เอ็ดเวิร์ดซินโดรม

เอ็ดเวิร์ดซินโดรม โรคทางพันธุกรรมในเด็ก

Alternative Textaccount_circle
event
เอ็ดเวิร์ดซินโดรม
เอ็ดเวิร์ดซินโดรม

การรักษา

การรักษาเด็กที่เป็นโรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรมมีการรักษาที่แตกต่างกันในแต่ละคน เด็กจึงมีโอกาส 50% ที่จะเกิดมาเสียชีวิตใน 1 สัปดาห์ แต่เด็กบางคนก็ยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้จนถึงช่วงวัยรุ่น แล้วมีภาวะแทรกซ้อน พบปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการ โรคนี้น่ากลัวตรงที่ เมื่อเป็นแล้วจะไม่มีทางที่จะรักษาได้

เอ็ดเวิร์ดซินโดรม

การป้องกัน

การตรวจถุงน้ำคร่ำ ในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง หรือคุณแม่ที่เคยมีลูกที่เป็นโรคนี้มาก่อน ควรตรวจ DNA ก่อนการตั้งครรภ์ว่ามีโรคทางพันธุกรรมนี้หรือไม่ เพื่อยับยั้งการเกิดโอกาสที่ลูกน้อยจะเป็นโรคนี้ และเจาะเลือดตรวจโครโมโซมขณะตั้งครรภ์ ช่วยคัดกรองโรคทางพันธุกรรมในเด็กได้

เด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรม ได้แก่ คุณแม่ที่มีอายุมาก และคุณแม่ที่มีกรรมพันธุ์หรือความเสี่ยง หรือคนในครอบครัวทั้งฝ่ายคุณพ่อ และคุณแม่เคยมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรมมาก่อน

ผศ.พญ.มัธชุพร สุขประเสริฐ สูตินรีแพทย์ด้านเวชศาสตร์เจริญพันธุ์ ศูนย์ผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลปิยะเวท กล่าวถึงการคัดกรองโรคทางพันธุกรรมว่า เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีนส์ที่ถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่ วิธีการตรวจคือการเจาะน้ำคร่ำ เมื่อคุณแม่ท้องได้ประมาณ 4-5 เดือน จะทำให้รู้ว่ามีความผิดปกติหรือไม่

คุณหมอแนะนำว่า อาหารเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่ ให้รับประทานอาหารทุกอย่างที่มีประโยชน์ งดหรือระวังของหวาน เช่น น้ำหวาน น้ำผลไม้ เค้ก คุกกี้ ไอศกรีม โดนัท น้ำอัดลม ผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง เช่น ทุเรียน ลำไย มะม่วงสุก และนอนพักผ่อน 6-8 ชั่วโมง ถ้าตอนกลางวันง่วงก็นอนพักกลางวันประมาณ 30 นาที รับประทานยา และวิตามินตามคำแนะนำของคุณหมอ

อ่านเพิ่มเติม คลิก!!

11 โรคติดต่อ ทางพันธุกรรมจากพ่อแม่สู่ลูกและวิธีป้องกัน

SMA โรคทางพันธุกรรม ที่ต้องรู้จัก! ก่อนคิดมีลูก

โรคพันธุกรรมเมตาบอลิก ป้องกันไม่ได้ รักษาไม่หายขาด

banner300x250

เครดิต: gudhealth.com, www.nhs.uk, www.newhealthguide.org, www.thaibiotech.info, www.thaigoodview.com, www.suriyothai.ac.th, www.piyavate.com, krudutchy.blogspot.com

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up