พฤติกรรมพ่อแม่

4 พฤติกรรมพ่อแม่ ที่เข้าข่าย “รักลูกจนเป็นพิษ”

Alternative Textaccount_circle
event
พฤติกรรมพ่อแม่
พฤติกรรมพ่อแม่
รักลูกไม่เท่ากัน
เครดิตภาพ : vision.org

4. รักลูกไม่เท่ากัน

ความรักแบบนี้มักเกิดในบ้านที่มีลูกหลายคน และคุณพ่อคุณแม่แสดงความรักต่อลูกแต่ละคนไม่เท่ากัน เช่น รักลูกคนโตมากกว่าลูกคนเล็ก โอ๋ลูกคนเล็กมากกว่าลูกคนโต ไม่ค่อยดูแลเอาใจใส่ลูกคนกลาง รักลูกชายมากกว่าลูกสาว รักลูกที่เรียนเก่งกว่าลูกที่เรียนด้อย พฤติกรรมการแสดงออกในความรักที่ลำเอียง รักลูกไม่เท่ากัน ของพ่อแม่จะส่งผลร้ายต่อลูกเป็นอย่างมาก โดยลูกคนที่ไม่ได้รับความรักจากพ่อแม่เท่าเทียมกับพี่น้องคนอื่นๆ อาจจะกลายเป็นเด็กที่มีนิสัยเก็บกด ขี้ใจน้อย เข้ากับคนอื่นได้ยาก เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะกลายเป็นคนมีนิสัยขี้อิจฉา ขี้หึง หวาดระแวง ทิฐิสูง มีนิสัยชอบแข่งขันเอาชนะชิงดีชิงเด่นกับคนอื่น จนตัวเองและคนรอบๆ ข้างขาดความสุข

(บทความแนะนำ ทำอย่างไร? เมื่อลูกคิดว่าพ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน)

เด็กในแต่ละวัยนั้นมีความต้องการจากพ่อแม่ไม่เท่ากัน เด็กยิ่งเล็กมากเท่าไหร่ ยิ่งต้องการการแสดงออกของความรักมากเท่านั้น ด้วยว่าไม่สามารถเข้าใจว่าอย่างไรเสียพ่อแม่ก็ต้องรักเขา แต่เด็กจะมองจากวิธีที่คุณพ่อคุณแม่แสดงออก วิธีการที่พ่อแม่อยู่กับเขาแล้วแปลเป็นความหมายของความรัก เพราะฉะนั้นในเด็กเล็กๆ คุณพ่อคุณแม่อย่ารีรอที่จะแสดงความรักกับลูก โดยการโอบกอด การจูบลูก หอมลูก บ่อยๆ หากปล่อยให้เด็กที่เติบโตมาภายใต้ความรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่รัก จะไม่เห็นคุณค่าของตัวเอง เพราะแม้แต่คนที่ควรจะรักเขายังไม่สามารถจะรักเขาได้ เด็กบางคนจะโทษตัวเองว่าเขาเป็นลูกที่แย่ หรือเป็นเด็กที่ไม่ควรจะเกิดมา คุณพ่อคุณแม่ต้องระมัดระวังตรงจุดนี้ ความรู้สึกเหล่านี้จะทำร้ายจิตใจเด็กค่อนข้างมาก เวลาที่เด็กไม่มีความรักในตัวเอง เขาก็จะไม่มีกำลังใจที่พัฒนาตัวเอง เด็กก็อาจจะมีปัญหาทางอารมณ์หรือปัญหาทางพฤติกรรม อาจจะมีลักษณะที่อารมณ์ไม่มั่นคง กลายเป็นคนซึมเศร้า แยกตัวเอง เก็บตัว หรือกลายเป็นเด็กก้าวร้าว เรียกร้องความสนใจ ก็นับได้ว่าเป็นการทำร้ายลูกเช่นกัน

ความรักเป็นสิ่งสำคัญในการหล่อหลอมเด็กให้เด็กมีพัฒนาการสมวัย และเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความมั่นคงทางจิตใจ การรักลูกในทางที่ผิด ความรักนั้นจะเป็น “พิษ” ทำร้ายลูก ให้เขาอ่อนแอเกินกว่าที่จะเผชิญสิ่งต่างๆ บนโลกนี้ได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ ควรรักลูกอย่างพอเหมาะ ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป จะทำให้เขามีสุขภาพกายและใจที่ดี เติบโตไปเป็นคนที่มีคุณภาพของสังคมต่อไป

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : ASTVผู้จัดการออนไลน์ โดย ดร.แพง ชินพงศ์, ดูลูกคิด

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up