เมื่อลูกทำตัวดั่งนางพญา

Alternative Textaccount_circle
event

“เด็กเหล่านี้มักเป็นศูนย์กลางของห้องเรียนและกลุ่มเพื่อน ดูเหมือนเรื่องดีๆจะเกิดขึ้นรอบตัวพวกเขาอยู่เสมอ นั่นทำให้เพื่อนคนอื่นๆ อยากอยู่ใกล้ชิดและสนิทกับพวกเขา” โรซาไลน์ วิสแมน ผู้เขียน “Queen Bee Moms and Kingpin Dads” อธิบาย

 

 

 
“เด็กผู้ชายมักพุ่งความสนใจไปที่ภูมิรู้หรือข้าวของที่อีกฝ่ายมี เช่น เพื่อนที่เตะบอลเก่ง หรือเพื่อนที่มีของเล่นไฮเทค ขณะที่เด็กผู้หญิงให้ความสำคัญเรื่อง ‘ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล’ มากกว่า แม่หนูทั้งหลายเข้าใจว่า ‘ถ้าฉันเป็นเพื่อนกับดาวเด่นที่ทุกคนชอบใครๆ ก็คงชอบฉันด้วย’ ” วิสแมนเสริม

 

 

 
ปัญหาก็คือ ความนิยมชมชอบเหล่านี้มักตามมาด้วยการเอาอกเอาใจ รวมไปถึงการยอมตามจากเพื่อนๆ ที่อยู่รอบข้าง บรรยากาศแบบนางพญากับสาวกนี้อาจสร้างทัศนคติและพฤติกรรมแง่ลบให้หนูน้อยคนเก่ง ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานเพื่อน หรือข่มและรังแกเพื่อนที่ด้อยกว่าอย่างไม่ตะขิดตะขวงใจ

 

 

 
ถ้าคุณเริ่มสังเกตเห็นว่า ลูกสาวชักเอาอกเอาใจหรือเป็นลูกไล่เพื่อนของแกมากไปหน่อย หรือกลายเป็นคนเอาแต่ใจคอยแต่ให้เพื่อนมาบริการ ก็คงต้องรีบเปิดประเด็นพูดคุยเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วละ

 

 

 
ถ้าหนูเป็นลูกไล่…เตือนแกว่า แม่อยากให้หนูปฏิบัติต่อคนรอบตัวด้วยความสุภาพและเคารพซึ่งกันและกัน และหนูก็ควรจะได้รับสิ่งเหล่านั้นตอบกลับอย่างเท่าเทียมด้วยถ้าลูกอิดออดไม่อยากแยกตัวออกมาจากกลุ่มของดาวเด่น ลองแนะให้แกเปิดตาให้กว้างและมองหาเพื่อนใหม่ๆ บ้าง การมีเพื่อนที่เราไม่จำเป็นต้องวิ่งไปซื้อขนมตอนพักกลางวันหรือคอยถือของเดินามหลังน่ะดีกว่ามีเพื่อนเป็นคนสวยแต่เอาแต่ใจตั้งเยอะ

 

 

 
ถ้าหนูเป็นนางพญา…ทำความเข้าใจกันก่อนว่า พ่อแม่ชื่นชมที่หนูเป็นคนเก่งและร่าเริง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าหนูจะใช้ความเด่นนั้นข่มใช้งานเพื่อน หรือทำให้คนอื่นรู้สึกไม่ดีได้ ถ้าอยากให้ใครๆ ทำดีกับเราด้วยความจริงใจ เราเองก็ต้องทำดีต่อผู้อื่นด้วย ลองหาภาพยนตร์วัยรุ่นอย่าง She Is All That มาให้ดูเป็นตัวอย่างสิ สาวสวยเอาแต่ใจน่ะ เป็นได้แค่ตัวร้ายเท่านั้นนะ

 

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up