คนท้องปวดหลัง

ปวดหลัง อาการยอดฮิตที่แม่ท้องต้องรับมือ

Alternative Textaccount_circle
event
คนท้องปวดหลัง
คนท้องปวดหลัง

ปวดหลัง อาการยอดฮิตของแม่ท้อง อาการยอดฮิตอันดับหนึ่งคงหนีไม่พ้นอาการปวดหลัง ยิ่งเข้าไตรมาสที่สองและสามอาการปวดจะยิ่งชัดเจนขึ้น และมีหลายคนถึงจะคลอดแล้วอาการปวดก็ยังตามหลอกหลอน สาเหตุเป็นเพราะอะไรกันนะมาดูสาเหตุที่ทำให้ คนท้องปวดหลัง และวิธีแก้ปวดหลังสำหรับคนท้อง กันค่ะ

ปวดหลัง อาการยอดฮิตของแม่ท้อง

ท้องแล้วทำไมต้องปวดหลัง

อาการปวดหลังเป็นหนึ่งในอาการที่ทรมานคนท้องยิ่งนัก จะลุกจะนั่งจะนอนก็ทรมานและรู้สึกรำคาญเป็นบางเวลา หลายคนแปลกใจว่าก่อนท้องไม่เห็นปวด ทำไมพอท้องแล้วปวดเหลือเกิน ซึ่งอาการปวดหลังนี้เป็นกลไกการปรับตัวหรือสรีระร่างกายตามธรรมชาติอย่างหนึ่งนั่นเอง

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ท้องทั้งหลายเกิดอาการปวดหลังว่า “กระดูกสันหลังของเราเปรียบเสมือนแกนหรือเสา มีกล้ามเนื้อมัดชุดหลังและหน้าท้องคอยประคองให้กระดูกสันหลังอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ดังนั้นหากหน้าท้องเราขยายหรือยืดตัวออก เพราะการเติบโตของเด็กในท้อง รวมถึงน้ำหนักที่มากขึ้น จะทำให้ตัวเราโน้มไปด้านหน้า ร่างกายจึงเกิดการแอ่นหลังมากกว่าปกติเพื่อให้คงความสมดุลของกระดูกสันหลังไว้เช่นเดิม ด้วยเหตุนี้กล้ามเนื้อชุดหลังจึงมีการหดเกร็ง เกิดแรงกดตรงข้อกระดูกสันหลัง ประกอบกับกล้ามเนื้อทำงานหนักอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จึงทำให้เกิดอาการปวดหลังในแม่ท้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้”

ปวดหลัง ตั้งครรภ์

คนท้องปวดหลัง มาก-น้อย ไม่เท่ากัน

อาการปวดหลังมาก-น้อยของคุณแม่แต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน บางคนก็ปวดธรรมดา เดี๋ยวเดียวก็หาย แต่กับบางคนนั้นปวดมากจนเหนื่อยใจ ซึ่งสาเหตุสำคัญอยู่ที่ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อค่ะ ดังนั้น การดูแลตัวเองทั้งความแข็งแรงของร่างกายด้วยการออกกำลังกายและโภชนาการแม่ท้องที่ถูกต้องจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญและมีผลต่ออาการปวดหลังของแม่ท้องเป็นอย่างมาก ดังนั้นหากคุณแม่คนไหนสามารถเตรียมความแข็งแรงของร่างกายก่อนตั้งครรภ์ได้ ก็ถือว่าได้ติดปีกบินไปข้างหนึ่งแล้ว ส่วนปีกอีกข้างนั้นก็คือการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ อาการปวดทั้งหลายก็จะน้อยตามไปด้วย

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

ติดตาม 7 เคล็ดลับ ช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง คลิกต่อหน้า 2

การเก็บรักษานมสต็อก

เทคนิค การเก็บรักษานมสต็อก ให้ลูกได้กินนมแม่นานถึง 2 ขวบ

Alternative Textaccount_circle
event
การเก็บรักษานมสต็อก
การเก็บรักษานมสต็อก

เป็นที่ทราบกันดีว่า องค์การอนามัยโลก หรือ WHO รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านนมแม่ทั่วโลกต่างสนับสนุนการกินนมแม่นานถึง 2 ขวบหรือมากกว่า เพราะนมแม่เป็นทั้งอาหารกายและอาหารสมองสุดวิเศษที่ช่วยให้ลูกมีภูมิต้านทานโรค ไม่เจ็บป่วยง่าย และมีพัฒนาการทางสมองที่ดี ซึ่งนอกจากการเข้าเต้าอย่างสม่ำเสมอแล้ว การทำสต็อกนมแม่จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้คุณแม่ประสบความสำเร็จในการให้นมลูกได้นานตามที่ตั้งใจ ดังนั้น การเรียนรู้วิธีเก็บรักษานมสต็อกให้คงคุณค่า ไม่เสียง่าย จึงมีความสำคัญอย่างมาก เราจึงขออาสาพาคุณแม่มารู้จัก เทคนิค การเก็บรักษานมสต็อก ที่ถูกวิธีกันค่ะ

สต็อกนมแม่…คุณเองก็ทำได้

ไม่ว่าจะเป็นคุณแม่ที่มีน้ำนมน้อยหรือ working mom ที่งานรัดตัว ก็สามารถทำสต็อกนมแม่ได้ไม่ยาก ขอเพียงมีความตั้งใจ และวินัยอย่างจริงจัง โดยเริ่มเก็บน้ำนมตั้งแต่สัปดาห์แรกหลังคลอด หมั่นกระตุ้นด้วยการให้ลูกเข้าเต้าทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง พร้อมกับปั๊มเก็บทุกครั้งหลังลูกดูดเสร็จ ในช่วงแรกคุณแม่ยังไม่ต้องกังวลนะคะ เพราะน้ำนมอาจยังไม่มา หรือได้เพียงติดก้นขวด ให้นำน้ำนมนั้นหยดใส่ปลายช้อนป้อนให้ลูก และพยายามปั๊มต่อไปเรื่อย ๆ ครั้งละ 15 นาที อีกไม่ถึง 2 สัปดาห์ คุณแม่ก็จะได้เห็นปริมาณน้ำนมที่เพิ่มมากขึ้น ๆ จนพร้อมสำหรับทำสต็อกอย่างแน่นอนค่ะ

สำหรับ working mom ที่ต้องกลับไปทำงานหลังคลอด 3 เดือน ควรกำหนดเวลาปั๊มนมในที่ทำงานให้ตรงกันทุกวัน โดยแบ่งเวลาปั๊มทุก 3 ชั่วโมง แล้วแช่ในตู้เย็นหรือในกระเป๋าเก็บความเย็นที่มีคูลแพ็คเพียงพอที่จะรักษาคุณภาพน้ำนม เพื่อนำกลับมาบ้านให้ลูกกินหรือเติมสต็อกที่ขาดไป ส่วนในวันหยุดคุณแม่ควรรักษาปริมาณน้ำนมด้วยการให้ลูกเข้าเต้าทุกมื้อ และปั๊มเก็บเป็นสต็อกนมแม่อย่างสม่ำเสมอ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อ การเก็บรักษานมสต็อกที่อุณหภูมิต่างกัน จะเก็บได้นานแค่ไหน คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

มหัศจรรย์ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สามารถสกัดกั้นเชื้อโรคได้จริง!

Alternative Textaccount_circle
event
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดีจริง! นมแม่มีประโยชน์มหาศาลกับลูกน้อย เป็นแหล่งอาหารและภูมิคุ้มกันชั้นดีของลูก รับรองด้วยผลวิจัย แบบนี้สิถึงเรียกได้ว่ามหัศจรรย์นมแม่

 

มหัศจรรย์ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สามารถสกัดกั้นเชื้อโรคได้จริง!

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดียังไง? … เพราะ นมแม่ เป็นที่ยอมรับกันในวงการแพทย์และโภชนากรทั่วโลกแล้วว่า เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกในระยะแรก ด้วยนมของสัตว์ชนิดใดก็เหมาะกับความเจริญเติบโตของลูกสัตว์ชนิดนั้น นมของวัวจึงเหมาะกับลูกวัว และนมคนก็เหมาะกับลูกคน ดังนั้นถ้าไม่มีความจำเป็นจริงๆ หรือแพทย์ห้ามแล้ว ควรให้ลูกดื่มนมของตนเอง

นมแม่ มีประโยชน์มหาศาลสำหรับลูกน้อย เพราะเป็นทั้งแหล่งอาหารและภูมิคุ้มกันสำคัญที่ทำให้ลูกแข็งแรงอีกด้วย และคุณค่าทางอาหารนั้น ยังคงค่าอยู่ไม่ลดลงตลอดไป จนสามารถใช้เลี้ยงทารกได้อย่างน้อย 1-2 ปี หรืออาจนานกว่านั้น

มหัศจรรย์ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
มหัศจรรย์ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ปกติ นมแม่ ในระยะ 6 เดือนแรกหลังคลอดจะมีปริมาณ 850 มิลลิลิตรต่อวัน และในน้ำนมนั้นจะมีสารอาหารต่างๆ ตั้งแต่ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรท เกลือแร่ และวิตามินครบถ้วนเพียงพอกับความต้องการของทารกในระยะ 4-6 เดือนแรก จะขาดหายไปบ้างก็อาจเป็นธาตุเหล็ก วิตามินซี และวิตามินดี น้ำนมแม่จึงมีคุณค่าทางอาหารและมีจำนวนแคลอรี่เหมาะสมกับทารกมากที่สุด ฉะนั้นการเลี้ยงทารกด้วยนมแม่ให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ จะเป็นวิธีการสำคัญในการป้องกันโรคขาดอาหารในทารกได้

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้นานแค่ไหน??

