3 มุมใหม่ ชวนลูกๆ ใช้โซเชียลมีเดีย

4 มุมใหม่ ชวนลูกๆ ใช้โซเชียลมีเดีย

Alternative Textaccount_circle
event
3 มุมใหม่ ชวนลูกๆ ใช้โซเชียลมีเดีย
3 มุมใหม่ ชวนลูกๆ ใช้โซเชียลมีเดีย

เพราะเด็กยุคใหม่โตมากับโซเชียลมีเดีย (Social Media) เช่น Facebook, Instagram, Twitter เป็นต้น ลูกวัยทวีน 10-12 ปีจะใช้โซเชียลมีเดียเพื่อตอบสนองธรรมชาติของวัยเขา ธรรมชาติของวัยที่กังวลกับการยอมรับและภาพลักษณ์ของตัวเอง จึงต้องการสร้างตัวตนหรือภาพลักษณ์ของตัวเองหรือแข่งขันในความสามารถด้านต่างๆ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อน

ทว่ามีผลการศึกษาชี้ว่าการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กของเด็กก่อนวัยรุ่น มีทั้งเสริมให้เกิดความมั่นใจ ขณะเดียวกันก็ทำให้เด็กหลายๆ คนสูญเสียความมั่นใจได้โดยไม่รู้ตัว จะทำอย่างไรให้ลูกเราใช้โซเชียลมีเดียให้เกิดประโยชน์กับตัวเขาเอง มีคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญมาฝากกันค่ะ

1. สร้างความมั่นใจให้ตัวเอง

แม้การควบคุมระยะเวลาในการอยู่กับโซเชียลเน็ตเวิร์กเป็นเรื่องจำเป็น แต่วิธีเล่นก็ไม่เป็นรอง การสละเวลาแนะนำลูกๆ ให้ใช้โซเชียลมีเดียอย่างมีคุณภาพจึงเป็นเรื่องที่คุณทำได้

2. อย่าเป็นแต่ผู้ติดตาม

“เอาแต่ดูหน้าจอ Feed ของเพื่อนๆ แล้วยิ้มคนเดียว เพื่อนจะรู้ได้ยังไงล่ะว่าลูกคิดยังไง แม่ก็เคยเป็นนะ….ไม่ค่อยอยากบอกความคิดเรา เดี๋ยวนี้ดีออก แค่กดไลค์หรือแสดงความเห็นตามแบบของเรา เราพูดน้อยก็แสดงความเห็นน้อย คนอื่นก็พอรู้แล้วว่ามุมหนึ่งของตัวลูกเป็นแบบไหน หรือเราตามติดเพจไหน ก็แสดงว่าเราสนใจเรื่องนั้น ก็บอกตัวตนอีกมุมของเราได้ ดีออก ไม่ต้องอธิบายกันยืดยาวนะ”

งานวิจัยของมหาวิทยาลัยสองแห่งในประเทศเยอรมันพบว่าการเล่นเฟสบุ๊คในลักษณะของผู้ติดตามโดยไม่อัพเดตของตนเอง กระตุ้นความอิจฉาและรู้สึกไม่พอใจมาก และจะรุนแรงขึ้นเมื่อได้เห็นรูปที่เพื่อนๆ ไปเที่ยว

3. ชวนอ่านตัวเอง

“ถ้าลูกกดไลค์สิ่งที่ไม่ชอบ แสดงว่านั่นไม่ใช่ตัวลูก แต่ก็ต้องถามว่าลูกต้องการอะไร ถ้าทำเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้คนอื่นทั้งที่รู้จักและไม่รู้จักได้มองอย่างนั้น ลูกอยากให้ตัวเองเป็นแบบนั้นจริงหรือเปล่า”

การศึกษาของ The Human–Computer Institute at Carnegie Mellon พบว่า การรับรู้กิจกรรมทางโซเชียลของคนที่ไม่ได้รู้จักกันในชีวิตจริงและพยายามสร้างตัวตนหรือรักษาภาพลักษณ์ของตัวเองมากเกินไป สัมพันธ์กับความรู้สึกซึมเศร้าและยิ่งเหงาของเด็กๆ

4. โลกออนไลน์เป็นเพียงส่วนเดียวของชีวิต

“การโพสต์สิ่งต่างๆ ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นรายวันหรอกลูก แต่ละคนมีช่วงเวลาที่สวยหรูต่างกันไป นำเสนอเรื่องดีของตัวเอง และมักไม่พูดถึงสิ่งไม่ดี การรู้จักแยกแยะ ไตร่ตรองเรื่องที่เราติดตามถึงจะช่วยให้ลูกเป็นตัวเองมากขึ้น เพราะลูกรู้ว่าในโลกออนไลน์ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ยังมีอะไรอีกเยอะที่เราไม่รู้หรอก”

ผลการศึกษาของ Cornell University ปี 2011 พบว่า กลุ่มเด็กที่พ้นวัยรุ่นแล้วและเริ่มเล่นโซเชียลเน็ตเวิร์กด้วยตัวเองได้ดี เป็นกลุ่มเด็กที่รู้จักคัดกรองข้อมูลหรือเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม จึงมีความมั่นใจและรู้จักนำเสนอจุดเด่นของตัวเองออกมา ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีพ่อแม่หรือผู้ปกครองช่วยแนะนำหรือส่งเสริมให้เข้าใจการใช้โซเซียลมีเดียมาตั้งแต่ก่อนเข้าวัยรุ่น

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

ภาพ: Shutterstock

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up