โรคทางเดินอาหาร ทารก

5 โรคทางเดินอาหารยอดฮิตพบบ่อยในช่วงวัยขวบปีแรก

Alternative Textaccount_circle
event
โรคทางเดินอาหาร ทารก
โรคทางเดินอาหาร ทารก

4) ท้องผูก

ลูกท้องผูก
เครดิตภาพ : sittercity.com

สาเหตุ ลูกท้องผูก

ยังหาสาเหตุที่ชัดเจนไม่ได้เช่นกันครับ มักพบเมื่อทารกอายุ 6 เดือนขึ้นไป โดยผู้ดูแลทารกอาจสังเกตว่าเริ่มถ่ายอุจจาระแข็งขึ้นหรือถ่ายห่างขึ้นหลังได้เริ่มทานอาหารเสริมอื่นๆ เพิ่มขึ้น และการเปลี่ยนนม

อาการ

ถ่ายอุจจาระยากหรือถ่ายแข็ง เป็นก้อนหรือเป็นเม็ด อาจพบการเจ็บทวารหนักขณะถ่ายอุจจาระ หรือมีเลือดหยดตามการถ่ายอุจจาระ หรือมีเลือดเคลือบอุจจาระซึ่งมักเกิดจากแผลปริที่ทวารหนัก เด็กอาจกินได้น้อยลง ร้องกวนอย่างไรก็ตาม ทารกบางคนอาจไม่ถ่ายอุจจาระทุกวัน แต่ถ่ายอุจจาระนิ่มดี อาจยังไม่นับว่าท้องผูก จึงควรสังเกตทั้งลักษณะและความถี่ของการถ่ายอุจจาระควบคู่กันไป

การดูแล เมื่อลูกท้องผูก

กินนมในปริมาณที่เหมาะสม ควรจำกัดการให้น้ำเปล่า โดยเฉพาะในทารกก่อนอายุ 6 เดือน หากทารกยังถ่ายอุจจาระแข็ง อาจลองให้กินน้ำลูกพรุนได้สัก 1-2 ออนซ์ และไม่ควรสวนทวารหนักเพราะอาจทำให้เคยชินและลำไส้ใหญ่ส่วนปลายไม่ได้รับการกระตุ้นให้ขับถ่ายได้ตามธรรมชาติ

บทความแนะนำ ตารางเปรียบเทียบสารอาหารใน ลูกพรุนและน้ำลูกพรุน แก้อาการท้องผูก

 

5) การติดเชื้อในทางเดินอาหารแบบเฉียบพลัน

ติดเชื้อในทางเดินอาหาร
เครดิตภาพ : diseasespictures.com/

สาเหตุ ทารกติดเชื้อในทางเดินอาหาร

พบบ่อยจากการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ซึ่งมาจากอาหารและน้ำที่ไม่สุก ไม่สะอาด การล้างขวดนมไม่ดี หรือการติดเชื้อโรคมาจากพี่น้องที่ไปโรงเรียน หรือคนในบ้านติดเชื้อมาก่อน

อาการ ทารกติดเชื้อในทางเดินอาหาร

ไข้ อาเจียน ท้องเสียหรือถ่ายเหลวมากขึ้น รวมถึงการถ่ายเป็นมูกเลือด ปวดท้อง ร้องกวน และอาจพบสัญญาณของการขาดน้ำ ได้แก่ ปากแห้ง ร้องไห้ไม่มีน้ำตา ปัสสาวะออกน้อยลง ซึม โดยเฉพาะในเด็กที่กินอาหารหรือดื่มน้ำไม่ได้ อาเจียนมาก หากพบสัญญาณของการขาดน้ำดังกล่าว หรือ ไข้สูงร่วมกับท้องเสียเป็นมูกเลือด ควรพาลูกมาพบแพทย์

การดูแล ทารกติดเชื้อในทางเดินอาหาร

การให้ลูกดื่มน้ำผสมผงเกลือแร่ในช่วงเวลาที่ท้องเสียหรืออาเจียน ร่วมกับการกินนมเดิมต่อตามปกติในช่วงแรก จะช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำได้ระดับหนึ่ง เพราะผงเกลือแร่จะมีทั้งเกลือแร่ที่สำคัญและน้ำตาล ที่บรรเทาและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

บทความแนะนำ  รู้ทัน…ไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ในเด็ก

สุดท้ายนี้ อยากให้คำแนะนำว่า โรคทางเดินอาหารในทารก หลายโรคดังกล่าวอาจยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด รวมทั้งไม่มีวิธีการป้องกันที่ได้ผลเต็มที่ แต่การมีความรู้ความเข้าใจในภาวะดังกล่าว รวมไปถึงการดูแลเบื้องต้นเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ดูแลเด็กควรหมั่นศึกษา ควรหมั่นสังเกตอาการต่างๆ ที่ผิดปกติของทารกอย่างสม่ำเสมอ และอยากฝากว่าการใช้ยาอาจไม่ใช่คำตอบทั้งหมดของการดูแลรักษากลุ่มโรคทางเดินอาหารในทารกที่พบบ่อย


บทความโดย รศ.นพ.พรเทพ ตั่นเผ่าพงษ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นิตยสาร Amarin Baby & Kids เดือนมกราคม 2560

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up