เมื่อความตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ต้องมาสั่นคลอนความตั้งใจกับคำถามเหล่านี้

“ยังให้ลูกกินนมแม่อยู่อีกเหรอ จนลูกเดินได้แล้ว นมแม่จะยังจะมีอะไรดีอีกล่ะ?”

มีคุณแม่ให้นมหลายคน อาจเคยได้ยินคำถามนี้ ซึ่งอาจฟังดูเป็นคำถามเชิงทักทายที่คนพูดอาจจะไม่ได้คิดอะไรมาก แต่คนฟังจะมีปฏิกิริยาแตกต่างกันไป ขึ้นกับความเชื่อมั่น ความรู้ความเข้าใจเรื่องนมแม่ และ อุเบกขา (ความวางเฉยแบบวางใจเป็นกลางๆ โดยไม่เอนเอียงเข้าข้าง) ที่มีต่อคนถาม

ซึ่งสำหรับคุณแม่ที่มีความเชื่อมั่นเต็มเปี่ยม หาข้อมูลพร้อม และเลือกที่จะให้นมแม่นานๆ ด้วยความเต็มใจ ก็คงจะไม่มีความสั่นคลอนในความมุ่งมั่นนี่ เธอคงจะยืดอกขึ้นแล้วกล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า

“ค่ะ ยังจะให้ไปจนลูกเข้าอนุบาลเลยล่ะค่ะ อย่างน้อยก็ช่วยให้หายเจ็บป่วยเร็ว เพราะ นมแม่ มีเซลล์ช่วยจับกินเชื้อโรคแล้วก็มีภูมิต้านทานโรคด้วย”

และถ้าคนถามยังไม่เป็นลมไปเสียก่อน ก็อาจจะถามต่อว่า “เธอรู้ได้ไง ?”

“อ๋อ! ก็ดูจากลูกของฉันเองนี่ไง อาทิตย์ที่แล้วทั้งปู่ย่า พ่อแม่ เป็นหวัดกันงอมแงม แต่ลูกฉันน้ำมูกไหลนิดหน่อยวันสองวันก็หายแล้ว “ 

ทำอย่างไรให้เราเป็นแม่ที่มีความมั่นใจ เชื่อมั่นในแนวทางการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้นานที่สุด จนสามารถตอบคนอื่นได้อย่างมาดมั่นเช่นในตัวอย่าง คงต้องเริ่มต้นจากการมั่นใจเสียก่อนว่า นมแม่มีประโยชน์มากแค่ไหน

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ถึงกี่ขวบกันดีนะ
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ถึงกี่ขวบกันดีนะ

ผลวิจัยชี้! นมแม่เป็นยาต้านเชื้อโรค

โดยทางเพจ มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องผลวิจัยของนมแม่ ซึ่งสามารถสกัดกั้นเชื้อโรค ไว้ดังนี้…

ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะ เต้านมแม่ผลิตสารภูมิต้านทานชนิด SIgA ที่เฉพาะเจาะจงต่อเชื้อที่แม่เคยได้รับ แล้วส่งออกมากับน้ำนมค่ะ ลูกที่ดูดนมแม่จึงได้ภูมิต้านทานเข้าไปทุกวัน จึงไม่ป่วย หรือป่วยก็หายเร็วกว่า ผู้คนก็คงจะงุนงงและสงสัยว่าเป็นไปได้อย่างไรกัน และอยากจะพิสูจน์ให้เห็นกันจะจะไปเลย

โดย ผู้ใช้เฟสบุ๊คท่านหนึ่งที่ชื่อ Vicky Greene ก็คงจะสงสัยเช่นเดียวกันค่ะว่า น้ำนมแม่จะสกัดกั้นเชื้อโรคได้จริงหรือไม่ และเนื่องจากเธอเป็น นักศึกษาชีววิทยาชั้นปีที่ 1 ที่ South Devon College เธอจึงตัดสินใจศึกษาคุณสมบัติของน้ำนมแม่ ที่มาจากแม่ที่มีลูกอายุต่าง ๆ กัน ว่าจะหยุดยั้งการเติบโตของเชื้อโรคได้แตกต่างกันหรือไม่

ในการศึกษาทางจุลชีววิทยา ผู้วิจัยจะใช้จานเพาะเลี้ยงที่มีอาหารให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ ใส่เชื้อแบคทีเรีย ลงไป. (การทดลองนี้ใช้เชื้อ M. Luteus ) วางแผ่นกลมๆที่ชุบน้ำนมแม่จนชุ่ม ไว้ตรงกลางจานเพาะเชื้อนี้ จานแรก ( BmA) ใช้น้ำนมจากแม่ที่มีลูกอายุ 15 เดือน จานที่ 2 (BmB) ใช้น้ำนมจากแม่ที่มีลูกอายุ 3 ปี

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เมื่อเวลาผ่านไป กลับไปดูจานเพาะเชื้อ ถ้าน้ำนมแม่สกัดกั้นเชื้อไม่ได้ เชื้อก็จะเติบโตลามเข้ามาถึงแผ่นตรงกลางจานได้ แต่ถ้าสกัดได้ก็จะเห็นวงใส ๆ รอบตำแหน่งที่เชื้อหยุดการเติบโต

ผลการทดลองออกมาน่ามหัศจรรย์มากเลยค่ะ จานเพาะเชื้อมี่มีแบคทีเรียขุ่นขาวทั้งจาน กลับมี วงใสๆรอบแผ่นน้ำนมแม่! นั่นแสดงว่า โปรตีนชนิดใดชนิดหนึ่งในน้ำนมแม่ เป็นตัวหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ M. Luteus และเมื่อนักวิจัย ทำกับเชื้อ E. Coli และ MRSA ( เชื้อ staphylococcus ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ) ก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจเช่นเดียวกัน

การทดลองนี้ แสดงให้เห็นในเบื้องต้นว่า น้ำนมแม่ที่มาจากแม่ที่ให้นมมานาน ถึง 15 เดือน และ 3 ปี ยังมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ในห้องทดลอง

น้ำนมแม่ที่แม่ผลิตมานานเป็นปีๆ ไม่ได้ลดทอนคุณภาพลงเลยแม้แต่น้อยค่ะ จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมเด็กที่กินนมแม่จึงเจ็บป่วยน้อยกว่า

อย่าไปเชื่อคำพูดลอยๆ ว่านมแม่เท่านั้นเท่านี้เดือนไม่มีประโยชน์อีกต่อไป เพราะน้ำนมแม่มี คุณสมบัติน่าอัศจรรย์ ที่นมผสมไม่อาจทำเทียมเลียนแบบได้ เช่นนี้เองค่ะ

นมแม่ไม่ใช่เป็นเพียงแค่สารอาหาร แต่ คือ ยาต้านเชื้อโรค

อนาคตช่างสดใส อนาคต คือ นมแม่!
/แอดมินหมอติ๋ม


(Cr.Facebook ของ คุณ Vicky Greene http://www.huffingtonpost.com/entry/people-are-loving-the-results-of-this-breast-milk-petri-dish-experiment_us_589de343e4b094a129ea7815?6xadzpvi และขอบคุณ พญ. กรรณิการ์ บางสายน้อย ที่นำมาเผยแพร่ค่ะ)
ขอบคุณข้อมูลจาก  : เพจ มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย

มหัศจรรย์นมแม่ แท้จริง!

นอกจากผลวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่านมแม่เปรียบเสมือนยาต้านเชื้อโรคชั้นเยี่ยมให้กับลูกน้อยของเราแล้ว เชื่อหรือไม่ว่านมแม่ยังมีประโยชน์มากมายอีกหลายข้อ โดยเราสามารถแบ่งข้อดีของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ออกเป็น ผลดีต่อแม่ และผลดีต่อลูก ดังนี้

เมื่อ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ส่งผลดีต่อสุขภาพของแม่

  • ป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากทำให้เกิดการกระตุ้นการหลัง hormone oxytocin ทำให้มดลูกกลับสู่สุขภาพปกติเร็วขึ้น
  • ช่วยการคุมกำเนิด เนื่องจากกดการทำงานของรังไข่ โดยแม่ที่เลี้ยงนมลูกอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอจะมีโอกาสตั้งครรภ์ในระยะ 6 เดือนแรกหลังคลอดน้อยกว่าร้อยละ 2 แต่หลังจาก 6 เดือนไปแล้วแนะนำให้คุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นร่วมด้วย
  • ช่วยลดน้ำหนักแม่ในระยะหลังคลอด โดยน้ำหนักจะค่อยๆลดประมาณ 0.6-0.8 kg/เดือน เนื่องจากมีการเผาผลาญไขมันที่เก็บสะสมไว้ในระยะตั้งครรภ์ เพื่อใช้ในการสร้างน้ำนม ทำให้แม่กลับมามีรูปร่างที่สวยงามได้เร็ว มีการศึกษาว่า การให้นมแม่ถึงอายุ 1 ปี แม่จะมีน้ำหนักใกล้เคียงกับเมื่อก่อนตั้งครรภ์
  • ลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยเฉพาะมารดาที่เป็น GDM ซึ่งกลไกคิดว่าเกิดจากการที่มีน้ำหนักตัวลดลง การเปลี่ยนแปลงสัดส่วน การกระจายของไขมัน และความไวต่อการตอบสนองของอินซูลิน
  • ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง หากเคยเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่นาน 12 เดือนขึ้นไป
  • ลดความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน เนื่องจากการสร้างมวลกระดูกจะสูงมากหลังหยุดให้นมแม่ และจะยังมีผลต่อไปอีก 5-10 ปี
  • ลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว กรณีถ้าให้นานกว่า 18 เดือน (แต่ถ้าให้ระยะสั้นๆ จะลดโอกาสการเกิดแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ) มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกและมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม ในสตรีวัยที่มีประจำเดือน ยิ่งให้นมนาน ก็ยิ่งมีผลในการป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เมื่อ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ส่งผลดีต่อสุขภาพทารก

  • เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค โดยการสร้างจุลินทรีย์ประจำถิ่น (Microbial colonization) บนผิวหนังของลูกชนิดเดียวกับแม่ มีสาร prebiotics ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของ Bifidobacterium ในลำไส้ทารก นอกจากนี้ในน้ำนมแม่ยังมีสารนิวคลีโอไทด์หลายชนิด ช่วยทำให้เยื่อบุลำไส้ในลำไส้ทารกเจริญเติบโตเร็ว เพื่อรองรับการสัมผัสกับเชื้อประจำถิ่น การได้รับ sIgA บนบริเวณลานนมซึ่งจะไปดักจับเชื้อโรคบนเยื่อบุผิวลำไส้ และเยื่อบุผิวบนอวัยวะอื่นๆ เช่น ระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้ยังมี T-lymphocyte ทำหน้าที่จับกินเชื้อโรคที่มาเกาะเยื่อบุผิว โดยภาพรวม ทำให้ลดอัตราตายของทารกและเด็ก โดยเฉพาะจากโรคติดเชื้อทางระบบหายใจ และโรคอุจจาระร่วง
  • ลดโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ เช่นโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ โรคหืด โดยมีการศึกษาว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 3 เดือน ช่วยลดโอกาสการเกิด atopic dermatitis และโรคหืดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตินอกจากนี้ยังลดโอกาสการเกิดเป็นเบาหวาน
  • เสริมสร้างสมองให้ว่องไวในการเรียนรู้ เพิ่มระดับเชาว์ปัญญา จึงทำให้ทารกเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ มีสุขภาพที่ดี เติบโตสมวัย ในนมแม่จะมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสายโมเลกุลยาว ซึ่งมีความสำคัญมากต่อการเจริญของเนื่อเยื่อประสาทและจอประสาทตาเมื่ออายุ 6 เดือน

นอกจากนี้ ยังเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกตลอดเวลาที่ให้นมบุตร ซึ่งสามารถพัฒนาพฤติกรรมทางสังคม ทารกจะเกิดการเรียนรู้เนื่องจากมีการทำงานของสมองที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าตลอดเวลา นอกจากนี้การให้ลูกได้ดูดนมแม่ จะทำให้มีการหลั่ง oxytocin ในสมองของมารดา มีผลให้มารดาคลายความกังวล ลดความก้าวร้าวและมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางสังคมที่เร็วขึ้น

ไม่ต้องห่วงลูกขาดสารอาหาร หากทำตามนี้…

ข้อเสนอแนะการเลี้ยงดูทารก และเด็กตามนโยบายสาธารณะของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ได้ให้แนวทางในการเลี้ยงดูด้วยนมแม่ที่เหมาะสม ดังต่อไปนี้

  1. ช่วงวัยแรกเกิดถึง 6 เดือนให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว โดยให้ดูดนมแม่เร็วที่สุดหลังเกิดหรือภายใน 1 ชั่วโมงหลังคลอด หลังจากนั้นให้นมลูกบ่อยครั้งตามความต้องการของลูก
  2. ช่วงอายุ 6-12 เดือนให้นมแม่ร่วมกับอาหารทารกตามวัย
  3. ช่วงอายุ 1-2 ปี ให้อาหารตามวัย 3 มื้อร่วมกับนมแม่
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.medicine.cmu.ac.th

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!

เคล็ดลับ! เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างไรให้สำเร็จ

อุ่นนมแม่ อย่างไรไม่ให้เสียคุณค่าสารอาหาร?

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : 10 เรื่องอะไร ควรทำ ไม่ควรทำ ช่วงให้นมลูก

เทคนิคเพิ่มน้ำนมแม่ ให้ลูกมีกินได้นานเป็นปี

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่


2 เรื่องสำคัญ แม่ท้องต้องทำ เพื่อให้ลูกเกิดมาครบ 32 และมีสมองดี

event

กลัวลูกออกมาไม่สมบูรณ์ …การตั้งครรภ์เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกทั้งความสุข ความตื่นเต้นให้กับสมาชิกในครอบครัวและสิ่งหนึ่งที่เป็นความคาดหวังของผู้เป็นพ่อแม่ก็คือ ลูกน้อยในครรภ์จะเติบโตด้วยความสมบูรณ์แข็งแรง มีอวัยวะครบ 32 ประการ

แต่การขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองของผู้เป็นแม่ ตั้งแต่การเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์จนถึงระยะครรภ์ โดยเฉพาะในช่วง 1 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาสมองและระบบประสาทของทารก ซึ่งหากแม่ท้องได้รับสารอาหารหรือการดูแลที่ไม่เพียงพอ ทารกจะเสี่ยงต่อความพิการแต่กำเนิดและจะมีปัญหาปากแหว่งเพดานโหว่และเชาว์ปัญญาต่ำ

เรื่องสำคัญแม่ท้องต้องทำ! หาก กลัวลูกออกมาไม่สมบูรณ์ ครบ 32

ความผิดปกติของทารกที่เกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์แม่ เป็นภาวะที่พบได้ตามธรรมชาติ เช่น ฝาแฝดตัวติดกัน คนมีแขนขาสั้น คนแคระ เด็กหัวบาตร ที่ถูกพามาแสดงในงานวัด ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่เรียกว่าเป็นความพิการแต่กำเนิด

โดยเมื่อแรกคลอดพบว่าเด็กพิการอย่างใดอย่างหนึ่งร้อยละ 3.5 เมื่อได้ติดตามต่อไปจนถึงอายุ 5 ปี เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.5 เพราะความพิการบางอย่างซ่อนอยู่และแสดงออกภายหลัง

เด็กบางคนคลอดออกมาลืมตาแป๋วแต่ความจริงตาบอดมองไม่เห็น พ่อแม่จะทราบในภายหลัง บางคน 2 ขวบแล้วยังไม่พูดสักทีพบว่าหูไม่ได้ยิน เป็นต้น ซึ่งความรุนแรงก็มีความแตกต่างกันตั้งแต่อาการน้อยมากจนถึงตาย ซึ่งเด็กที่เกิดมามีความพิการมากจำนวนร้อยละ 10 ตายตั้งแต่อายุ 1 เดือนแรก

  • ทั้งนี้ความพิการแต่กำเนิดมีหลายอย่าง อาจเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ความผิดปกติของยีนสิ่งแวดล้อม ซึ่งความพิการทางกาย บางอย่างสามารถผ่าตัดแก้ไขได้ เช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่แต่ก็สามารถป้องปันไม่ให้เกิดกับทารกได้เช่นกัน
  • รวมไปถึงความพิการบางอย่างอาจมาจากการที่คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนหนึ่งมักไม่รู้ว่าตนเองตั้งครรภ์อาจเป็นเพราะไม่ได้เตรียมพร้อมที่จะมีลูก จึงไม่ได้เตรียมความพร้อมทางด้านร่างกาย ก็ทำให้เด็กในครรภ์เสี่ยงต่อความพิการแต่กำเนิดได้ เช่นกัน

Good to know : โรคพิการแต่กำเนิดมีมากกว่า 7,000 โรค ปัจจุบันมีทารกพิการแต่กำเนิดทั่วโลกกว่า 8 ล้านคน ประเทศไทยมีทารกแรกเกิด 800,000 คน /ปี พบพิการแต่กำเนิด 3-5 % หรือ 24,000-40,000 คน/ปี ซึ่งในประเทศไทยยังไม่มีการจดทะเบียนและจัดเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ

1. เตรียมฝากครรภ์ และตรวจหาความผิดปกติของทารก

กลัวลูกออกมาไม่สมบูรณ์

สำหรับว่าที่คุณแม่ ซึ่งกำลังตั้งครรภ์อยู่ สิ่งสำคัญคือเมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ ควรรีบไปฝากครรภ์ทันที การตรวจว่าทารกในครรภ์สมบูรณ์ดีหรือไม่ เริ่มตั้งแต่รู้ว่าตั้งครรภ์ คุณแม่มาฝากครรภ์ แพทย์จะตรวจเลือดและปัสสาวะเพื่อดูความพร้อมของสุขภาพแม่ และนัดติดตามดูการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์เป็นระยะๆ หากตรวจพบว่าเป็นปกติ ทารกก็น่าจะสมบูรณ์ดี แต่อย่างไรก็ตามต้องเน้นย้ำว่า “การตั้งครรภ์เป็นความเสี่ยงของคุณแม่และทารกในครรภ์ตลอดการตั้งครรภ์และการคลอด” เพราะทางการแพทย์ยังไม่สามารถติดตามดูทารกได้ตลอดเวลา ยังต้องอาศัยความร่วมมือในการนับการดิ้นของทารกในครรภ์แม่ เพื่อช่วยบอกความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งความรู้ ความเข้าใจและร่วมมือกันระหว่างแพทย์และครอบครัวก็จะลดปัญหาและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้

Must readนัดตรวจครรภ์ครั้งแรก เตรียมตัวอย่างไรดี
Must read4 ทางเลือกในการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม แบบไหนดีที่สุด?

