อุบัติเหตุฉุกเฉิน 72 ชม.รักษาฟรี! ทุกโรงพยาบาล

event

หลักการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสีแดง 25 กลุ่มอาการ มีดังต่อไปนี้

1. ปวดท้องบริเวณหลัง เชิงกราน และขาหนีบ 13. พิษ รับยาเกินขนาด
2. แพ้ยา แพ้อาหาร แพ้สัตว์ต่อย แอนาฟิแล็กซิส ปฏิกิริยาภูมิแพ้ 14. มีครรภ์ คลอด นรีเวช
3. สัตว์กัด 15. ชัก มีสัญญาณบอกเหตุการณ์ชัก
4. เลือดออกโดยไม่ได้มีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บ 16. ป่วย อ่อนเพลีย อัมพาตเรื้อรัง ไม่ทราบสาเหตุจำเพาะ
5. หายใจลำบาก หายใจติดขัด 17. อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง สูญเสียความรู้สึก ยืนหรือเดินไม่ได้เฉียบพลัน
6. หัวใจหยุดเต้น 18. ไม่รู้สติ ไม่ตอบสนอง หมดสติชั่ววูบ
7. เจ็บแน่นทรวงอก หัวใจ มีปัญหาทางด้านหัวใจ 19. เด็ก กุมารเวช
8. สำลัก อุดกั้นทางเดินหายใจ 20. ถูกทำร้าย
9. เบาหวาน 21. ไหม้ ลวกเหตุความร้อน สารเคมี ไฟฟ้าช็อต
10. ภาวะฉุกเฉินเหตุสิ่งแวดล้อม 22. ตกน้ำ จมน้ำ บาดเจ็บทางน้ำ
11. ปวดศีรษะ ภาวะผิดปกทางตา หู คอ จมูก 23. พลัดตกหกล้ม อุบัติเหตุ เจ็บปวด
12. คลุ้มคลั่ง ภาวะทางจิตประสาท อารมณ์ 24. อุบัติเหตุยานยนต์ และ 25. อื่นๆ

 

หากมีข้อสงสัย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จะเป็นหน่วยงานกลางคอยให้คำปรึกษา และให้ความเห็นภายใน 15 นาที ทั้งนี้ในเรื่องของคำนิยาม “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต” หน้าห้องฉุกเฉินของรพ.ต่างๆ เพื่อให้ญาติผู้ป่วย และประชาชนทั่วไปได้รับทราบ ซึ่งจะเป็นเบื้องต้นเท่านั้น เนื่องจากข้อเท็จจริงแพทย์ฉุกเฉินทราบเรื่องนี้แล้ว อย่างไรก็ตาม สำหรับกลุ่มอาการฉุกเฉินวิกฤต หลักๆ มี 6 กลุ่ม คือ

  1. หัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจ ไม่ตอบสนองต่อการเรียกหรือกระตุ้น ไม่มีชีพจร จำเป็นต้องได้รับการกู้ชีพทันที
  2. การรับรู้ สติเปลี่ยนไป บอกเวลา สถานที่ คนที่คุ้นเคยผิดอย่างเฉียบพลัน
  3. ระบบหายใจมีอาการดังนี้  ไม่สามารถหายใจได้ปกติ หายใจเร็ว แรง และลึก หายใจมีเสียงดังผิดปกติ พูดได้แค่สั้นๆ หรือร้องไม่ออก ออกเสียงไม่ได้ สำลักอุดทางเดินหายใจกับมีอาการเขียวคล้ำ
  4. ระบบไหลเวียนเลือดวิกฤติอย่างน้อย 2 ข้อ คือ ตัวเย็นและซีด เหงื่อแตกจนท่วมตัว หมดสติชั่ววูบ หรือวูบเมื่อลุกยืนขึ้น
  5. อวัยวะฉีกขาด เสียเลือดมาก เสี่ยงต่อการพิการ
  6. อาการอื่นๆ ที่มีภาวะเสี่ยงต่อชีวิตสูง เช่น เจ็บหน้าอกรุนแรงแขนขาอ่อนแรงทันทีทันใด  หรือกำลังชักขณะแรกรับที่จุดคัดแยก

รักษาฟรี ผู้ป่วยฉุกเฉิน

หากสังเกตว่าลูกน้อยหรือคนในบ้านมีอาการดังกล่าว ควรรีบพาไปโรงพยาบาลเเพื่อทำการรักษาโดยด่วนนะคะ เพื่อความปลอดภัยของชีวิต

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจากและภาพจาก
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านการแพทย์ฉุกเฉินไทย
 , www.nationtv.tv , www.tnews.co.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up