เด็กกินน้ำตาลเทียมได้ไหม

Alternative Textaccount_circle
event

น้ำตาลเทียมที่นิยมใช้กันในปัจจุบันคือแอสปาร์แตม (Aspartame) ซึ่งเป็นสารที่มีความหวานมากกว่าน้ำตาล 200 เท่า ทำจากโปรตีน2 ชนิด คือ Aspartic acid และ Phenylalanineและเชื่อมต่อกันด้วยเมทานอล (Methanol) ผู้ผลิตบอกว่าสามารถใช้ได้ในคนที่เป็นโรคเบาหวาน หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร และเด็ก แต่ห้ามกินเกิน50 มก. / กก. / วัน (เพราะเมทานอลในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้ตาบอด) ห้ามใช้ในคนที่เป็นโรคPKU (Phenylketonuria ซึ่งเป็นความผิดปกติด้านการเผาผลาญ ทำให้ไม่สามารถบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของโปรตีน Phenylalanine หากมีการตรวจเลือดจากส้นเท้าทารกหลังคลอดประมาณ 3 วันก็จะทราบว่าเป็นโรคนี้หรือไม่)
อย่างไรก็ดี มีรายงานการศึกษาวิจัยบางชิ้นที่พบว่าสารแอสปาร์ติกแอซิดมีฤทธิ์ทำลายสมอง กระตุ้นให้เด็กที่เป็นโรคลมชักเกิดอาการชักได้ง่ายขึ้นและลดระดับสารเซโรโทนินในสมอง ทำให้มีอาการหดหู่และซึมเศร้า ส่วนสาร Phenylalanine มีรายงานว่าทำให้มีอาการปวดหัว มึนงง สับสน ความจำเสื่อมง่วงนอน สั่น และแขน – ขาชา ดังนั้นหากมีการใช้น้ำตาลเทียม ให้คุณแม่สังเกตความผิดปกติของลูกด้วย เพราะเด็กอาจไวต่อสารต่างๆ ไม่เหมือนกัน
หมอขอชื่นชมที่คุณแม่เป็นแม่ยุคใหม่ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการควบคุมน้ำหนักลูก และไมˆ่อยากปล่อยให้ลูกอ้วนเกินไป เพราะอาจทำให้เป็นโรคอ้วนเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ และทำให้มีปัญหาด้านสุขภาพตามมาอีกมากมาย
สิ่งสำคัญคือการปลูกฝังนิสัยการกินที่ดีแก่ลูกให้กินแต่ของที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งได้แก่อาหารหลัก 5 หมู่ ดื่มนมวันละ 1 – 3 แก้ว (ถ้าน้ำหนักเกิน ควรดื่มนมพร่องมันเนย) และกินผลไม้เป็นอาหารว่าง หลีกเลี่ยงขนมหวาน ขนมถุง ของทอด น้ำอัดลม ไอศกรีม ช็อกโกแลต เค้ก และคุกกี้ (อาจให้กินบ้างในโอกาสพิเศษ แต่ไม่ใช่กินเป็นประจำ) และชักชวนให้ลูกออกกำลังกายแทนการนั่งดูทีวีหรือเล่นเกมคอมพิวเตอร์ หมอเชื่อว่าลูกของคุณแม่จะต้องควบคุมน้ำหนักได้สำเร็จแน่ๆ ค่ะ

 

บทความโดย: แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ ด้านทารกแรกเกิด

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up