โดยสูติแพทย์จะทำการตรวจหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ ด้วยวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เช็กประวัติคุณพ่อและคุณแม่ เพื่อดูความเสี่ยงของการเป็นโรคติดต่อทางพันธุกรรม  การอัลตราซาวด์  การตรวจเลือด การเจาะน้ำคร่ำ เพื่อตรวจดูโครโมโซมว่า ผิดปกติหรือไม่ และเมื่ออายุครรภ์อยู่ในช่วงระยะตตั้งแต่สัปดาห์ที่ 18 ถึงสัปดาห์ที่ 34 ก็จะมีการวัดความสูงยอดมดลูก ซึ่งจะแสดงได้ถึงทารกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรง มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง การตรวจอัตราการเต้นของหัวใจทารกโดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ และการตรวจการดิ้นของทารกในครรภ์ ซึ่งการตรวจทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณแม่ท้อง รู้ได้ว่าลูกในท้องมีภาวะที่เป็นปกติหรือไม่

อ่านต่อ >> “สารอาหารสำคัญเพื่อลูกครบ 32 และมีสมองดี” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

ตั้งครรภ์ 7-8 สัปดาห์ และพัฒนาการทารกในครรภ์

Alternative Textaccount_circle
event

พัฒนาการ การตั้งครรภ์ 7-8 สัปดาห์ ของคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง และลูกน้อยในครรภ์จะเติบโตมากขนาดไหนแล้วนะ มาดูกันเลยค่ะ

พัฒนาการ การตั้งครรภ์ 7-8 สัปดาห์

พัฒนาการ การตั้งครรภ์ 7-8 สัปดาห์

อาการคนท้อง 7-8 สัปดาห์

แพ้ท้องชัดเจน เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ประมาณ 7-8 สัปดาห์ จะเป็นช่วงที่คุณแม่เริ่มรู้สึกได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับร่างกายอย่างชัดเจน และเริ่มรู้ได้ว่ากำลังตั้งครรภ์ นั่นคือ

  • เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เหม็นกลิ่นอาหารมากขึ้น

คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีอาการ แพ้ท้อง  โดยมีอาการวิงเวียนศีรษะ พะอืดพะอม คลื่นไส้อาเจียน เหม็นกลิ่นอาหาร แต่ละคนอาจมีอาการมากน้อยต่างกัน และอาการสำคัญคือ Morning Sick ที่ทำให้คุณแม่มีอาการแพ้ท้องได้ในตอนเช้าๆ  โดยสาเหตุหลักเกิดจาก ฮอร์โมน HCG (Human Chorionic Gonadotropin) ฮอร์โมนตัวนี้จะสร้างขึ้นจากรก เมื่อตัวอ่อนของลูกน้อยฝังตัวจนเกิดการตั้งครรภ์และสร้างรก  HCG จะเพิ่มขึ้นในกระแสเลือดคุณแม่เรื่อยๆ และรวดเร็ว สูงสุดในช่วงกำลังตั้งครรภ์ได้ 7-10 สัปดาห์ ทำให้คุณแม่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนจนแพ้ท้องหนักในช่วงนี้นั่นเอง แต่หลังจาก 3 เดือนแรก หรือ ประมาณสัปดาห์ที่ 13-27  ฮอร์โมนในร่างกายแม่จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ตามมาได้อีก  ซึ่งตลอดการตั้งครรภ์จะมีฮอร์โมนสูงถึง 300 เท่าของตอนที่ยังไม่ตั้งครรภ์เลยทีเดียว

คุณแม่จึงควรทำความเข้าใจและรับมือกับอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียนด้วยการจิบน้ำขิงอุ่นๆ หรือน้ำหวานป้องกันอาการวิงเวียนคลื่นไส้ในตอนเช้า ทานขนมปังกรอบ หลีกเลี่ยง อาหารทอด อาหารมัน อาหารเค็ม อาหารกลิ่นแรง ทานอาหารน้อยๆ แต่บ่อยมื้อ เพื่อป้องกันการอาเจียน ลดความเครียด  และหากรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อย เวียนศีรษะให้พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอค่ะ

  • เต้านมคัดตึง

คุณแม่จะเจ็บคัดตึงเต้านมมาก เต้านมมีการขยายขนาดมากขึ้น บริเวณฐานของหัวนมหรือลานนมกว้างขึ้น มีสีเข้มขึ้นและนุ่มขึ้น

  • ตกขาวมากกว่าปกติ

คุณแม่จะมีตกขาวมากกว่าปกติ เพราะมีเลือดไปเลี้ยงอวัยวะเพศภายนอกและช่องคลอดมากขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังอาจสังเกตได้ว่าอวัยวะเพศมีสีเข้มยิ่งขึ้น รวมทั้งมดลูกของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่กว่าเดิมเป็นสองเท่า

สังเกตตกขาวผิดปกติหรือไม่ ? อาการตกขาวเกิดจากฮอร์โมนและการมีเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงช่องคลอดเพิ่มขึ้น ทำให้ร่างกายคุณแม่สร้างมูกหรือตกขาวมากกว่าปกติ ซึ่งหากตกขาวไม่มีกลิ่น ไม่มีอาการคันถือว่าปกติ คุณแม่เพียงทำความสะอาดอวัยวะเพศด้านนอกด้วยน้ำสะอาดตามปกติก็เพียงพอ ห้ามใช้น้ำยาฆ่าเชื้อใดๆ ล้าง หรือสวนล้างเข้าไปในช่องคลอดเด็ดขาด แต่หากตกขาวมากผิดปกติ และมีกลิ่นเหม็น หรือมีอาการคัน ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที ห้ามซื้อยามาเหน็บเอง เพราะอาจเกิดอันตรายจนอักเสบหรือติดเชื้อ และส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ได้

  • ระบบเผาผลาญทำงานมากขึ้น

เนื่องจากฮอร์โมนและเลือดที่มาเลี้ยงในร่างกายคุณแม่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ระบบการเผาผลาญสารอาหารในร่างกายก็เพิ่มมากเช่นกัน ดังนั้นคุณแม่จึงควรใส่ใจดูแลเรื่องโภชนาการ ให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน 5 หมู่อยู่เสมอ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

ติดตาม ท้องแล้ว! ต้องทำยังไงต่อ? คลิกหน้า 2

วิธีการเช็ดตัวลดไข้

วิธีการเช็ดตัวลดไข้ ด้วยน้ำอุ่นผสมมะนาว

Alternative Textaccount_circle
event
วิธีการเช็ดตัวลดไข้
วิธีการเช็ดตัวลดไข้

เผยผลวิจัย! วิธีการเช็ดตัวลดไข้ ด้วยน้ำอุ่นผสมมะนาว เช็ดตัวเด็กในโรงพยาบาลที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ ช่วยลดไข้ได้มากกว่าน้ำอุ่นอย่างเดียวถึง 2 เท่า

วิธีการเช็ดตัวลดไข้ ด้วยน้ำอุ่นผสมมะนาว

นางสาวชลิดา ภาวนาเกษมศานต์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ประจำโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ นำเสนอผลงานวิจัยเรื่องประสิทธิภาพ น้ำอุ่นผสมมะนาวลดไข้ เพื่อการเช็ดตัวเด็กในโรงพยาบาลที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ ทีมงาน Amarin Baby & Kids มี วิธีการเช็ดตัวลดไข้ ทารกด้วยน้ำอุ่นผสมมะนาว ที่ถูกต้องมาให้ได้ทราบกันค่ะ

แบบไหนถึงเรียกว่าลูกเป็นไข้

หากลูกร้องไห้งอแงกวนตลอดเวลา นั้นอาจเป็นเพราะลูกมีไข้ไม่สบาย ในเบื้องต้นควรที่จะใช้ปรอทวัดไข้ให้กับลูก หากวัดอุณหภูมิร่างกายลูกได้ประมาณ 37.5 – 38 องศาเซลเซียสขึ้นไปถือว่าลูกเป็นไข้ การดูแลเบื้องต้นเพื่อให้ไข้ลดลง คุณแม่สามารถเช็ดตัวลดไข้ให้กับลูกได้ แต่หากเช็ดตัวแล้วอาการไข้ตัวร้อนไม่ลง ควรต้องรีบพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อตรวจรักษาอาการอีกครั้ง

Must read >> ปรอทวัดไข้มีกี่แบบ ? เลือกแบบไหนวัดไข้ลูกแม่นยำที่สุด!

