5 อาการแม่ท้อง ที่พร้อมรับมือได้

TOP 5 อาการแม่ท้อง ที่พร้อมรับมือได้

Alternative Textaccount_circle
event
5 อาการแม่ท้อง ที่พร้อมรับมือได้
5 อาการแม่ท้อง ที่พร้อมรับมือได้

เพราะการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ฮอร์โมนและการเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ ต้องทำให้คุณแม่ท้องต้องเผชิญกับอาการต่างๆ แต่เชื่อไหมคะว่า ทุกอย่างป้องกัน หรือบรรเทาลงได้ด้วยฝีมือคุณแม่เอง เราจึงขอแนะนำ 5 อาการยอดฮิตที่คุณแม่ป้องกันและรับมือได้ เพื่อไม่ให้อาการรุนแรงหรือทำให้คุณแม่ไม่สบายจนส่งผลต่อสุขภาพได้

 

5 อาการแม่ท้อง ที่พร้อมรับมือได้…

ไม่ว่าจะท้องแรกหรือท้องสองก็มักพบว่า 5 อาการแม่ท้อง ที่พร้อมรับมือได้ สบายๆ ถ้ารู้เท่าทันอาการคุณแม่ท้องก็สามารถแก้ไข และบรรเทาอาการได้ไม่ยากค่ะ ไม่ดูกันค่ะว่า 5 อาการยอดฮิตที่มักเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์นั้นมีอะไรบ้าง แล้วคุณแม่ท้องต้องรับมือยังไงให้อยู่หมดกันค่ะ

5 อาการแม่ท้อง ที่พร้อมรับมือได้

แพ้ท้อง เกิดจากกลไกของร่างกายคุณแม่และฮอร์โมนที่สร้างขึ้นจากรกในขณะตั้งครรภ์ ทำให้คุณแม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน

เวียนศรีษะ พะอืดพะอม เหม็นอาหาร

พร้อมรับมือ…

– กินอาหารน้อยๆ แต่บ่อยมื้อ ทานอาหารที่ย่อยง่ายมีสารอาหารที่มีคุณค่า เลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง

– เช้าตื่นนอนอาจดื่มน้ำผลไม้สดกับขนมปังกรอบหรือจิบน้ำขิงอุ่นๆ

– พยายามหาอาหารหรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวทานเล่นระหว่างวัน

– ทานยาแก้แพ้ท้องและยาวิตามินบี 6  ตามแพทย์สั่ง เพื่อบรรเทาอาการ

5 อาการแม่ท้อง ที่พร้อมรับมือได้

ท้องอืด จุกเสียดแน่นท้อง คุณแม่จะมีอาการจุกเสียดท้อง เริ่มจากกระเพาะไปสู่หลอดอาหาร สาเหตุจากเกิดจากหลายปัจจัย

ทั้งอาหารย่อยช้า มีกรดในกระเพาะอาหารมาก และการที่มดลูกที่ไปดันกระเพาะอาหาร

พร้อมรับมือ…

– ทานอาหารที่ย่อยง่าย งดเว้นอาหารที่ย่อยยาก เช่นอาหารมันๆ และควรแบ่งทานอาหารเป็นมื้อย่อย บ่อยๆ มื้อ วันละ 5-6ครั้ง

– หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำระหว่างรับประทานอาหาร งดอาหารที่ทําให้เกิดแก๊ส และอาหารรสจัด

– งดรับประทานอาหารก่อนออกกําลังกาย งดดื่มสุรา และสูบบุหรี่

5 อาการแม่ท้อง ที่พร้อมรับมือได้

ตะคริว สาเหตุเกิดจากการขาดแคลเซียม ร่วมกับมีเลือดไหลมาคั่งอยู่ที่บริเวณน่องมากขึ้นทําให้กล้ามเนื้อหดตัว คุณแม่จะมีอาการน่องแข็ง เจ็บปวด มักจะเกิดในช่วงกลางคืน

