ลูกเอาแต่ใจตัวเอง

ลูกเอาแต่ใจตัวเอง รับมืออย่างไรดี?

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกเอาแต่ใจตัวเอง
ลูกเอาแต่ใจตัวเอง

วิธีการแก้ปัญหาลูกน้อยเอาแต่ใจ

1.หลังจากที่ลูกโตเกิน 2 ขวบ นิสัยเอาแต่ใจตัวเองควรที่จะค่อยๆ หายไป แต่ถ้ายังแสดงออกถึงความเอาแต่ใจอย่างต่อเนื่อง คุณพ่อ คูณแม่ควรพูดคุยกับลูกจริงจัง ว่าลูกควรเลิกพฤติกรรมอะไรบ้าง

2.ตั้งกฎเกณฑ์ภายในบ้าน เช่น ใช้คำว่า “อย่า” เท่าที่จำเป็น ตั้งเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ชัดเจน ไม่ใจอ่อน และยอมให้กับพฤติกรรมกรีดร้องอาละวาดมาเอาชนะกฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้ได้

banner300x250

3.ให้ตัวเลือกกับลูก เพื่อให้เขาได้ตัดสินใจ เช่น เลือกเสื้อผ้าที่ใส่ อาหารที่รับประทาน หนังสือที่จะอ่าน เพื่อให้ลูกเข้าใจว่าตอนไหนบ้างที่ลูกเลือกได้ และตอนไหนบ้างที่ต้องทำตามคำสั่ง หรือกฎที่กำหนดไว้

4.ถ้าเป็นเรื่องของความปลอดภัย และกฎเกณฑ์ของสังคม ลูกต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เช่น คาดเข็มขัดนิรภัย หรือนั่งคาร์ซีทสำหรับเด็ก ไม่ทำร้ายร่างกายผู้อื่น และไม่ทำลายข้าวของ เป็นต้น

ลูกเอาแต่ใจตัวเอง

5.เมื่อลูกต่อต้านต้องเตรียมตัวรับมือ เพราะไม่มีเด็กเอาแต่ใจคนไหนยอมทำตามได้ง่ายๆ ควรอธิบายให้ลูกเข้าใจถึงความจำเป็น และความต้องการ เพื่อให้ลูกแยกแยะให้ชัดเจน สนับสนุนให้ลูกทำในสิ่งที่จำเป็น

6.เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก ให้ลูกมีส่วนร่วมแสดงความเสียสละ อดทน และควบคุมตัวเอง และไม่ปกป้องลูกมากจนเกินไป ไม่อำนวยความสะดวกให้ลูกมากเกินจำเป็น ปล่อยให้ลูกเรียนรู้บางเรื่องด้วยตัวเอง

7.เสริมสร้างความมั่นใจ และการแก้ปัญหาให้ลูก สอนลูกมีความอดทนอดกลั้นต่ออารมณ์ เพราะทุกอย่างไม่สามารถเป็นได้ดังใจ สอนให้ลูกรู้จักการรอคอย ควบคุมอารมณ์โกรธ

8.ไม่ชมลูกเกินจำเป็น ควรให้คำชมเมื่อลูกทำความดี หรือสามารถทำสิ่งที่ยากได้สำเร็จ จงจำไว้ว่าการรักลูก ต่างจากการตามใจลูก แสดงความรักต่อลูก ด้วยการสอนให้ลูกเก่ง ซื่อสัตย์ ใส่ใจความรู้สึกของคนอื่น

เครดิต: ถามครู.com, โรงเรียนอนุบาลเศรษฐบุตร

Save

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up