ของใช้ทารก

ภาพหาดูยาก! 10 สิ่งประดิษฐ์ ของใช้ทารก สมัยโบราณ

event
ของใช้ทารก
ของใช้ทารก

7. ถุงกันแก๊สพิษ

ของใช้ทารก

ของใช้ทารก ที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1938 เนื่องจากช่วงนั้นมีสงครามเกิดขึ้น การใช้อาวุธต่างๆ ล้วนก่อให้เกิดสารเคมี และทำให้อากาศเป็นพิษต่อลูกน้อยของเราได้ ดังนั้นถุงชิ้นนี้จะมีตัวกรองอากาศ และที่ปั๊มอากาศ โดยใครก็ตามที่อุ้มเด็กอยู่สามารถควบคุมปริมาณอากาศบริสุทธิ์ให้เข้าไปในถุงกันแก๊สพิษโดยใช้ตัวปั๊มอากาศนั่นเอง จากนั้นก็มีการอัพเกรดหลายต่อหลายครั้ง มีการวิจัยต่างๆ เป็นเวลาถึง 3 ปี และได้หน้ากากที่ดีขึ้น

8. เครื่องติดฉลากเด็ก โดยใช้แสง UV

ของใช้ทารก

เจ้าสิ่งนี้ถูกผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 1938 เพราะไม่มีใครอยากกลับบ้านไปพร้อมกับลูกน้อยของคนอื่นหรอกนะ นักประดิษฐ์ด้านการใช้แสง UV จึงได้สร้างเครื่องมือที่คล้ายกับการติดฉลาก โดยยิงแสงลงไปบนผิวหนังของเด็กเลย เท่านี้ก็ทำให้ลดความสับสนได้แล้วหล่ะค่ะ โดยแสง UV ที่ยิงเครื่องหมายไปนั้นก็คือชื่อของเด็ก และจะค่อยๆ เลือนหายหลังจากผ่านไปประมาณ 2 – 3 อาทิตย์ คราวนี้ก็กลับบ้านพร้อมกับลูกที่ถูกต้องได้แล้ว

9. เครื่องช่วยให้เด็กฝึกเดิน

ของใช้ทารก

สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1939 เนื่องจากพ่อแม่ส่วนใหญ่สอนให้ลูกฝึกเดินโดยการอุ้มเด็กขึ้น และก็ช่วยพยุงให้เด็กค่อยๆ เดินไปมา หรือบ้างก็ใช้รถติดล้อ (พบเห็นได้มากในปัจจุบัน) แต่นักประดิษฐ์ชาว Swiss ก็มีไอเดียเก๋ไก๋ที่จะทำให้การฝึกเดินของเด็กมีความ Extreme ขึ้น (55) โดยการนำไม้ซึ่งมีที่รัดขาทั้งของเด็ก และผู้ฝึกเดินไว้ด้วยกัน โดยเราสามารถกำหนดทิศทางการเดินของเด็กได้ง่ายขึ้น และเพื่อป้องกันเด็กล้มหัวทิ่มพื้น ก็ยังมีเสื้อที่มีสายจูงให้ผู้ฝึกเดินจับไว้อีกด้วย

10. เข็มขัดนิรภัย

ของใช้ทารก

สร้างขึ้นใน ปี 1939 ซึ่งสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับคุณแม่ที่ต้องเลี้ยงลูกน้อย และทำทุกอย่างให้กับลูกเพียงลำพัง ซึ่งเข็มขัดนิรภัยนี้จะช่วยล็อกตัวหนูน้อยไม่ให้จมน้ำขณะที่อาบน้ำอยู่ โดยเฉพาะเวลาที่แม่เกิดต้องไปทำอะไรสักอย่างกะทันหัน เพียงแค่ล็อกเข็มขัดไว้ลูกน้อยก็จะปลอดภัยหายห่วง

ถึงแม้ว่าสิ่งประดิษฐ์ ของใช้สำหรับทารก เหล่านี้อาจมีรูปร่างที่ดูแปลกประหลาดไปสักหน่อย แต่หลายชิ้นนั้นก็ถือว่าเป็นไอเดียที่ดี และมีคุณสมบัติที่พร้อมเหมาะกับลูกน้อยมากๆ ทีเดียว สำหรับการนำมาใช้งานกับเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ต่างๆ ในช่วงเวลา และยุคสมัยนั้นๆ

อ่านต่อ “บทความดีๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูอ้างอิงจาก : popsci, everyday-readers และ www.edtguide.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up