คลอดลูก หมอตำแย

ทำความรู้จักกับการ คลอดลูก หมอตำแย โบราณ คลิก!

Alternative Textaccount_circle
event
คลอดลูก หมอตำแย
คลอดลูก หมอตำแย

เรื่องเล่าการ คลอดลูก หมอตำแย โบราณ

“หมอตำแย” หนึ่งในอาชีพโบราณ ที่สมัยนี้หายากขึ้นทุกทีไป ซึ่งเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับหมอตำแยนั้นมีมากมายค่ะโดยเฉพาะอย่างยิ่งในท้องถิ่นที่ยังไม่ได้รับความเจริญเ ช่นปัจจุบัน หมอตำแยของไทยจะมีฐานะที่เป็นที่ยอมรับในสังคมมาก หมอตำแยมักจะไปให้บริการตามบ้านของผู้ที่จะคลอด จนกระทั่งประเทศไทยได้มีการเปิดการเรียนการสอนในวิชาผดุงครรถ์ ในเวลาต่อมา จึงทำให้คนไทยได้เรียนรู้เรื่องการทำคลอดมากขึ้น และ แน่นอนว่าวิชาที่เป็นหลักการและเอกสารนั้นมักจะมาจากต่างประเทศ

คลอดลูก หมอตำแย       
ในอดีตนั้นประเทศไทยจะไม่มีหมอตำแยที่เป็นผู้ชายเลย ซึ่งสอดคล้องกับ หมอตำแยของฝรั่งที่เราเรียกว่า “midwives” อันหมายถึง บุคคลในระดับชั้นสูงที่ทำหน้าที่ทำคลอด เนื่องจากบุคคลที่จะทำคลอดในสมัยแรกเริ่มของโลกนั้นชาวตะวันตกมองว่าเป็นหน้าที่ของชนชั้นสูงในสังคม และเป็นหน้าที่ของสตรีเท่านั้น โดยการเป็นผู้ทำคลอดนี้ถือว่าเป็น หน้าที่ที่ควรได้รับค่าตอบแทน และการยอมรับต่อสาธารณะเป็นอย่างยิ่ง การเรียนรู้ในเรื่องการทำคลอดตลอดจนการประดิษฐอุปกรณ์ต่าง ๆ และได้สอนต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้หน้าที่ของหมอตำแยนั้นพัฒนาการข้ามไปสู่เรื่องศาสตร์ของการผ่าตัด ซึ่งในตอนนั้นศาสตร์นี้ ยังไม่เป็นที่ยอมรับและยกย่องมากนัก การพัฒนาการของการทำคลอดได้ผ่านมาจนถึง การศึกษาอย่างจริงจังในเรื่อง “ สูติศาสตร์ หรือ Obstetrics” นั่นเองค่ะ

ที่มาของ “หมอตำแย”

การ คลอดลูก หมอตำแย โบราณนั้นคืออะไร แล้วคำว่า “หมอตำแย” นั้นเริ่มจากการที่ในสมัยก่อนนั้นผู้ที่ช่วยทำคลอดส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้หญิงที่มากประสบการณ์ โดยชาวบ้านจะรู้จักกันในนาม “หมอตำแย” ซึ่งคำเดียวกันนี้ ศัพท์สาธารณสุขใช้ ‘ผดุงครรภ์โบราณ’ ถ้าดูจากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ คำว่าตำแย อีกความหมายหนึ่งก็คือ คำที่ใช้เรียกหญิงผู้ทําคลอดตามแผนโบราณว่า หมอตําแย (มาจากมหาเถรตําแย ผู้ทําตําราว่าด้วยวิชานี้) น่าสังเกตว่าชื่อ “ตำแย” ไม่ปรากฏในคำบาลีเลย คงเป็นชื่อที่จำต่อๆกันมาจนเพี้ยนจากชื่อเดิม หากพิจารณาเสียงที่ใกล้เคียงกันก็น่าจะสันนิษฐานได้ว่า เป็นชื่อที่กลายมาจาก “อาเตรยะ” อาจารย์หมอของชีวกโกมารภัจ นั่นเอง

คลอดลูก หมอตำแย

“ชีวกโกมารภัจ” ไปร่ำเรียนกับมหาเถรตำแยที่สำนักทิศาปาโมกข์ในสมัยพุทธกาล อยู่เมืองตักสิลา ในแคว้นคันธาระ ปัจจุบันอยู่ในตอนเหนือของแคว้นปันจาป ประเทศปากีสถาน มีชื่อเสียงในทางศิลปวิทยา รวมทั้งวิชาการแพทย์ด้วย ในตำนานคติพุทธถือว่า”ชีวกโกมารภัจ”เป็นแพทย์หลวงประจำตัวพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธ และถือว่าเป็นแพทย์ประจำองค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยและต่อมายังได้รับยกย่องให้เป็นบรมครูของการแพทย์แผนโบราณของไทย ชื่อของมหาเถรตำแย ในความรู้จักของคนไทยจึงมีมาแต่โบราณกาล ค่อยๆตัดคำหายไป กลายเป็น ”หมอตำแย”ในสมัยก่อนยังไม่มีหมอทำคลอดแผนปัจจุบัน มีแต่ผู้หญิงที่พอจะทำคลอดเป็นเรียนสืบต่อกันมา

คุณแม่หลาย ๆ ท่านอาจจะสงสัยว่า แล้วผู้ชายเป็นหมอตำแยได้หรือไม่ คำตอบก็คือ อาชีพหมอตำแยนั้น เป็นของผู้หญิงเท่านั้น แต่ผู้ชายก็สามารถทำได้ด้วยเช่นกัน แต่อาจจะแตกต่างกันตรงหน้าที่ ยกตัวอย่างเช่น หมอตำแยผู้หญิงจะทำหน้าที่เฉพาะการทำคลอด และการทำความสะอาดเด็กเท่านั้น

ข้อห้ามสำคัญที่ครูหมอตำแยโบราณสั่งสอนมาก็คือ การห้ามบอกพ่อแม่เด็กและญาติพี่น้องว่าเด็กในท้องเป็นเพศอะไร แม้ว่าหมอตำแยจะรู้คำตอบตั้งแต่คุณแม่ท้องได้ตั้งแต่แปดเดิมแล้ว แต่ก็ไม่สามารถพูดหรือบอกใครได้ค่ะ นี่ถือเป็นข้อห้ามเดียวที่สำคัญในวิชาชีพของหมอตำแยไทยแล้วละค่ะ ว่าแต่การ คลอดลูก หมอตำแย เป็นอย่างไรอยากรู้ไปหาคำตอบนั้นพร้อม ๆ กันค่ะ

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up