โรคข้อสะโพกหลุดในเด็ก

โรคข้อสะโพกหลุดในเด็ก อันตราย!!

Alternative Textaccount_circle
event
โรคข้อสะโพกหลุดในเด็ก
โรคข้อสะโพกหลุดในเด็ก

วิธีรักษาตามความรุนแรงและอายุของลูก

โรคข้อสะโพกหลุดในเด็ก
ข้อสะโพกหลุด แต่กําเนิด

แรกเกิด- 6 เดือน คุณหมอจะใช้สายรัดดึงให้ขาทารกน้อยอยู่ในท่ากบ หรือไฟเบอร์กลาสที่มีลักษณะคล้ายกระดองเต่า เพื่อจัดให้หัวกระดูกสะโพกเข้าในเบ้าตามปกติ และพัฒนาข้ออย่างเหมาะสม ซึ่งจะใส่ไว้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของทารกแต่ละคน

6 เดือนขึ้นไป หากการรักษาระดับแรกไม่สำเร็จ รักษาด้วยการดึงข้อสะโพกเข้าที่ ภายในห้องผ่าตัด ตามด้วยการใส่เฝือกแข็งไว้ โดยใช้เอ็กซเรย์ CT หรือ CAT SCAN หรือ MRI เพื่อสังเกตอาการควบคู่ไปด้วย

1 ปีขึ้นไป ผ่าตัดใหญ่ เพื่อปรับแต่ง และจัดให้กระดูกสะโพกเข้าเบ้า คุณหมอจะผ่าตัดตกแต่งกระดูกพร้อมใส่แผ่นเหล็กดามไว้ หลังผ่าตัดต้องใส่เฝือกแข็งหลายเดือน และติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ถ้ารักษาแล้วจะกลับมาเป็นอีกหรือไม่

ถ้ารักษาถูกต้องจะกลับมาเป็นปกติเหมือนเด็กคนอื่นๆ ข้อสะโพกมั่นคงแข็งแรงไม่หลุดอีก แต่เด็กที่ไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาได้ไม่เต็มที่ จะยังมีปัญหาขาสั้นยาว กะเผลก และข้อสะโพกเสื่อม เจ็บเวลาเดิน

วิธีป้องกันโรคข้อสะโพกหลุด

โรคข้อสะโพกหลุดในเด็ก

  1. ตรวจอัลตราซาวด์สะโพก หรือถ่ายภาพเอ็กซเรย์
  2. ไม่มัดห่อตัวลูกแน่นเกินไป ห่อตัวลูกให้ถูกต้อง ขาจะงอได้ และเคลื่อนไหวได้สะดวก
  3. ให้ลูกนอนหงาย ไม่นอนตะแคงจนสะโพกหุบ
  4. สังเกตความผิดปกติที่ขาลูก รอยพับที่ผิวหนัง ขาที่สั้นยาว ขาที่ชี้ออกไม่เท่ากัน ท่าเดินที่ผิดปกติ
  5. รักษาตั้งแต่อายุน้อยๆ ได้ผลดีกว่าอายุมาก เด็กที่มีปัจจัยเสี่ยงมากกว่าทั่วไป ควรให้คุณหมอตรวจ
  6. เมื่อคุณพ่อคุณแม่มีข้อสงสัยว่าอาจเป็นโรคนี้ ให้พาลูกมาพบคุณหมอเพื่อตรวจอย่างละเอียด
  7. ฝากถึงคุณพ่อคุณแม่ หมั่นสังเกตเนื้อตัวแขนขาของลูกเรา ว่ามีความผิดปกติอะไรอยู่บ้าง อย่าคิด

เครดิต: โรงพยาบาลกรุงเทพ

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up