง เมื่อถึงเวลาที่พร้อมและมีทรัพยากรที่เหมาะสม
  2. มีทักษะการถาม พ่อแม่ต้องถามลูกอย่างสร้างสรรค์ เพื่อช่วยกระตุ้นให้ลูกเกิดกระบวนการคิดจากเรื่องที่เขากำลังเล่าหรือปรึกษาอยู่
  3. มีหน้าที่ฟัง พ่อแม่มีหน้าที่ฟังลูก แต่จะไม่ไปช่วยตัดสินใจในเรื่องที่ลูกกำลังเล่าอยู่ด้วยกรอบความคิดของพ่อแม่
  4. ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดี พ่อแม่ลูกต้องรู้สึกดีต่อกันก่อน เมื่อมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันแล้ว ก็จะทำให้ลูกเกิดความไว้วางใจในตัวพ่อแม่ การพูดคุย ปรึกษากันก็จะเต็มไปด้วยความสบายใจ ซึ่งจะช่วยให้ลูกคิดและพบคำตอบในการแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเขาเอง

ทั้ง 4 คีย์เวิร์ดนี้คือหัวใจสำคัญที่พ่อแม่จะสามารถนำมาใช้ในการเลี้ยงลูกได้ ซึ่งการเป็นโค้ชชีวิตให้กับลูก ก็คือการเป็นเพื่อนคู่คิด ช่วยนำพาลูกไปสู่การพัฒนาชีวิตที่สร้างสรรค์ กระตุ้นให้ลูกเกิดกระบวนการคิดและสนับสนุนให้เขาค้นหาคำตอบโดยการออกไปเผชิญกับสิ่งต่างๆและฝึกแก้ปัญหาด้วยตัวเอง โดยมีพ่อแม่คอยสนับสนุน จนในที่สุดลูกจะเกิดเรียนรู้และแสดงศักยภาพที่มีอยู่ในตัวเองออกมาได้เต็มที่ เป็นภูมิต้านทานอุปสรรคในชีวิตของเค้าต่อไป

สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างภูมิต้านทานอุปสรรคให้กับลูกๆ จากผู้เชี่ยวชาญ ได้ที่ http://www.nutricia-shapingdestiny.com/online-experience.html

คุณพ่อคุณแม่พอจะเห็นแนวทางในการเป็นโค้ชชีวิตให้กับลูก เพื่อเสริมภูมิต้านทานอุปสรรคและสนับสนุนลูกให้ไปสู่ความสำเร็จในอนาคตได้อย่างสมบูรณ์แบบแล้วนะคะ นอกจากการเลี้ยงดูโดยการเป็นโค้ชชีวิตให้กับลูกแล้ว การดูแลเรื่องโภชนาการก็เป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อให้ลูกมีพัฒนาการที่ดี และมีภูมิต้านทานที่แข็งแรง คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกให้ได้รับโภชนาการที่ดีและเหมาะสมตามช่วงวัยโดยเฉพาะในช่วงแรกของชีวิต และเสริมด้วยโภชนาการที่มีซินไบโอติกอย่างต่อเนื่อง เพราะมีงานวิจัยพิสูจน์แล้วว่าพรีไบโอติกได้แก่กอสและแอลซีฟอส ที่มีอยู่ในสูตรซินไบโอติก เมือเด็กๆ ได้รับร่วมกับดีเอชเอ ช่วยให้เด็ก 1 ใน 4  ไม่เจ็บป่วยจากการติดเชื้อตลอดปี*  หนึ่งตัวเลือกคือการทานนมสูตรที่มีซินไบโอติกนั่นเองค่ะ

*Chatchatee P, et al. J Pediatr Gastroenterol Nutr. 2014;58:428-437 จากนมที่เสริม GOS/lcFOS (สัดส่วน 9:1) 6 กรัม และ DHA 100 มิลลิกรัมต่อวัน

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up