Must read >> วิธีใช้ปรอทวัดไข้ วัดแบบไหนให้รู้จริงลดเสี่ยงชัก

การวัดไข้ให้ลูกที่ถูกต้อง

  1. ให้ใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ แต่หากไม่มีอุปกรณ์ให้ใช้หลังมือสัมผัสตรงหน้าผาก ลำตัว
  2. การวัดอุณหภูมิทางทวารหนักเป็นการวัดอุณหภูมิของแกนร่างกายที่แม่นยำมากที่สุด
  3. การวัดอุณหภูมิทางปากเป็นวิธีที่ง่าย มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วสอดคล้องตามอุณหภูมิของแกนร่างกาย
  4. การวัดอุณหภูมิทางแก้วหูโดยใช้รังสีอินฟราเรด เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก
  5. การวัดอุณหภูมิทางรักแร้เป็นวิธีที่เหมาะสม และแม่นยำในทารกแรกเกิด

 

สำหรับ วิธีการเช็ดตัวลดไข้ ให้ลูก เมื่อก่อนคุณแม่อาจจะใช้แค่น้ำร้อนต้มสุกผสมกับน้ำเย็น เพื่อให้ได้อุณหภูมิอุ่นๆ แล้วนำมาเช็ดตัวให้ลูกเพื่อลดไข้ ซึ่งผลที่ได้ก็ใช้ได้ดีอยู่ แต่ปัจจุบันนี้พบว่า วิธีการเช็ดตัวลดไข้ให้ลูกด้วยน้ำอุ่นผสมน้ำมะนาว จะช่วยให้อุณหภูมิร่างกายลดลงได้ดีกว่า และเพื่อให้คุณแม่สามารถนำวิธีการเช็ดตัวลดไข้ลูกด้วยน้ำอุ่นผสมมะนาวได้อย่างถูกต้อง สามารถติดตามได้จากข้อมูลต่อไปนี้ค่ะ

 

อ่านต่อ >> “การเช็ดตัวลดไข้ ด้วยน้ำอุ่นผสมมะนาว” หน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

แม่ท้อง ลูกตายได้ จากภาวะ ครรภ์เป็นพิษรุนแรง HELLP Syndrome

Alternative Textaccount_circle
event

แม่ท้อง ลูกตายได้ จากภาวะ ครรภ์เป็นพิษรุนแรง HELLP Syndrome ครรภ์เป็นพิษถือเป็นโรคแทรกซ้อนที่มีความรุนแรงสูงสุดของคนท้อง อาการของครรภ์เป็นพิษคือ ท้องแล้วความดันโลหิตจะสูงขึ้นเรื่อยๆจนทำให้อวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต หัวใจ เริ่มพัง โดยแบ่งครรภ์เป็นพิษออกเป็น ครรภ์เป็นพิษธรรมดา และครรภ์เป็นพิษขั้นรุนแรง

ครรภ์เป็นพิษรุนแรง HELLP Syndrome

 

ครรภ์เป็นพิษรุนแรง HELLP Syndrome

 

ภาวะครรภ์เป็นพิษขั้นรุนแรง และกลุ่มอาการ HELLP Syndrome

สำหรับครรภ์เป็นพิษธรรมดา มักจะมีความดันสูงและปวดหัวอย่างเดียว ความดันอยู่ที่ประมาณ 140/90 ตรวจเจอไข่ขาวในปัสสาวะ ขาบวมมาก และมักพบตอนอายุครรภ์ 35-36 สัปดาห์หรือท้องใกล้แก่เท่านั้น ในขณะที่ครรภ์เป็นพิษรุนแรง นอกจากความดันสูงมาก ตรวจเจอไข่ขาวแล้ว ยังพบว่ามีเกล็ดเลือดต่ำ อวัยวะภายในล้มเหลวหรือพัง คือมีค่าการทำงานที่ผิดปกติในไตหรือตับ เช่น ตับบวม มีอาการทางระบบประสาท หรือน้ำท่วมปอด ความดันสูงจนทำให้การทำงานของอวัยวะต่างๆ ผิดปกติ เช่น ปวดหัวมาก ตาพร่ามัว คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ปวดท้องชายโครงขวา และมักเกิดได้ตลอดทุกช่วงอายุการตั้งครรภ์

ครรภ์เป็นพิษขั้นรุนแรง หรือ กลุ่มอาการ HELLP Syndrome ถือเป็นระดับตัวท็อปของครรภ์เป็นพิษ และมักเกิดขึ้นได้น้อยมาก สำหรับ HELLP Syndrome จะมีอาการหลักๆ คือจะมีระดับความดันสูงเกิน160/110  ซึ่งคุณแม่บางคนมาด้วยความดันที่สูงถึง 220 ก็มี  และยังมีการสลายตัวของเม็ดเลือดแดง ตรวจพบเอ็นไซม์ของตับเนื่องจากตับถูกทำลาย และเกล็ดเลือดต่ำ นอกจากนี้ยังมีอาการหัวใจโต แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก จุกใต้ลิ้นปี่ น้ำท่วมปอด และหากมีอาการชักด้วยจะรุนแรงมากที่สุด ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนเกิดจากความดันโลหิตที่สูงมากๆ นั่นเอง

HELLP Syndrome นั้นสามารถเกิดกับใครก็ได้ แม้แต่คุณแม่ที่สุขภาพแข็งแรงดี มักเกิดกับท้องแรก และสามารถเกิดซ้ำได้ในท้องที่สอง ร้อยละ 15-30 เป็นภาวะที่นอกเหนือความคาดหมายทุกอย่าง ซึ่งยังไม่มีใครสามารถหาสาเหตุได้

 

ใครเสี่ยง ครรภ์เป็นพิษรุนแรง HELLP Syndrome

ภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรงนี้เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ท้องแรก และเกิดซ้ำในท้องที่สองได้ รวมถึงคุณแม่ท้องที่มีภาวะความดันโลหิตสูงหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป แต่ส่วนใหญ่จะพบในแม่ท้องไตรมาสสามเป็นต้นไป รวมถึงคุณแม่ที่ท้องตอนอายุน้อยหรือคุณแม่ท้องที่อายุมากเกินไป รวมถึงแม่ท้องกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น แม่ท้องที่มีโรคประจำตัวบางอย่างเกี่ยวกับหลอดเลือด อาทิ โรคไต เบาหวาน ความดัน เป็นต้น

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

ติดตาม แม่ท้อง ลูกตายได้ จากครรภ์เป็นพิษรุนแรง HELLP Syndrome คลิกต่อหน้า 2


สอนลูก รู้จัก “การให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน” อ้างจากเรื่องจริง!

event

สอนลูก ให้แบ่งปัน และรู้จักการให้ …ถ้าพูดถึงการให้ ความหมายของการให้ในทศพิศราชธรรมจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี แล้ว คือ ทาน (ทานํ) หมายถึง การให้ การเสียสละ นอกจากเสียสละทรัพย์สิ่งของแล้ว ยังหมายถึงการให้น้ำใจแก่ผู้อื่นด้วย ซึ่งเป็นข้อที่ 1 ใน 10 ข้อของทศพิธราชธรรม

สำหรับการให้ ถ้าเป็นการให้โดยไม่หวังผลหรือสิ่งตอบแทน นั่นหมายถึง การให้ที่ให้ด้วยใจ ให้แล้วเกิดความสุขต่อเพื่อนมนุษย์ แม้แต่ต่อสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาร่วมชะตาชีวิตบนโลกมนุษย์ด้วยกัน เป็นการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน

การให้ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นการให้ด้วยทรัพย์สิน เงินทอง ในที่นี้จะหมายถึง การให้ด้วยน้ำใจ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า เป็นเรื่องที่หายากในสังคม การที่จะพบบุคคลที่มีความเสียสละ ทุ่มเท อุทิศแรงกายแรงใจ เสียสละเวลาส่วนตัว ด้วยแล้ว เหมือนงมเข็มในมหาสมุทร ยากเหลือเกินที่จะค้นพบ…การให้ด้วยน้ำใจ

Amarin Baby & Kids จึงขอนำเสนอเรื่องราว จากผลของการให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน พร้อมแนะนำเทคนิคการสอนลูกให้รู้จัก การให้ ด้วย 3 วิธีง่ายๆ เพื่อให้คุณธรรมความดีนั้น ส่งกลับมาหาลูกของคุณ เช่นเดียวกับเหตุการณ์นี้

สอนลูก ให้แบ่งปัน และรู้จักการให้
จากเรื่องจริง!
“ราคาของนมสดหนึ่งแก้ว”

…เมื่อหลายปีมาแล้ว ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เด็กชายเคลลี่ ซึ่งอยู่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจน เขาต้องหาเงินไปโรงเรียนเองด้วยการนำสิ่งของใส่กระเป๋าเดินไปขายตามบ้านที่อยู่ในเมืองใกล้เคียง

วันหนึ่งเขาพบว่าเมื่อจ่ายค่ารถและค่าสินค้าแล้ว เขามีเงินในกระเป๋าเหลือเพียง 10 เซ็นต์ เท่านั้น
ขณะนั้นเขากำลังหิวมาก แต่เงินสดที่เขามีอยู่นั้นไม่พอที่จะซื้ออาหารแม้แต่เพียงมื้อเดียว

ดังนั้นเขาจึงคิดจะไปขออาหารจากบ้านที่กำลังเดินไปถึง
แต่เมื่อกดกริ่ง หญิงสาวเจ้าของบ้านมาเปิดประตู
เด็กชายเคลลี่ กับเกิดความละอายใจที่จะขออาหารเหมือนกับขอทาน เขาจึงขอเพียงน้ำเปล่าเพียงแก้วเดียวเท่านั้น

แต่เจ้าของบ้านสาวสังเกตเห็นท่าทางของเด็กชายเคลลี่ว่าคงจะกำลังหิว!
เธอจึงได้นำเอานมสดแก้วใหญ่มาให้เคลลี่ดื่มเด็กชายเคลลี่ดื่มนมอย่างกระหายจนหมดแก้ว แล้วถามว่า ผมต้องจ่ายเงินค่านมถ้วยนี้ให้คุณเท่าไหร่ครับ?
เจ้าของบ้านสาวตอบว่า ไม่ต้องจ่ายเงินหรอก แม่ของฉันสอนไม่ให้รับสิ่งตอบแทนจากการให้น้ำใจไมตรี

สอนลูก ให้แบ่งปัน

เคลลี่ซาบซึ้งใจมากและตอบว่า ถ้าเช่นนั้น ผมขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง จากหัวใจของผมก็แล้วกันนะครับ ขณะที่เด็กชายเคลลี่ได้เดินออกจากบ้านหลังนั้น เขาไม่เพียงแต่รู้สึกว่ามีกำลังแข็งแรงขึ้นจากนมสดแก้วโตเท่านั้น แต่เขาได้มีความเข้าใจในเรื่องของน้ำใจไมตรีเพิ่มขึ้นด้วย…

Must readสอนลูกให้มีน้ำใจ ในพริบตา!

