ไปกินข้าวนอกบ้าน (แบบราบรื่น) กันนะลูก

Alternative Textaccount_circle
event

– เลือกเวลาให้เหมาะ โดยไปกินให้เร็วกว่าคนส่วนใหญ่สักครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง คือ 11.00 น. -11.30 น. สำหรับมื้อกลางวัน และ 16.30 น.-18.00 น. สำหรับมื้อเย็น เพราะจะได้ไม่ต้องรออาหารนานๆ และบริกรก็ยังไม่เหนื่อยจนหัวหมุน เลยเต็มใจให้บริการมากกว่าด้วย นอกจากนี้ก็ต้องไปก่อนเวลากินตามปกติของลูกราวครึ่งชั่วโมง เพื่อให้อาหารพร้อมเสิร์ฟก่อนที่เขาจะหิวและหงุดหงิด

 
– พาลูกสำรวจร้านให้พอใจก่อน ชวนกันเดินเล่นในบริเวณร้านก่อนที่อาหารจะมาเสิร์ฟ อาจพาลูกไปดูซิว่าในห้องน้ำใช้สบู่ล้างมือสีอะไรหรือไม่ก็เดินไปทักทายเพื่อนๆ วัยเดียวกัน ถ้าเป็นร้านที่มีการทำอาหารโชว์ให้เห็นกันชัดๆ(อย่างร้านอาหารญี่ปุ่นบางแห่ง) จะพาลูกไปดูเพื่อเรียกน้ำย่อยก่อนก็ได้

 
– พกของ ชิ้นพิเศษŽ ติดไปด้วย เช่น ของเล่นที่หายไปนานแล้วและเพิ่งเจอว่าซุกอยู่ใต้โซฟา กล่องที่เต็มไปด้วยรถของเล่นคันเล็กๆ หรือสีเทียนกับสมุดวาดเขียน

 
– นึกถึงของเล่นชิ้นใหญ่ๆ บ้าง ของเล่นที่คุณเลือกไปให้ลูกเล่นในร้านอาหาร ไม่จำเป็นต้องมีแต่ชิ้นเล็กๆ ที่เก็บใส่กระเป๋าได้ ของเล่นชิ้นใหญ่ๆที่เวลาเล่นเสียงไม่ดัง ชิ้นส่วนไม่เยอะจนเกินไป และขนาดเล็กกว่าถาดใส่อาหารลูก คือตัวเลือกใหม่ที่น่าสนใจมิใช่น้อย (เช่น ชุดตัวต่อที่เป็นโฟมนุ่มๆ)…รับรองว่าลูกจะต้องง่วนอยู่กับของพวกนี้ได้นานๆ หรือจนกระทั่งได้อาหารครบทุกอย่างแล้วเลยเชียวละ ด.ญ.ญาดา จันทร์ผ่องอย่างนี้จะดีกว่า

 
ในช่วงเริ่มต้นของวัยเตาะแตะ หากลูกทำเรื่องตลกๆ หรือกิริยาอาการที่ชวนให้ขำกลิ้ง แต่คุณรู้ดีว่าสิ่งนั้นออกแนวเกเรหรือเป็นสิ่งไม่ควรทำ ถ้าจะให้ดี เก็บอาการขำและเสียงหัวเราะของคุณเอาไว้ก่อนดีกว่า (พูดง่ายๆคือ ทำฟอร์มนิ่งไว้) เพื่อไม่ให้ลูกตีความว่าคุณชอบสิ่งที่เขาทำ หรือนึกว่านั่นเป็นพฤติกรรมที่ทำได้ ซึ่งเป็นเสมือนแรงยุยงให้ทำอีกเรื่อยๆ จนกลายเป็นนิสัยที่ต้องมาตามแก้กันทีหลัง…อย่างนั้นคงไม่น่าขำแล้วละ

 

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up