โรคทางเดินอาหาร ทารก

5 โรคทางเดินอาหารยอดฮิตพบบ่อยในช่วงวัยขวบปีแรก

Alternative Textaccount_circle
event
โรคทางเดินอาหาร ทารก
โรคทางเดินอาหาร ทารก

รศ.นพ.พรเทพ ตั่นเผ่าพงษ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จะมาแนะนำให้รู้จัก 5 โรคทางเดินอาหารในทารก ที่พบบ่อยในช่วงวัยขวบปีแรก พร้อมการดูแลอย่างถูกวิธีค่ะ

5 โรคทางเดินอาหารในทารก ที่พบบ่อยที่สุด

1) กรดไหลย้อน

กรดไหลย้อน ทารก

สาเหตุ กรดไหลย้อนในทารก

กรดไหลย้อนอาจเกิดขึ้นได้ 30-40% ในเด็กทารกในช่วงอายุ 3-4 เดือนแรกหลังเกิด เชื่อว่าเกิดจากรอยต่อหรือหูรูดระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารของทารกยังทำงานไม่แข็งแรง อาจพบการคลายตัวเป็นระยะๆ ทำให้เมื่อทารกกลืนนมลงไป ซึ่งโดยปกตินมจากหลอดอาหารจะลงสู่กระเพาะอาหารและไปยังลำไส้เล็ก แต่หากนมที่กินยังไม่ทันลงไปสู่ลำไส้เล็กเต็มที่ แต่นมกับน้ำย่อยกลับไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหารแทน จนทำให้ลูกมีอาการกรดไหลย้อน และแหวะนมหรืออาเจียนออกมา

อาการ กรดไหลย้อนในทารก

ลูกอาจมีอาการแหวะนมโดยอาจแหวะเพียงวันละ 2-3 ครั้ง หรือบางคนแหวะเกือบทุกมื้อ ปริมาณมากน้อยแตกต่างกัน  ซึ่งหากสามารถกินนมได้ตามปกติ น้ำหนักขึ้นดี และไม่มีอาการผิดปกติอื่นแบบนี้อาจถือว่าเป็นภาวะกรดไหลย้อนที่ไม่อันตราย สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยโดยยังไม่จำเป็นต้องทำการรักษาหรือตกใจจนรีบพามาพบแพทย์ทันที  เว้นแต่ในกรณีลูกแหวะนมบ่อยมาก อาเจียนบ่อยหลังกินนม อาเจียนพุ่ง อาเจียนเป็นเลือดหรือเป็นน้ำดี งอแง ร้องไห้กวนรุนแรง น้ำหนักไม่เพิ่มขึ้นหรือน้ำหนักลด ซึ่งเป็นอาการที่รุนแรงมากขึ้น ควรพิจารณาพาทารกมาพบแพทย์

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

การดูแล เมื่อลูกเป็นกรดไหลย้อน

วิธีการช่วยเหลือและแก้ไขเมื่อลูกแหวะนม คือการทำให้เรอเพื่อไล่ลมที่อยู่ในกระเพาะอาหาร เพื่อให้ในกระเพาะอาหารเหลือเพียงนมให้ย่อย จะช่วยดูแลอาการกรดไหลย้อนเบื้องต้นได้ ส่วนอีกวิธีการที่ช่วยป้องกันกรดไหลย้อนในทารกคือ การอุ้มให้หัวสูงสัก 20-30 องศา ประมาณสัก 20-30 นาทีหลังจากกินนมเสร็จ ไม่ควรให้ลูกนอนราบทันที  โดยเชื่อว่าการอุ้มลักษณะนี้อาจช่วยให้นมไหลย้อนกลับขึ้นหลอดอาหารลดลงได้

กรดไหลย้อนในทารกนี้ มักดีขึ้นตามอายุและพัฒนาการของทารกทำให้ทารกประมาณ 90-95% จะหายหรือดีขึ้นจากกรดไหลย้อนได้ภายใน 1 ปี

 บทความแนะนำ สำลักนมคร่าชีวิตลูกน้อย อันตรายที่คาดไม่ถึง

อ่านต่อ>> โรคทางเดินอาหารยอดฮิตในทารก คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up