อ่านต่อ >> เรื่องจริง! “ราคาของนมสดหนึ่งแก้ว” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

ภัยสุขภาพ ปี 2560

เตือนพ่อแม่ระวัง 4 โรคติดต่อ 2 ภัยสุขภาพ ปี 60

Alternative Textaccount_circle
event
ภัยสุขภาพ ปี 2560
ภัยสุขภาพ ปี 2560

กรมควบคุมโรค พยากรณ์ 4 โรค และ 2 ภัยสุขภาพ ปี 2560 ที่ต้องเฝ้าระวัง โดยมี 4 โรคสำคัญ ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคไข้หวัดใหญ่ โรคมือเท้าปาก และโรคเมลิออยโดสิส โดยเฉพาะไข้หวัดใหญ่ที่คาดว่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 2 เท่าจากปีที่ผ่านมา หรือมากกว่า 300,000 คน มี 7 จังหวัดเสี่ยง

(more…)

Amarin Baby & Kids Fair ครั้งที่ 9

Amarin Baby & Kids Fair ครั้งที่ 9 ห้ามพลาด!

Alternative Textaccount_circle
event
Amarin Baby & Kids Fair ครั้งที่ 9
Amarin Baby & Kids Fair ครั้งที่ 9

กลับมาอีกครั้งกับงาน Amarin Baby & Kids Fair ครั้งที่ 9 วันที่ 23-26 กุมภาพันธ์นี้ ที่ไบเทคบางนา Hall 98-99 คุณพ่อ คุณแม่พลาดไม่ได้กับสินค้าสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ลูกเล็ก ลูกโต จัดเต็มกว่า 1,000 บู๊ธ ลดสูงสุด 80% พร้อมเปิดโซนใหม่ Baby Market ร้านค้าจาก Facebook, Instagram

(more…)

เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ

เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ เป็นแล้วอาจตายได้จริงหรือ?

Alternative Textaccount_circle
event
เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ
เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ

เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ โรคฮิตที่ผู้หญิงทุกคนสามารถเป็นได้โดยไม่รู้ตัว และหากปล่อยลุกลามจนรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิต โรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร มีสัญญาณเตือนให้เตรียมตัวแบบไหน และเมื่อเป็นแล้วจะดูแลรักษาอย่างไร วันนี้เรามีข้อมูลมานำเสนอค่ะ

เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ เรื่องสำคัญที่ผู้หญิงต้องรู้

ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบหรือมดลูกอักเสบ เริ่มจากปากมดลูกหรือช่องคลอดติดเชื้อแบคทีเรีย แล้วผ่านเข้าไปสู่โพรงมดลูก ทำให้มดลูกเกิดการอักเสบ ซึ่งหากปล่อยไว้นานไม่ดูแลรักษาให้ดี เชื้อนี้ก็จะลุกลามต่อไปยังท่อนำไข่ ทำให้ปีกมดลูกและอุ้งเชิงกรานอักเสบต่อ จนเกิดภาวะแทรกซ้อน และอาจเสียชีวิตได้

คุณกำลังมีความเสี่ยงอยู่หรือไม่

ผู้หญิงที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้มีหลายกลุ่ม ได้แก่ ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แบบเสรี หรือสามีมีคู่นอนหลายคน ซึ่งมักจะติดมาจากโรคทางเพศสัมพันธ์ ที่พบบ่อยคือ โรคหนองใน การมีเพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือน ซึ่งปากมดลูกจะเปิด ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่โพรงมดลูกได้ง่าย มีภาวะการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดอยู่แต่อาจจะไม่รู้ตัว การดูแลสุขอนามัยอวัยวะเพศไม่ดีพอ และกลุ่มผู้หญิงรักความสะอาดมากเกินไปที่ชอบสวนล้างช่องคลอดเป็นประจำ ทำให้สภาวะในช่องคลอดเปลี่ยน จนติดเชื้อได้ง่าย

อีกกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคเยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบคือ กลุ่มคุณแม่ตั้งครรภ์และคลอดบุตร ที่สามารถติดเชื้อได้ทุกระยะ ตั้งแต่ในช่วงตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด และหลังคลอด เช่น การผ่าคลอด ภาวะคลอดยาก ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเวลาคลอดนานเกินไป รวมถึงการทำแท้ง และขูดมดลูกด้วย เพราะโดยปกติช่องคลอดจะมีเชื้อแบคทีเรียอยู่แล้ว เมื่อมีการกระตุ้นก็จะยิ่งทำให้เชื้อเหล่านี้เจริญเติบโตเข้าสู่ช่องคลอด และติดเชื้อที่มดลูก จนเกิดเป็นภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อ วิธีเช็คอาการด้วยตัวเอง ก่อนพบแพทย์ คลิกหน้า 2

น้ำหนักตัวของแม่ท้อง ต้องแบบนี้!

Alternative Textaccount_circle
event

ในความเป็นจริง น้ำหนักตัวของแม่ท้อง ต้องแบบนี้! เพราะคุณแม่หลายคนยังมีความเชื่อว่า ขณะตั้งครรภ์ควรทานอาหารเผื่อลูกให้มากๆ รวมทั้งเข้าใจผิดเรื่องไม่ควรออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายมากๆ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อลูก จนทำให้คุณแม่มีปัญหาน้ำหนักขึ้นมากเกินไปขณะตั้งครรภ์ ส่งผลเสียทั้งต่อสุขภาพคุณแม่เอง เรื่องการคลอดและสุขภาพของลูกน้อยในครรภ์

น้ำหนักตัวของแม่ท้อง ต้องแบบนี้

น้ำหนักตัวของแม่ท้อง

 

ดังนั้นเพื่อให้ลูกน้อยและคุณแม่สุขภาพดี แม่มีน้ำหนักที่พอดี ไม่เสี่ยงโรคภัย และไม่อ้วน เรามาดูกันว่าขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องมีน้ำหนักเท่าไรกันดี

น้ำหนักตัวคุณแม่ควรขึ้นเท่าไร?

ก่อนที่เราจะทราบว่าน้ำหนักขณะตั้งครรภ์ควรเพิ่มขึ้นเท่าไร ชวนคุณแม่มาคำนวณ ดัชนีมวลกาย(BMI)กันก่อนค่ะ

ดัชนีมวลกาย(BMI) =   น้ำหนักคุณแม่ (กก.) หาร/ ความสูง (เมตร2)

ยกตัวอย่างการคำนวณ สมมุติว่าคุณแม่หนัก 50 กก. และสูง 165 ซม.
ก่อนอื่นต้องแปลงส่วนสูงเป็นเมตรก่อนค่ะ
โดย 165 ซม. เท่ากับ 1.65 เมตร
ก็นำค่ามาเทียบในสูตรข้างต้นได้เลย

= 50 / (1.65 x 1.65)
= 50 / 2.72
= 18.38

ค่า BMI ของคุณแม่ก็จะเท่ากับ 18.38 นั่นเองค่ะ

เมื่อคุณแม่คำนวณแล้ว มาดูกันค่ะว่าน้ำหนักตัวคุณแม่ก่อนตั้งครรภ์เป็นอย่างไร และคุณแม่ควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเท่าไรตลอดการตั้งครรภ์ ?

  • ค่า BMI น้อยกว่า 18.5 > คุณแม่มีน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์น้อยกว่าปกติควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 12.5 – 18 กก. เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.51 กิโลกรัม
  • ค่า BMI 18.5 – 22.9 > คุณแม่มีน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์ปกติหรือสมส่วน ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 11.5 – 16 กก. เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.42 กิโลกรัม
  • ค่า BMI 23 – 29.9 > คุณแม่มีน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์เกินมาตรฐาน ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 7 – 11.5 กก. เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.28 กิโลกรัม
  • ค่า BMI 30 > คุณแม่มีภาวะอ้วน ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 5 – 9 กก. เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.22 กิโลกรัม

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

น้ำหนักของคุณแม่มาจากไหนกันนะ? หากคุณแม่กำลังสงสัยว่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมาจากอะไร ไปดูกันค่ะ

  • ลูกน้อย 2-3.6  กิโลกรัม
  • รก  7  กิโลกรัม
  • ไขมันสะสม 7-3.6 กิโลกรัม
  • เลือดที่เพิ่มขึ้น 0.4 – 1.8  กิโลกรัม
  • น้ำคร่ำ  9 กิโลกรัม
  • เต้านมที่ขยายใหญ่ 0.45- 1.4 กิโลกรัม
  • ขนาดมดลูกที่ใหญ่ขึ้น  9 กิโลกรัม

ติดตาม น้ำหนักตัว ของแม่ท้องต้องแบบนี้ คลิกต่อหน้า 2

อุ่นนมแม่

อุ่นนมแม่ อย่างไรไม่ให้เสียคุณค่าสารอาหาร?

Alternative Textaccount_circle
event
อุ่นนมแม่
อุ่นนมแม่

 

อุ่นนมแม่ มีคุณแม่นักปั๊มที่ทำสต็อกนมแม่ไว้ในตู้เย็นมาก เพื่อให้ลูกได้กินนมแม่ไปนานๆ ถือเป็นเรื่องที่น่าสนับสนุนค่ะ เพราะนมแม่มีประโยชน์กับลูกมากจริงๆ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าน้ำนมแม่ที่ปั๊บเก็บในตู้เย็น ถ้าจะ อุ่นนมแม่ ให้ลูกกิน จะต้องอุ่น หรือละลายนมแม่อย่างไรเพื่อไม่ให้เสียคุณค่าสารอาหาร ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีคำตอบที่คุณแม่ไม่ควรพลาดมาให้ทราบกันค่ะ

 

อุ่นนมแม่ ลูกชอบกินแต่นมอุ่นๆ ทำอย่างไรดี?