พร้อมรับมือ…

– กินอาหารที่มีแคลเซียมเพิ่ม เช่น ดื่มนม วันละ 1-2 แก้ว โยเกิร์ต ปลาเล็ก ปลาน้อย ปลาป่น กุ้งแห้ง ผักใบเขียวเข้มและกินยาแคลเซียมตามแพทย์สั่ง

– เมื่อเป็นตะคริว พยายามเหยียดขาออกไปให้ตึงที่สุด และดัดปลายเท้าให้กระดกขึ้นไว้นาน 20 – 30 วินาทีอาการตะคริวจะค่อยๆ หายไป

5 อาการแม่ท้อง ที่พร้อมรับมือได้

ปวดหลัง สาเหตุเกิดจากมดลูกที่มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากขึ้นทําให้หลังคุณแม่ต้องรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมากจนปวดหลัง

พร้อมรับมือ…

– ใส่รองเท้าส้นเตี้ย และพยายามเดิน ลุก นั่งในท่วงท่าที่หลังตรง ถูกต้อง

– ไม่ยกของหนัก ไม่ก้มยกของ และไม่ควรยืนนาน หมั่นออกกําลังบริหารกล้ามเนื้อ

– นั่งบนเก้าอี้ที่มีพนักพิงและหาหมอนใบเล็กๆหนุนที่หลัง ที่นอนต้องไม่แข็งเกินไป

 

ท้องผูก เป็นอาการยอดฮิตที่เกิดได้จากหลายสาเหตุทั้ง ภูมิคุ้มกันของคุณแม่ที่ลดลง ฮอร์โมนที่ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวช้า มดลูกไปกดทับหรือ เบียดกระเพาะอาหารและลำไส้ รวมถึงการกินอาหารที่มีกากใยน้อย ทำให้คุณแม่ขับถ่ายลำบาก หรือบางคนท้องผูกมากต้องเบ่งถ่าย เป็นเวลานาน จนอาจทำให้เป็นริดสีดวงทวารได้ด้วย

พร้อมรับมือ…

– ฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา อย่ากั้นอุจจาระโดยไม่จำเป็น และพยายามเคลื่อนไหวออกกำลังกายเช่น เดิน หรือบริหารร่างกาย

เบาๆ เพื่อช่วยกระตุ้นลำไส้คุณแม่ให้ทำงานได้ดีขึ้น 1,2,3

– ปรับวิธีในการทานอาหารเป็นหนึ่งวิธีที่ช่วยป้องกันและ บรรเทาอาการท้องผูกให้คุณแม่ได้ดี นั่นคือ

  • ทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้เป็นประจำทุกวัน ทุกมื้อ อาทิ กินผักมื้อละ 2 ทัพพี กินผลไม้มื้อละ 2 ส่วน (ผลไม้

1 ส่วนเท่ากับกล้วยน้ำว้า 1 ผล/ ส้มเขียวหวาน 2 ผลกลาง/ เงาะ 4 ผล/ มะละกอ 6 ชิ้นพอคำ) 4

  • เลือกดื่มนมและอาหารที่มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เพื่อช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น เช่น ทานโยเกิร์ตที่มี

ส่วนประกอบของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ หรือนมที่มีจุลินทรีย์สายพันธุ์ที่มีประโยชน์ เช่น L.rhamnosus  (LGG), L.reuteir, B.lactis, B.infantis

  • ดื่มน้ำสะอาดให้มากวันละ 6-8 แก้ว จะช่วยเพิ่มประมาณน้ำในร่างกาย ช่วยในการขับถ่ายได้มากขึ้น

 

 

 


ข้อมูลอ้างอิง :    1. 7 อาการป่วนตอนท้อง (http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/513_1.pdf)

  1. คู่มือโรงเรียนพ่อแม่ฉบับหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  2. คู่มือ สุขใจ ได้เป็นแม่ กองอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ(UNFPA)
  3. โปสเตอร์โภชนาการหญิงตั้งครรภ์ เพื่อลูกมีน้ำหนักแรกเกิดมากกว่า 2,500 กรัม เอกสารเผยแพร่ กรมอนามัย สำนักโภชนาการ กระทรวงสาธารณสุข

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up