วิธีรับมือกับลูกช่างเถียง

Alternative Textaccount_circle
event

5.ถ้าลูกแสดงอาการต่อต้านหรือร้องไห้

ควรรอให้ลูกสงบอารมณ์ตัวเองลงก่อนแล้วจึงค่อยสอนให้ลูกเข้าใจจึงวิธีการสื่อสารที่ถูกต้องลูกอาจต้องการเวลาอยู่เงียบๆ คนเดียวสักพัก หรืออยู่ตามลำพังในห้องของเขาเอง จากนั้นเมื่อลูกพร้อม ให้คุณเข้าไปกอด หรือทำให้ลูกอารมณ์ดีขึ้น

6.แนะนำวิธีที่ดีในการพูด หรือบอกให้คนอื่นเข้าใจเหตุผลของตัวเองกับลูกเช่น “หนูสามารถที่จะไม่เห็นด้วยกับบางเรื่อง แต่หนูต้องบอกแม่ว่า เพราะอะไรหนูจึงไม่เห็นด้วย แม่จะได้เข้าใจหนู แม้ว่าบางครั้งแม่จะไม่เปลี่ยนใจตามหนู แต่แม่ก็อยากรู้ว่าหนูคิดยังไง แม่อาจไม่สามารถตอบสนองความต้องการของหนูได้ แต่ก็สามารถช่วยอธิบายให้หนูเข้าใจได้ว่า ทำไมแม่ถึงต้องพูด หรือให้หนูทำอย่างนั้น”

7.ให้โอกาสลูกได้ขอโทษและแก้ตัวใหม่อีกครั้ง

เช่น “หนูพร้อมที่จะบอกในสิ่งที่หนูต้องการกับแม่ใหม่ไหม ด้วยคำพูดและน้ำเสียงที่ดีขึ้นกว่าเดิม”

บางทีลูกอาจยังไม่เข้าใจว่าคำพูดจายอกย้อนของเขาจะส่งผลอะไรให้กับใครได้ ดังนั้นคุณอาจต้องใช้วิธีสนุกๆ ในการสอนให้ลูกเข้าใจ เช่น ใช้น้ำเสียงติดตลกของตัวการ์ตูนอธิบาย หรือแสดงให้ลูกเห็นว่าวิธีการพูดที่แตกต่างกันจะให้ผลลัพธ์ที่ต่างกันอย่างไรบ้าง ซึ่งคุณจะต้องระมัดระวังว่าลูกเข้าใจจริงๆ ไม่ได้หลงคิดไปว่าคุณกำลังเล่นสนุกอยู่กับเขา

และความจริงการเถียงของลูกก็ไม่ใช่เรื่องไม่ดีอย่างเดียว แต่ก็มีประโยชน์เหมือนกัน มองด้านดีก็เป็นการฝึกให้คิดอย่างมีวิจารณญาณ แทนที่จะคิดว่าเป็นเรื่องน่ารำคาญอย่างเดียว บางทีลูกก็อยากท้าทายอำนาจของพ่อแม่ ก็เป็นการฝึกทักษะอย่างหนึ่งด้วยตัวเอง เพียงแต่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องพยายามหาทางแทรกซึมให้ลูกแปรเปลี่ยนนิสัยไม่ดีให้กลายเป็นการฝึกทักษะการคิดที่ก่อประโยชน์ได้ด้วย เพียงแต่แทนที่จะเป็นการ “เถียง” ขอให้เป็นการ “ถก” ที่ใช้เหตุใช้ผลและลดอารมณ์ลง

หากสามารถแปรเปลี่ยน “การเถียง” ให้เป็น “การถก” แล้ว นอกจากจะทำให้บรรยากาศในบ้านดีแล้ว ยังเป็นการฝึกลูกให้มีทักษะการคิดและใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาได้อีกด้วย


ขอบคุณข้อมูลจาก www.thaihealth.or.th , หนังสือพิมพ์ astv ผู้จัดการ

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up