ก่อนที่เราจะไปอุ่นนมแม่ให้ไม่เสียคุณค่าสารอาหาร เรามาหาคำตอบกับคำถามที่คุณแม่ที่ให้นมลูก ถามกันเข้ามาว่า “ลูกชอบกินแต่นมอุ่น” แบบนี้ได้หรือเปล่า นมแม่ที่อุ่นจะได้ประโยชน์ไหม? ซึ่งผู้ที่จะให้คำตอบได้ดีที่สุด ก็คือ แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด(1) ที่คุณหมอได้ให้ข้อมูลอธิบายไว้อย่างชัดเจนในเรื่องที่ว่าลูกชอบกินนมแม่อุ่น ดังนี้

 

“ไม่เป็นปัญหาใหญ่ค่ะ แต่ถ้าไม่ยอมกินทั้งเย็นทั้งอุ่น น่าปวดหัวกว่าค่ะเด็กบางคนชอบกินนมเย็น เนื่องจากมีกลิ่นเหม็นหืนน้อยกว่าและรสชาติดีกว่านมที่ถูกอุ่น แต่บางคนชอบกินอุ่นๆ คล้ายอุณหภูมิที่เหมือนออกจากเต้านมแม่ การกินนมเย็นไม่ได้ทำให้ปวดท้องหรือท้องเสีย ถ้าลูกชอบอย่างใดก็ทำอย่างนั้นได้ค่ะ แต่สิ่งที่ควรระวังในการทำให้นมอุ่นคือ อย่าให้ร้อนเกินไป เพราะทำให้วิตามินบางตัว สารภูมิคุ้มกันเซลล์เม็ดเลือดขาวลดลงเมื่อเทียบกับนมที่ยังเย็นอยู่ แต่แน่นอนว่ายังมีคุณค่ามากกว่านมผงทุกยี่ห้อ และหากร้อนมากอาจลวกปากลูกได้ ดังนั้นการอุ่นนมแม่ที่ปลอดภัยและได้คุณค่าเต็มที่คือให้ย้ายจากช่องแช่แข็งลงมาที่ตู้เย็นด้านล่าง โดยเตรียมก่อนวันใช้หนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นนมจะละลายบางส่วน เมื่อนำออกจากตู้เย็นให้แช่ขวดนมไว้ในน้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิห้อง ห้ามเอานมใส่ไมโครเวฟหรือแช่ในน้ำร้อนหรือวางไว้ในที่อุ่นนมไฟฟ้า

หากคุณแม่อยากฝึกให้ลูกกินนมเย็น แต่พยายามให้กินจากขวดแล้วไม่สำเร็จ ลองเปลี่ยนรูปแบบเป็นดื่มจากถ้วยน่ารักที่ลูกชอบ ดูดหลอดหรือใช้ช้อนขูดนมน้ำแข็งกินเป็นไอศกรีม ลูกอาจชอบและยอมกิน เพราะเป็นรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยเจอมาก่อน”

 

จากคำอธิบายของคุณหมอดังที่กล่าวไปข้างต้น น่าจะพอช่วยให้คุณแม่สบายใจหากต้องอุ่นนมให้ลูกได้ทานกันนะคะ เอาเป็นว่าเพื่อให้คุณแม่เข้าใจกันมากขึ้นในเรื่องของการนำนมแม่แช่เย็นเก็บเป็นสต็อกในตู้เย็น แล้วเมื่อถึงเวลาที่ต้องนำมาให้ลูกกิน คุณแม่ควรจัดการกับนมแม่แช่เย็นก่อนให้ลูกกินกัน ซึ่งมูลนิธินมแม่แห่งประเทศไทย(2) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับนมแม่แช่เย็น ไว้ดังนี้

 

อ่านต่อ >> “น้ำนมแม่แช่เย็น อุ่นอย่างไรไม่เสียคุณค่าสารอาหาร” หน้า 2

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อุ้มลูกเรอ

อุ้มลูกเรอ ช่วยไล่ลม สบายท้อง

Alternative Textaccount_circle
event
อุ้มลูกเรอ
อุ้มลูกเรอ

อุ้มลูกเรอ การทำให้ลูกสบายท้องหลังกินนมแม่ หรือกินนมขวดอิ่มแล้ว เป็นเรื่องที่คุณแม่คุณพ่อควรทำให้ทุกครั้ง เพราะลูกวัยทารกยังมีระบบย่อยอาหารที่ไม่แข็งแรง เวลาดูดนมอาจทำให้ลูกดูดกลืนเอาลมเข้าไปในท้องด้วย ทำให้มีอาการปวดท้องไม่สบายท้องเกิดขึ้นได้ ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีวิธี อุ้มลูกเรอ ช่วยไล่ลม ทำให้ลูกสบายท้องหลังกินนมอิ่มมาฝากกันค่ะ

 

อุ้มลูกเรอ เกิดจากอะไร?

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ในหลายๆ ครอบครัวที่ไม่เคยมีประสบการณ์การเลี้ยงลูกมาก่อน และพอมีลูกก็อยู่กันเป็นครอบครัวเดี่ยว และต้องเลี้ยงลูกกันตามลำพัง จึงทำให้ไม่ทราบว่าบางครั้งลูกวัยทารกก็มีอาการอึดอัดหลังกินนมอิ่มได้ ซึ่งการสังเกตง่ายๆ คือ ทุกครั้งที่ลูกกินนมอิ่มมักจะร้องงอแง บิดตัวเล็กน้อย ซึ่งนั่นเป็นลูกปวดท้อง ไม่สบายท้อง

 

การที่คุณแม่ให้นมลูกไม่ว่าจะกินนมแม่จากอก หรือลูกกินนมจากขวด อาจทำให้ลูกกลืนเอาอากาศเข้าไปพร้อมกับนมได้ ซึ่งอากาศที่เข้าไปจะเกิดเป็นฟองอากาศในกระเพาะอาหาร และนั่นจึงเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ลูกไม่สบายท้อง เมื่อลูกปวดท้องเขาจะร้องไห้

 

Must Read >> อุ้มไล่ลมลูก หยุด! ไม่สบายท้อง

 

ซึ่งหนึ่งในวิธีที่จะช่วยให้ลูกสบายท้อง สามารถขับเอาลมที่ทำให้ปวดท้องนั้นออกได้ ก็คือการที่คุณพ่อคุณแม่ช่วยทำให้ลูกเรอเอาลมในกระเพาะออกมา ที่สามารถทำให้ลูกได้ทุกครั้งหลังจากให้นมลูกอิ่มแล้ว

 

อ่านต่อ >> “หลากวิธีช่วยลูกเรอ ช่วยสบายท้อง” หน้า 2

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เล็มขนตาลูก

ตัดขนตาลูก ช่วยให้ลูกขนตางอนยาว ได้จริงหรือ?

event
เล็มขนตาลูก
เล็มขนตาลูก

ตัดขนตา หรือ เล็มขนตาลูก …เป็นเรื่องที่คุณสาวๆ หรือคุณแม่มือใหม่อาจเคยได้ยินคนอื่นบอกกันมาว่าถ้าอยากให้ลูกขนตายาวและงอน ต้องใช้วิธี ตัดขนตา เพื่อให้ลูกมีขนตางอกออกมายาวขึ้น

(more…)

ใช้ธรรมะสอนลูกอย่างไร…ให้เป็นคนดี! โดย ท่าน ว.วชิรเมธี

event

สอนลูกอย่างไรให้เป็นคนดี …การใช้ธรรมะกล่อมจิตใจเลี้ยงลูกให้เป็นคนดี หลายคนคิดว่าสอนธรรมะให้เด็กแล้วจะไม่รู้เรื่อง แต่ความจริงแล้วเขาเข้าใจ ให้สอนไปเลยโดยใช้คำพูดง่ายๆ หรือการยกตัวอย่าง เด็กในวัยเตาะแตะนี้จะเชื่อฟังผู้ใหญ่อยู่แล้ว สอนตั้งแต่เด็กค่อยๆ แทรกไปในเรื่องต่างๆ เมื่อโตขึ้น ลูกจะเป็นคนมีธรรมะในใจ ที่สำคัญคือต้องไม่บังคับ ถ้าโดนบังคับลูกจะรู้สึกต่อต้านกับสิ่งที่สอนทันที

สอนลูกอย่างไรให้เป็นคนดี ใช้ธรรมะกับวัยซน โดย ท่าน ว.วชิรเมธี

หากนำดอกไม้ใส่มือเด็ก …เขาจะกลายเป็นคนที่จิตใจดีงาม

หากนำเอาความรักใส่มือเด็ก …เขาจะกลายเป็นคนที่เปี่ยมด้วยเมตตา

หากนำเหตุผลใส่มือเด็ก …เขาจะกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์

