ตารางจดบันทึกลูกดิ้น

แจก ตารางจดบันทึกลูกดิ้น พร้อมวิธีนับลูกดิ้น เพื่อความปลอดภัยของลูกในท้อง

event
ตารางจดบันทึกลูกดิ้น
ตารางจดบันทึกลูกดิ้น

แจกฟรี! แบบฟอร์ม ตารางจดบันทึกลูกดิ้น ..หากคุณแม่ท้องอยากรู้ว่าลูกในท้องยังแข็งแรงดีอยู่หรือไม่ ต้องรู้ วิธีนับลูกดิ้น พร้อมจดบันทึก การดิ้นของลูก ทุกครั้ง เพื่อจะได้รู้ว่าลูกในท้องยังปลอดภัยดี!

ตารางจดบันทึกลูกดิ้น พร้อมวิธีนับลูกดิ้น
เพื่อความปลอดภัยของลูกในท้อง

ลูกดิ้นดี…มีชัยไปกว่าครึ่ง!

ทารกสามารถดิ้นได้ตั้งแต่อายุ 8 สัปดาห์ หรือเทียบเท่าผลองุ่น 1 ลูก แต่กว่าคุณแม่จะรู้สึกว่า ลูกดิ้น นั้นก็เป็นช่วงไตรมาสที่ 2 แล้ว โดยในท้องแรกอาจจะรู้สึกถึงการดิ้นของลูกน้อยในท้องได้ เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 18 – 20 สัปดาห์ แต่ถ้าในการตั้งครรภ์ท้องต่อๆ มาจะรู้สึกได้เร็วกว่า คือตั้งแต่อายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์ เพราะคุณแม่มีประสบการณ์เคยสัมผัสลูกดิ้นมาก่อนนั่นเอง หรืออาจขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่น คุณแม่หน้าท้องหนา เป็นต้น แต่ถ้าเมื่อไหร่ 25 สัปดาห์แล้วยังสัมผัสไม่ได้ว่าลูกดิ้น แนะนำให้คุณแม่ไปพบสูติแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดค่ะ

ตารางจดบันทึกลูกดิ้น
ลูกน้อยขณะอยู่ในท้อง

ซึ่งทางการแพทย์ก็ได้มีงานวิจัยโดยการทำอัลตราซาวน์พบว่า… การดิ้นของลูกน้อยในครรภ์ เกิดจากหลายอิริยาบถ เช่น ก้ม โค้ง สะอึก หมุนตัว หายใจ กำมือ ยืดแขน ยืดขา เตะ กระตุก พยักหน้า หาว ดูดนิ้ว แลบลิ้น ฯลฯ แต่การตอดต่อเนื่องยาวๆ ไม่นับว่าเป็นการดิ้น  ซึ่งการดิ้นที่คุณแม่มักรู้สึกได้คือ การเคลื่อนไหวของแขนขา และลำตัวของลูกน้อย โดยหากลูกกำลังเคลื่อนไหวแขนขา คุณแม่จะรู้สึกว่าลูกดิ้น ร้อยละ 50 ของการดิ้นจริง แต่หากลูกเคลื่อนไหวแขนขาและลำตัวพร้อมกัน คุณแม่จะรู้สึกว่าลูกดิ้น ร้อยละ 38-80 ของการดิ้นจริง ซึ่งลูกจะเคลื่อนไหวทั้งวันในช่วงที่ตื่นและจะเคลื่อนไหวมากที่สุดในช่วงกลางคืน

ทำไมลูกถึงดิ้น

เมื่อเวลาผ่านไปลูกก็จะเจริญเติบโตขึ้น มีการงอ และยืดแขนขาทำให้คุณแม่รู้สึกว่า ลูกถีบ ศอก หรือพลิกตัว เมื่อคุณแม่ตกใจลูกก็จะดิ้นตามอารมณ์หรือเสียงที่ดัง เมื่อคุณขยับ และลูกอยู่ในตำแหน่งที่ไม่สบายลูกก็จะขยับตัว การรับประทานอาหารบางประเภทจะทำให้ลูกดิ้นมากขึ้น เมื่อคุณหลับคุณก็จะรู้สึกว่าลูกหลับด้วย

Good to know : ลูกน้อยในครรภ์จะมีช่วงหลับและตื่นไม่ตรงกันกับคุณแม่ ช่วงระยะเวลานอนหลับของลูกน้อยในครรภ์ ต่อรอบนาน 20 นาที ถึง 2 ชั่วโมง นอกจากนี้แล้วลูกน้อยในครรภ์ยังมีการดิ้นในแต่ละช่วงเวลาของวันไม่เท่ากัน โดยพบว่าจะดิ้นมากระหว่าง เวลา 21.00-01.00 น. และจะดิ้นมากเมื่อมารดารับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆ

 อ่านต่อ >> วิธีการนับลูกดิ้นเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยในท้อง” คลิกหน้า 2

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up