หากนำหนังสือใส่มือเด็ก …เขาจะกลายเป็นปัญญาชน

หากนำนิสัยแห่งการให้ใส่มือเด็ก …เขาจะกลายเป็นคนที่มีจิตสำนึกแห่งสาธารณะ

หากนำธรรมะใส่มือเด็ก …เขาจะกลายเป็นคนดี

หากนำสมบัติผู้ดีใส่มือเด็ก …เขาจะกลายเป็น สุภาพชน

หากนำดนตรีใส่มือเด็ก …เขาจะกลายเป็นคนอารมณ์ดี

หากนำธรรมชาติใส่มือเด็ก …เขาจะกลายเป็นคนสงบ สุข

หากนำความก้าวร้าวใส่มือเด็ก …เขาจะกลายเป็นอันธพาล

หากนำความตามใจใส่มือเด็ก …เขาจะกลายเป็นจอมบงการ

หากนำเงินใส่มือเด็ก …เขาจะกลายเป็นคนมักง่าย

หากนำปืนใส่มือเด็ก …เขาจะกลายเป็นฆาตกร

หากนำวัตถุแพงๆใส่มือเด็ก …เขาจะกลายเป็นคนบ้าวัตถุ

หากนำความรักสบายใส่มือเด็ก …เขาจะกลายเป็นคนหยิบโหย่งอ่อนแอ

หากนำความไม่รับผิดชอบใส่มือเด็ก …เขาจะกลายเป็นคนที่สูญเสียสามัญสำนึก

หากนำความริษยาใส่มือเด็ก …เขาจะเป็นคนที่ขาดความ สุขของชีวิต

หากนำแต่วิชาชีพใส่มือเด็ก …เขาจะกลายเป็นคนสมองโตแต่ใจตีบ

คุณเอง… ในฐานะเป็นพ่อแม่ วันนี้คุณเอาอะไรใส่มือเด็กๆ ของคุณ

สอนลูกอย่างไรให้เป็นคนดี

ธรรมะ เปรียบเสมือนสะพานให้ทุกคนข้ามไปสู่ความดีงาม… เพราะนอกจากธรรมะจะเป็นเกราะป้องกันมนุษย์ จากสิ่งไม่ดีรอบข้างแล้ว ธรรมะยังสามารถดึงมนุษย์ออกมาจากสิ่งที่ไม่ดีได้อีกด้วย เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนย่อมรักลูก และอย่างให้ลูกมีชีวิตที่ดี มีสุข ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง Amarin Baby & Kids จึงขอพาคุณพ่อคุณแม่ ไปไขข้อข้องใจเรื่องการสอนธรรมะให้ลูกอย่างไร แล้วลูกได้เรียนรู้จริงๆ

เริ่มสอนธรรมะลูกตอนไหนดีล่ะ?

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี เจ้าของนามปากกา ว.วชิรเมธี บอกไว้ว่า “การสอนธรรมะให้ลูกนั้นพ่อแม่ต้องเริ่มตั้งแต่ลูกอยู่ในครรภ์ ระหว่างที่ตั้งครรภ์พ่อแม่ก็ควรดำเนินชีวิตให้อยู่ในศีลธรรม ก็จะเป็นการปลูกฝังเมล็ด พันธุ์แห่งความดีงามที่จะเติบโตขึ้นในวันพรุ่ง แต่ถ้าเรามาปลูกฝังเขาวันที่เราคลอดออกมาแล้วอาจจะช้าเกินไป”

หลายคนเปรียบเด็กแรกเกิดเสมือนผ้าขาว เพราะศักยภาพของลูกแรกเกิดนั้น เหมือนผ้าขาวที่พร้อมรองรับน้ำย้อมผ้า (คำสอน) ทุกรูปแบบ ถ้าคนเป็นพ่อแม่เอาสิ่งที่ดีไปย้อมให้ ลูกก็จะซึมซับสิ่งดี แต่ถ้าพ่อแม่เป็นนักย้อมผ้าที่ไม่ฉลาดก็จะเอาน้ำยาย้อมที่ไม่ดี ไปเปรอะเปื้อนผ้าขาวผืนนั้น ก็ย่อมทำให้ผ้าขาวสีหมองไป …และธรรมะคือสิ่งที่ดีพ่อแม่จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะเอาธรรมะไปย้อมลงในตัวลูกให้ได้!

อ่านต่อ >> 3 เทคนิคง่ายๆ สอนลูกเรื่องธรรมะเป็นเรื่องไม่ยาก ท่าน ว.วชิรเมธี” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

แพ็คเกจวัคซีนไวรัสโรต้า

แพ็คเกจวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้า ประจำปี 2560

Alternative Textaccount_circle
event
แพ็คเกจวัคซีนไวรัสโรต้า
แพ็คเกจวัคซีนไวรัสโรต้า

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าไวรัสโรต้า เป็นโรคที่พบบ่อยมากในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เพราะเด็ก 5 ขวบปีแรกทุกคน จะต้องเคยเป็นอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต และอาการอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต Amarin Baby & Kids จึงมี แพ็คเกจวัคซีนไวรัสโรต้า มาแนะนำคุณพ่อ คุณแม่เพื่อป้องกันลูกน้อย

(more…)

โรค ที่แถมมาจากโรงพยาบาล

อันตราย!! 8 โรค ที่แถมมาจากโรงพยาบาล ต้องระวังโรคอะไรบ้าง?

Alternative Textaccount_circle
event
โรค ที่แถมมาจากโรงพยาบาล
โรค ที่แถมมาจากโรงพยาบาล

โรค ที่แถมมาจากโรงพยาบาล เวลาที่คุณพ่อคุณแม่ หรือเด็กๆ มีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้น สิ่งแรกที่เรามักจะนึกถึงคือการไปหาคุณหมอที่โรงพยาบาล แต่ทราบหรือไม่ว่าการไปตรวจรักษาอาการเจ็บป่วยที่โรงพยาบาล อาจทำให้ได้รับเชื้อโรคเพิ่มส่งผลให้ป่วยหนักมากกว่าเดิมได้ ทีมงาน Amarin Baby & Kids มี 8 โรค ที่คุณหมอแนะนำว่าต้องระวัง เมื่อไปรักษาสุขภาพที่โรงพยาบาล

 

โรค ที่แถมมาจากโรงพยาบาล มีโรคอะไรบ้าง?

เด็กๆ มักจะมีภูมิคุ้มกันที่น้อยกว่าผู้ใหญ่ จึงทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย ซึ่งการพาเด็กๆ ที่ป่วยอยู่แล้วไปโรงพยาบาล หรือเด็กๆ อาจตามพ่อแม่ไปเยี่ยมญาติที่นอนป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล ปัจจัยแวดล้อมเหล่านี้สามารถส่งผลให้ได้รับเชื้อโรคและโรคที่อาจจะทำให้ป่วยตามมาได้

 

นพ.กฤษดา ศิรามพุช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรวัฒน์ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ 8 โรค ที่เด็กๆ และทุกคนในครอบครัวสามารถเจ็บป่วยกันได้ เพียงได้รับเชื้อโรคมาจากการไปโรงพยาบาล ก็สามารถก่อให้เกิดโรคทั้ง 8 นี้ได้ สำหรับ 8 โรค ที่แถมมาจากการไปโรงพยาบาล มีดังต่อไปนี้ คือ

1. โรคไข้หวัดใหญ่

ถือเป็นโรคที่ป่วยกันได้ตลอดทั้งปี แทบจะเรียกว่าไม่มีช่วงไหนเป็นช่วงระบาดของโรค เพราะไข้หวัดใหญ่จะเป็นซุกอยู่ตลอดทั้งปี เมื่อคนป่วยเป็นไข้หวัดกันมาก ก็จะไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาล และห้องที่มีผู้ป่วยเข้ารับการตรวจรักษามากๆ คือ ห้องรอตรวจ หรือโอพีดี ของโรงพยาบาลนั่นเองค่ะ ซึ่งหากคุณพ่อหรือคุณแม่ไม่สบายมีเหตุต้องไปตรวจรักษากับคุณหมอที่โรงพยาบาล ไม่แนะนำให้พาลูกเล็กๆ ไปด้วยนะคะ เพราะร่างกายของเด็กจะง่ายและไว้ต่อการได้รับเชื้อโรคค่ะ

2. โรคไข้หวัด

คนที่เจ็บป่วยด้วยอาการไข้หวัด มักจะมีอาการแสดงคือ มีน้ำมูก และเจ็บคอมาก ซึ่งสาเหตุของการเจ็บคอก็เพราะมีเชื้อแบคทีเรียที่ติดในลำคอโดยตรง ทำให้เกิดอาการเจ็บคอมาก และเสียงเปลี่ยน สำหรับไข้หวัดสามารถแผ่เชื้อให้คนป่วยตามๆ กันได้มาก เพียงแค่ตัวเราเอง หรือเด็กๆ อยู่ใกล้ๆ กับคนที่ป่วยเป็นไข้หวัด แล้วหายใจร่วมกัน ก็สามารถได้รับเชื้อไข้หวัดได้ง่ายๆ แล้วค่ะ ฉะนั้นหากต้องพาเด็กๆ ไปโรงพยาบาล หรือออกนอกบ้านแล้วต้องไปในที่ที่มีคนเยอะๆ แนะนำให้ใส่ผ้าปิดจมูกกันด้วยนะคะ

3. โรคปอดติดเชื้อ

โรคนี้มีหลักฐานว่ามากจากโรงพยาบาลโดยตรง ถึงขนาดมีชื่อเรียกสามัญประจำโรคว่า “ปอดติดเชื้อจากโรงพยาบาล (Hospital acquired pneumoniq)” โดยคนป่วยเป็นโรคนี้มักเกิดจากไปเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแล้วต้องนอนค้างพักรักษาตัวโรงพยาบาล ไม่ว่าจะนอนดูอาการแค่คืนเดียว หรือในเด็กและผู้ใหญ่ที่ต้องนอนห้องไอซียู ก็ยิ่งได้สิทธิ์รับเชื้อลงปอดมากกว่าปกติ

 

อ่านต่อ >> “8 โรค ที่แถมมาจากโรงพยาบาล” หน้า 2

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

keyboard_arrow_up